การพัฒนาคุณภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเอกชนในจังหวัดเชียงราย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและข้อเสนอแนะ และแนวทางการพัฒนาคุณภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเอกชนในจังหวัดเชียงราย ประชากร ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียนเอกชน รองผู้อำนวยการโรงเรียนเอกชน ครูวิชาการ ครูผู้สอน รวมทั้งสิ้นจำนวน 148 คน และผู้เชี่ยวชาญจำนวนด้านการศึกษา 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลโดยการค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้าง
ผลการวิจัยพบว่า สภาพการพัฒนาคุณภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเอกชนในจังหวัดเชียงราย โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( =3.78) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านนิเทศการศึกษาอยู่ในระดับมาก ( = 3.84) รองลงมาด้านการวัดและประเมินผลอยู่ในระดับมาก ( = 3.81) ด้านการพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอยู่ในระดับมาก ( = 3.73) และด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก ( = 3.73) ปัญหาการดำเนินงานพบว่า ไม่มีการวิเคราะห์ผู้เรียน รวมถึงกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามสภาพจริงอย่างต่อเนื่องโดยที่ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมแนวทางเกณฑ์ประเมินซึ่งใช้สำหรับตัดสินคุณภาพของผลงาน ผลการกระทำหรือการปฏิบัติในการวัดผลและประเมินผลไม่ชัดเจนไม่เป็นแบบแผน ไม่มีการคิดสร้างสรรค์ผลิตสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษา ขาดการนิเทศที่หลากหลายและเหมาะสมกับครูในกลุ่มสาระต่างๆ ข้อเสนอแนะการดำเนินงานพบว่า ควรส่งเสริมให้ครูผู้สอนมีการวิเคราะห์ผู้เรียน รวมถึงกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามสภาพจริงอย่างต่อเนื่องโดยที่ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม ควรจัดทำแนวทางเกณฑ์การวัดและประเมินผลให้ชัดเจนเป็นแบบแผน ควรมีการฝึกอบรมครูในเรื่องการคิดสร้างสรรค์ผลิตสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษา และควรมีวิธีการนิเทศที่หลากหลาย เหมาะสมกับครูในกลุ่มสาระต่างๆ แนวทางการพัฒนาคุณภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเอกชนในจังหวัดเชียงราย ได้แก่ ผู้บริหารและครูร่วมกันจัดทำนโยบายพัฒนาคุณภาพด้านการศึกษาของผู้เรียนตามหลักสูตร ผู้บริหารและครูร่วมกันจัดทำคู่มือและกำหนดแนวทางการวัดผลและประเมินผลที่เป็นระบบ มีคุณภาพมาตรฐาน พัฒนารูปแบบการนิเทศติดตามแนวใหม่ที่ส่งผลต่อการพัฒนาระบบบริหารและการจัดการศึกษา
Quality Development in Academic Administration of Private Schools in Chiang Rai Province
The purposed of this research was to study the situation, the problems and suggestions and the guidelines for quality development in academic administration of private schools in Chiang Rai Province. The research populations consist of school directors, vice directors and teachers; moreover, the total number is 146 persons and there are 5 specialists. The researching tool is the questionnaire and the analyzing methods are composed of frequency, percentage, standard deviation and structured and in-depth interview.
According to the result, it found that the quality development situation of private schools in Chiang Rai Province revealed high in general ( = 3.78). The finding, according to each dimension which was put in order from high to low, was as follows: the supervision ( = 3.84), evaluation and assessment ( = 3.81), media innovation and education technology ( = 3.73) and leaning process development ( = 3.73). Regarding the operation problems, it lacked learner analysis and authentic instruction in which every department must participate. Furthermore, the criteria of work result and working performance evaluation was not clear and disorganized while there was no creative media innovation and education technology, causing lacking various supervision methods which are suitable to teachers in every academic subject. For the suggestions, the teachers should be encouraged to analyze their learners and should develop the authentic instruction constantly while everyone takes part of it. There should be the standard measurement and evaluation and training teacher in creative media innovation and education technology. The supervision must become various and suitable of teachers in every academic subjects. In addition, the guidelines for quality development in academic administration of private schools in Chiang Rai Province are the school directors and teachers cooperate to arrange quality development policy in learner’s education. They will collaborate to arrange manual guidelines and plan the measurement and evaluation method to update the supervision which will result to the administration system and education management development.
Article Details
รายละเอียดของลิขสิทธ์