การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต ด้านสังคม สภาพเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมของเกษตรกร ที่ปลูกยางพาราในจังหวัดพะเยา

Main Article Content

สุดเขตร ชาติพันธ์
วรรณะ รัตนพงษ์

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่องการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต ด้านสังคม สภาพเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมของเกษตรกรที่ปลูกยางพาราในจังหวัดพะเยา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์และแนวโน้มการปลูกยางพาราในจังหวัดพะเยา 2) ศึกษาความรู้ความเข้าใจในการปลูกยางพาราของเกษตรกรโดยครอบคลุม ในด้านความรู้ในการปลูก การดูแลรักษา และการกรีดน้ำยาง 3) ศึกษาผลกระทบจากการปลูกยางพาราของเกษตรกรในจังหวัดพะเยาครอบคลุมการเปลี่ยนแปลงในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม และ 4) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลกระทบจากการปลูกยางพาราของเกษตรในจังหวัดพะเยา เก็บข้อมูลจากเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราในจังหวัดหวัดพะเยา โดยมีแบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล

ผลการศึกษาพบว่าภายหลังจากการปลูกยางพาราเกษตรกรที่ปลูกยางพารามีการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตด้านสังคม โดยเกษตรกรผู้ปลูกยางพารารู้จักสกย.และได้ประสบการณ์มากขึ้น (ค่าเฉลี่ย 4.37) ภายหลังจากการปลูกยางพาราเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราได้เข้าร่วมอบรมเพื่อเสริมสร้างความรู้ในการปลูกยางมากขึ้น (ค่าเฉลี่ย 4.27) ชุมชนมีการรวมกลุ่มเพื่อช่วยเหลือและยกระดับคุณภาพชีวิตคนในชุมชน เช่น กลุ่มผู้ปลูกยางพารา (ค่าเฉลี่ย 4.26) ส่วนการเปลี่ยนแปลงสภาพเศรษฐกิจภายหลังจากการปลูกยางพาราเกษตรกรผู้ปลูกยางพารามีรายได้เพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม (ค่าเฉลี่ย 4.16) ทำให้ราคาที่ดินที่ปลูกยางพาราเพิ่มสูงขึ้น (ค่าเฉลี่ย 4.10) เกษตรกรผู้ปลูกยางพารามีหนี้สินลดลง (ค่าเฉลี่ย 3.97) การเปลี่ยนแปลงสภาพสิ่งแวดล้อมภายหลังจากการปลูกยางพารา พบว่า พื้นที่ที่เคยเป็นที่รกร้างเสื่อมโทรมมีความเขียวขจี อากาศดีขึ้น (ค่าเฉลี่ย 3.97) พื้นที่ทางการเกษตรมีความอุดมสมบูรณ์ขึ้น (ค่าเฉลี่ย 3.95) สภาพภูมิอากาศดีขึ้น (ค่าเฉลี่ย 3.90) เกษตรที่ปลูกยางพาราส่วนใหญ่ มีความรู้เกี่ยวกับการปลูกยางพาราในระดับน้อยถึงน้อยที่สุด

ด้านปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลกระทบจากการปลูกยางพาราของเกษตรในจังหวัดพะเยา พบว่า ความคาดหวังของเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา ประสบการณ์ในการอบรมด้านยางพารา จำนวนแรงงานที่มีประสบการณ์ในการกรีดยางพารา หนี้สิน อายุของเกษตรกร และรายได้จากการขายยาง เป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อผลกระทบจากการปลูกยางพาราของเกษตรในจังหวัดพะเยาในระดับปานกลาง (R=0.607) ซึ่งสามารถอธิบายความสัมพันธ์กับผลกระทบจากการปลูกยางพาราของเกษตรในจังหวัดพะเยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติได้ร้อยละ 36.90 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ระดับ 0.05 (R2= 0.369; \inline \alpha<0.05)

 

Change of Way of Life, Society, Economic, and Environment of Para Rubber Farmer in Payao Province

This study of Change of Way of Life, Society, Economic, and Environment of Para Rubber Farmer in Payao Province. Results of the study revealed the following:

1) The respondents had social change after growing Para rubber in which they had increased experience and were familiar with office of the Rubber Replanting Aid Fund (\inline \bar{X}=4.37). They attended a training to increase knowledge about Para rubber growing (\inline \bar{X}=4.27). They formed a Para rubber growing group to help one another and elevate quality of life of people in community (\inline \bar{X}=4.26). For economic change, the respondents had increased incomes (\inline \bar{X}=4.16).  and the price of Para rubber plantation area was increased (\inline \bar{X}=4.10). The respondents had decreased debit (\inline \bar{X}=3.97). For environmental change, it was found that the area where it used to be deteriorated become to be green with good air (\inline \bar{X}=3.97), Besides, the agricultural area there was abundant more than ever and the climate was better than before (\inline \bar{X}=3.97).

2) Most of the respondents had a low/lowest level of knowledge about Para rubber growing.

3) The following were factors having influence on the impacts of Para rubber growing of the respondents: training experience on Para rubber, a number of workforces having experience in Para rubber tree trapping, debts, age of the respondent, and an income earned from Para rubber selling. All of these were variables having influence on the impacts of Para rubber growing which was found at a moderate level. This could explain the statistically significant relationship with the impacts of  Para rubber growing of the respondent (36.90%) at 0.05 (R2=0.369; \inline \alpha<0.05).

Article Details

บท
บทความ