รูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพผู้อพยพย้ายถิ่นในจังหวัดแม่ฮ่องสอน
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้คือการแสวงหาวิธีการจัดการดูแลสุขภาพในระดับชุมชนที่มีผู้อพยพย้ายถิ่นที่อาศัยอยู่ร่วมกับคนไทยในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน บนพื้นฐานของการพึ่งพาตนเอง ตามรูปแบบวิถีชีวิต และวัฒนธรรมในบริบทของพื้นที่ในชุมชนผ่านกระบวนการมีส่วนร่วม เพื่อลดการพึ่งพาทรัพยากรทางด้านสาธารณสุขของภาครัฐ ผู้วิจัยได้คัดเลือกหมู่บ้านที่มีประชากรที่ต้องการศึกษาอาศัยอยู่หนาแน่นที่สุดหมู่บ้านหนึ่งในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นพื้นที่เป้าหมาย และได้คัดเลือกประชากรเป้าหมายจำนวน 22 คน จากประชากรผู้อพยพย้ายถิ่นในชุมชน 109 หลังคาเรือน(ประมาณ 315 คน) เป็นผู้เข้าร่วมวิจัยในครั้งนี้
ผลการวิจัยในการดำเนินการจัดรูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพของผู้อพยพย้ายถิ่นที่อาศัยอยู่ในชุมชนสามรารถเสริมสร้างความรู้ และทักษะด้านสุขภาพของผู้อพยพย้ายถิ่น และสามารถกระตุ้นให้ผู้อพยพย้ายถิ่นให้ตระหนักและสามารถจัดการสุขภาพของตนบนพื้นฐานของการพึ่งพาตนเองได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยอาศัยปัจจัยความร่วมมือขององค์กรภาคีต่างๆในชุมชน และบทบาทของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในการทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ และผลของการศึกษานี้สามารถใช้เป็นแนวทางในการประยุกต์ใช้กับพื้นที่ชุมชนอื่นๆในจังหวัดแม่ฮ่องสอน หรือพื้นที่อื่น ๆ ที่มีบริบทใกล้เคียงกัน
MODEL OF HEALTH PROMOTION FOR MIGRANTS IN MAEHONGSON PROVINCE
The purpose of this research is to find the form of healthcare management in the community that migrants living with Thai people in Mae Hong Son, by self - reliant base considering to their own lifestyles and cultural context through the participating process, to decrease the dependence of resources from public health sector. The researcher had selected one of the village in Mae Hong Son Province that has the target group of migrants, living there most, and selected 22 target people from all around 109 migrants' families (around 315 persons) as participants in this research.
The result of this research in setting up health promotion system for migrants living in the community was success in acknowledging the migrants about health and healthcare skills, activating them to recognize and able to take care of their health basing on self - reliant more concretely by using the collaboration of organizations in the community and the role of public health officers to succeed for the goals. The result of this research can be used as a role - method to adapt with the other communities in Mae Hong Son or other area that has quite similar context.
Article Details
รายละเอียดของลิขสิทธ์