การพัฒนายุทธศาสตร์การบริหารจัดการท่องเที่ยวโดยใช้ชุมชนเป็นฐานในพื้นที่ วนอุทยานภูชี้ฟ้า อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการท่องเที่ยวโดยใช้ชุมชนเป็นฐานในพื้นที่วนอุทยานภูชี้ฟ้า เพื่อพัฒนายุทธศาสตร์การบริหารจัดการท่องเที่ยวโดยใช้ชุมชนเป็นฐานในพื้นที่วนอุทยานภูชี้ฟ้า และเพื่อประเมินยุทธศาสตร์การบริหารจัดการท่องเที่ยวโดยใช้ชุมชนเป็นฐานในพื้นที่วนอุทยานภูชี้ฟ้า อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย เป็นการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือคือแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้นำระดับตำบล ผู้นำหมู่บ้าน สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล และประชาชน จำนวน 400 คนในพื้นที่วนอุทยานภูชี้ฟ้า ใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา หาค่าร้อยละค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้สถิติอนุมานวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ และกระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ผู้เชี่ยวชาญ ผู้นำชุมชน ผู้ประกอบธุรกิจด้านการท่องเที่ยวและนักท่องเที่ยว จำนวน 50 คน โดยการคัดเลือกแบบเจาะจง ด้วยการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ใช้การวิเคราะห์ (SWOT) เพื่อตรวจสอบความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ ในการพัฒนายุทธศาสตร์การบริหารจัดการท่องเที่ยวโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน จากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 ท่าน ด้วยการคัดเลือกแบบเจาะจง
ผลการวิจัย พบว่า การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการท่องเที่ยวโดยใช้ชุมชนเป็นฐานในพื้นที่วนอุทยานภูชี้ฟ้า อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย พบว่า ศักยภาพชุมชน เป้าหมายและหลักการ การจัดการองค์กร การมีส่วนร่วม การบริหารจัดการ การควบคุมและนักท่องเที่ยว ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการท่องเที่ยวโดยใช้ชุมชนเป็นฐานในพื้นที่วนอุทยานภูชี้ฟ้า อำเภอเทิงจังหวัดเชียงราย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 การพัฒนายุทธศาสตร์การบริหารจัดการท่องเที่ยวโดยใช้ชุมชนเป็นฐานในพื้นที่วนอุทยานภูชี้ฟ้า อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย ได้ยุทธศาสตร์จำนวน 5 ยุทธศาสตร์ ดังนี้ 1) ยุทธศาสตร์การพัฒนาภูชี้ฟ้าเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ยั่งยืน 2) ยุทธศาสตร์การส่งเสริมอาชีพและการสร้างรายได้แก่ชุมชน 3) ยุทธศาสตร์การพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยวให้เป็นมืออาชีพ 4) ยุทธศาสตร์การสร้างระบบการประชาสัมพันธ์ และ 5) ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบการบริหารจัดการโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
ผลการประเมินยุทธศาสตร์การบริหารจัดการท่องเที่ยวโดยใช้ชุมชนเป็นฐานในพื้นที่วนอุทยานภูชี้ฟ้า อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย พบว่าโดยภาพรวมยุทธศาสตร์การบริหารจัดการท่องเที่ยวโดยใช้ชุมชนเป็นฐานในพื้นที่วนอุทยานภูชี้ฟ้า อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย มีความเหมาะสมและความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด ความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก
Development of Tourism Management Strategies using Community- based Approach in Phucheefah Forest Park, Thoeng District, Chiang Rai Province.
purposive The aims of this study were to investigate factors influencing the effectiveness of tourism management of the communities in Phucheefah Forest Park; to develop tourism management strategies for communities in Phucheefah Forest Park using Community-based approach; and to evaluate the effectiveness of the developed strateiges. Questionniare was employed as a means to collect quantitative data. Recruited by means of multi-stage sampling technique, the population and samples were 400 participants including leaders in the communites and villages, memebers of Sub-district Administrative Organizations, and the people in the vicinity of Phucheefa Forest Park. The quantitative data was descriptively analyzed by percentage, mean, and standard deviation, while multiple regression analysis was employed to test the hypotheses. For the qualitative approach, workshop with specialist informants was organized by SWOT analysis framework which involved 50 participants including specialists, community leaders, tourism enterpreneurs, and tourists selected by means of technique. The developed strategies were evaluated on appropriateness, feasibility, and practicality schemes by 10 honorary experts selected from purposive technique.
The findings revealed that:
At the confidence level of .01, six independent variables including capacity of the community, goals and principles, organization management, participation, management, monitoring and tourists showed an effect towards five dependent variables that included convenient facilities, tourism resources, marketing promotion, personnel, and business cooperation.
Regarding the development of tourism management strategies using community-based approach of communities in Phucheefah Forest Park, Five stragegies were thus formulated: 1) Strategies developing Phucheefah as sustainable tourist attraction; 2) Strategies promoting career choices and sources of income for the community; 3) Strategies developing professionalism for personnel in the tourism sector; 4) Strategies developing effective public relations system; and 5) Strategies developing management schemes with participation of the community.
Regarding the evaluation of tourism management strategies using community-based approach for Phucheefah Forest Park, the results showed that the highest degree of appropriateness and practicality attributes, while feasibility aspect was reported at the high level.
Article Details
รายละเอียดของลิขสิทธ์