กระบวนการสร้างการคงอยู่ของอัตลักษณ์สำหรับเยาวชนชาติพันธุ์ ดาราอั้งในสังคมพหุวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย

Main Article Content

พรรณี มามาตร์
สุชาติ ลี้ตระกูล
บุบผา อนันต์สุชาติกุล
เลหล้า ตรีเอกานุกูล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการคงอยู่ของอัตลักษณ์สำหรับเยาวชนชาติพันธุ์ดาราอั้ง ศึกษากระบวนการสร้างการคงอยู่ของอัตลักษณ์สำหรับเยาวชนชาติพันธุ์ดาราอั้งในสังคมพหุวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย

ผลการศึกษาพบว่า สภาพและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการคงอยู่ของอัตลักษณ์สำหรับเยาวชนชาติพันธุ์ดาราอั้งในสังคมพหุวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย ชาวดาราอั้งเป็นผู้ที่มีความศรัทธาอย่างแก่กล้าต่อพระพุทธศาสนา ทุกวันพระชาวดาราอั้งผู้สูงอายุทั้งชายหญิงจะไปถือศีลและสวดมนต์ภาวนาตลอดทั้งคืน ผู้ใหญ่ในครอบครัวจะทำหน้าที่ในการอบรมสั่งสอนลูกหลานให้สามารถปฏิบัติตนตามแบบอย่างวัฒนธรรมประเพณี สามารถใช้ภาษาดาราอั้งในการสื่อสารกัน การแต่งกายด้วยชุดดาราอั้งจะพบเห็นเฉพาะคนแก่เท่านั้น ส่วนหนุ่มสาวจะสวมเฉพาะไปทำบุญที่วัดหรือไปร่วมกิจกรรมกับหน่วยงานของรัฐ พิธีกรรมบางอย่างมีการหยิบยืมจากวัฒนธรรมอื่นมาใช้ เช่นการแต่งงาน งานขึ้นบ้านใหม่ งานศพ ซึ่งใช้พิธีกรรมแบบคนในท้องถิ่น ปัจจุบันชาวดาราอั้งหันมารับประทานอาหารแบบคนในท้องถิ่น เนื่องจากหาซื้อง่าย รสชาดถูกปาก ส่วนอาชีพของชาวดาราอั้งได้ปรับเปลี่ยนไปจากอดีตซึ่งเดิมเคยปลูกชา แต่ปัจจุบันชาวดาราอั้งที่นี่มีอาชีพปลูกสับปะรด

ส่วนกระบวนการสร้างการคงอยู่ของอัตลักษณ์สำหรับเยาวชนชาติพันธุ์ดาราอั้งในสังคมวัฒนธรรมพหุวัฒนธรรมจังหวัดเชียงรายใช้รูปแบบสร้างการรับรู้ในเรื่องการมีบรรพบุรุษร่วมกัน(The Primordialist model) ใช้ภาษาดาราอั้งในการสื่อสารกัน นับถือศาสนาพุทธ ซึ่งเป็นสิ่งที่ฝังแน่นอยู่ในการระลึกรู้ของชาวดาราอั้งโดยผ่านการถ่ายทอดทางวัฒนธรรม(Enculturation)จากคนรุ่นปู่ ย่า สู่คนรุ่นลูกรุ่นหลาน


The Process of Establishing the Persistence for the Youth of Dara-ang Ethnic Group in Multicultural Society, Chiang Rai Province

The aims of this study were to investigate circumstances and factors influencing identity maintenance for the youth of Dara-ang ethnic group, and to study procedure constructing identity maintenance and transmission for the youth of Dara-ang ethnic group in multicultural society of Chiang Rai province.

The findings indicated that circumstances and factors showed influencing impact towards identity maintenance for the youth of  Dara-ang ethnic group in multicultural society of Chiang Rai province.  Dara-ang ethnic group held strong faith in Buddhism. Every Buddhist holy day, Dara-ang elderly of all genders would practice Buddhist precepts and pray all night long. Senior members of the family took duty in teaching their children to adhere their behavior based on their cultural and traditional norm until their kids could use Dara-ang language for communication. Traditional Dara-ang costume was only dressed normally among elderly people, while young people would dress in Dara-ang traditional style only days making merit at the temple or days participating occasional activities with government units. Some traditional rites were disappeared such as Sadang-kia Making Merit which was a grand merit activity for Dara-ang. Some ritual activities borrowed patterns of other cultures, for example, wedding and funeral following patterns of local Thai. Nowadays, Dara-ang shows preference of local Thai food choices due to convenience access and good taste. Dara-ang career choice is also changed from the past in that from tea plantation to pineapple plantation at present. Some people change their role from labor in pineapple farm to employer producing pineapple.

Regarding procedure constructing identity maintenance of the youth of Dara-ang ethnic group in multicultural society of Chiang Rai province, Dara-ang employed “The same in us and difference among others” as procedure constructing outstanding Dara-ang identity until it was accepted in the society. Dara-ang also employed human relations principle to consolidate bonding relationship among relatives as a means to strengthen their ethnic identity.

Article Details

บท
บทความ