การเปรียบเทียบประสิทธิภาพทักษะการฟังเพื่อแยกแยะชนิดของคอร์ด โดยการใช้แบบฝึกหัดโน้ตสีกับแบบฝึกหัดโน้ตปกติ

Main Article Content

วิทวัฒน์ ชัยวิรัตน์
สมพันธ์ วงษ์ดี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพทักษะการฟังเพื่อแยกแยะชนิดของคอร์ดโดยการใช้แบบฝึกหัดโน้ตสีกับแบบฝึกหัดโน้ตปกติสำหรับนักศึกษาสาขาวิชาดนตรี

ประชากรที่ใช้ในการศึกษาได้แก่นักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ชั้นปีที่ 1กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่นักศึกษาที่ได้จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ด้วยวิธีวินิจฉัย จำนวน 10 คน จำแนกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 5 คน ระยะเวลาในการฝึกซ้อมแบบฝึกหัดทั้งหมด 4 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 คาบ คาบละ 60 นาที รวมทั้งหมด 7 คาบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบฝึกหัดโน้ตสี และแบบฝึกหัดโน้ตปกติ 2) แบบทดสอบก่อนเรียน 3) แบบทดสอบระหว่างเรียน 4) แบบทดสอบหลังเรียน 5) แบบวัดความพึงพอใจสำหรับกลุ่มทดลอง โดยผู้วิจัยได้นำเครื่องมือให้ผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ตรวจสอบ ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหารวมถึงการใช้ภาษา ผลการตรวจสอบได้ค่า IOC เฉลี่ย 0.98 หมายถึง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีความเที่ยงตรงตามเนื้อหา 

ผลการวิจัยพบว่านักศึกษาที่ใช้แบบฝึกหัดโน้ตสีมีคะแนนการทดสอบหลังเรียนสูงกว่านักศึกษาที่ใช้แบบฝึกหัดโน้ตปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ผลการสำรวจความพึงพอใจของกลุ่มทดลองพบว่าความพึงพอใจต่อแบบฝึกหัดโน้ตสีโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

 

A comparative study of the effectiveness of two exercise methods teaching chord analysis listening skills: colored note and ordinary note exercises.

The proposes of this experimental reserch were to study the effectiveness of colored note in chord analysis listening skills of music students.

The sample group consisted of 10 first year students of the Bachelor of Arts Program in Music, faculty of Humanites and Social Sciences, Lampang Rajabhat University were selected by diagnostic method and devided into 2 group, controled group and experimental group, 5 students in each group. The period of this experimental research is 4 weeks, which contains 60 minutes of study twice a week and the total of study is 7 times. The research instruments consisted of 1) Colored note exercises and Ordinary note exercises 2) Pre-test 3) Intra-learning Tests 4) Post-tests 5) Satisfaction evaluations of the experimental group form.

The result showed that the experimental group which used colored note exercises had Post-test scores higher than the controled group which used ordinary note exercises (p=0.01) There form the hypothesis was confiraned.  The satisfactory results of the experimental group was the most satisfied. The exercises have been certified the accuracy, reliability and language content by 3 professors. The IOC test score is 0.98, which mean these excercises have accuracy and reliability.

Article Details

บท
บทความ