กระบวนการมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารของชุมชนผู้พลัดถิ่น ภายในประเทศ บ้านโป่งไฮ ตำบลแม่สาว อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

พจนาถ อินทรมานนท์
เลหล้า ตรีเอกานุกูล
วรรณะ รัตนพงษ์
นาวิน พรมใจสา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพความมั่นคงทางอาหาร วิเคราะห์กระบวนการมีส่วนร่วม สังเคราะห์รูปแบบการมีส่วนร่วม และติดตามประเมินผลการมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารของชุมชนผู้พลัดถิ่นภายในประเทศ บ้านโป่งไฮ ตำบลแม่สาว อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ประชากรที่ศึกษาได้แก่ผู้นำชุมชนทั้งอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ตัวแทนเยาวชน และตัวแทนจากหน่วยงานพัฒนาที่ทำงานในชุมชนจำนวน 14 คน เครื่องมือวิจัยได้แก่ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม และการสนทนากลุ่มเฉพาะ การสังเกตอย่างมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม แบบบันทึกภาคสนาม การทำแผนที่และปฏิทินที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงทางอาหาร ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลด้วยวิธีการสามเส้า วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาโดยจัดกลุ่มข้อมูล และหาความสัมพันธ์ของประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสภาพความมั่นคงทางอาหารอันได้แก่ การพึ่งพาตนเองด้านอาหารของชุมชนสิทธิในฐานทรัพยากรธรรมชาติ สิทธิในฐานทรัพยากรการผลิต ความมั่นคงทางอาหารในมิติทางเศรษฐกิจและสิทธิในระบบอาหาร การเข้าถึงอาหารที่มีคุณภาพ มิติทางวัฒนธรรมและการพัฒนา ความเสี่ยง ความเปราะบาง และศักยภาพของครัวเรือนและชุมชนในการรับมือและช่วยเหลือกันด้านความมั่นคงทางอาหาร

ผลการวิจัยพบว่าผู้พลัดถิ่นภายในประเทศบ้านโป่งไฮ ถือว่าข้าวคือชีวิตและนิยามความมั่นคงทางอาหารว่า คือการทำไร่หมุนเวียน มีข้าวพอกินตลอดปี มีพืชผักปลอดภัยหลากหลาย มีสัตว์เลี้ยง หาของป่า ล่าสัตว์ป่า และมีวัฒนธรรมการแลกเปลี่ยนอาหาร ซึ่งความมั่นคงทางอาหารหารสัมพันธ์กับการมีที่ดิน สภาพความมั่นคงทางอาหารตามตัวชี้วัดความมั่นคงทางอาหารระดับชุมชน  มีการพึ่งพาตนเองด้านอาหารร้อยละห้าสิบของแหล่งอาหาร สิทธิในฐานทรัพยากรธรรมชาติมีข้อจำกัดภายใต้กฎหมายอุทยานแห่งชาติ สิทธิในฐานการทรัพยากรการผลิตของชุมชน มีข้อจำกัดในเรื่องที่ดินทำกิน มิติทางเศรษฐกิจของครัวเรือนและสิทธิในระบบการค้าอาหารของชุมชนนั้นครัวเรือนมีค่าใช้จ่ายด้านอาหารร้อยละเจ็ดสิบของรายได้ การเข้าถึงอาหารที่มีคุณภาพอยู่ในระดับต่ำเพราะซื้ออาหารจากภายนอก ทำให้ไม่มั่นใจในความปลอดภัยของอาหาร มิติทางวัฒนธรรมและการพัฒนาที่เกี่ยวกับความมั่นคงทางอาหารของชุมชน พบว่าพิธีกรรมที่เกี่ยวกับระบบความเชื่อต่อทรัพยากรส่วนรวมมีน้อยลง และระบบการแบ่งปันอาหารทำในเฉพาะญาติพี่น้องเท่านั้น มีความเสี่ยงและความเปราะบางของความมั่นคงทางอาหารสูงเนื่องจาก การหาอาหารในเขตอุทยานแห่งชาติ สภาพอากาศร้อน และขาดน้ำ ศักยภาพของครัวเรือนและชุมชนในการปรับตัวกับภาวะความมั่นคงทางอาหารอยู่ในระดับต่ำ มีกระบวนการวิเคราะห์สภาพปัญหาและแสวงหาทางออกร่วมกัน รูปแบบการมีส่วนร่วม คือตั้งกลุ่มปลูกผักสวนครัว ศึกษาดูงาน และปลูกผัก จากการจัดเวทีเพื่อติดตามประเมินผลการมีส่วนร่วมพบว่า แม้พืชผักที่ปลูก เหี่ยวเฉา เมล็ดพันธุ์มีการงอกต่ำจากอากาศร้อนจัดและขาดน้ำ แต่สมาชิกกลุ่มยังมั่นใจว่าการปลูกผักเป็นแนวทางที่เหมาะสม อีกทั้งเมล็ดผักพื้นบ้านงอกดีกว่าเมล็ดจากนอกหมู่บ้าน สิ่งสำคัญที่พบคือการเคารพผู้นำของลาหู่สำคัญต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ 

 

Participation Process in Food Security Enhancement of Internally Displaced Community, Pong Hai Village, Mae Sao Sub-district, Mae Ai District, Chiang Mai Province

This participatory action research aimed to investigate food security situation, analyze and synthesize the pattern of participation, then monitor and evaluate the participation process of food enhancement of Internally Displaced Community in Pong Hai Village, Mae Sao Sub-district, Mae Ai District, Chiang Mai Province. The population of the study were 14 people comprised of formal leaders, no formal leaders, youth and representatives from local organizations.  The main tools were notes for group and focus group discussion participant observation, non – participant observation, field notes mapping and calendar relevant to food security. Triangulations were used to check the accuracy of the data. Typology and taxonomy were used for content analysis and to determine relationship and linkage to the food security issues which were self-reliance on food, rights to natural resources, rights to community resources, household economic and commercial rights of the community, access to safe food, cultural practices in relation to food security, risks and vulnerability to food shortages, ability to cope with food insecurity was only among high food security people who own more land.

It was found that the displaced Lahu of Pong Hai recognized Rice as Life. The definition of food security for them was relevant to their living context which includes shifting cultivation, having enough rice to eat throughout the year, having varieties of safe vegetables, raring animals, foraging, hunting and participating in the Lahu culture of sharing food. It was also found that food security depended on land holding. Eight food security indicators at the local level were used to explain the food security. This revealed that the self-reliance on food was at fifty percent, rights to natural resources were limited under national park regulations, rights to community resources was also limited due to land utilization under national parks and population growth. The household economic and commercial rights of the community were low as they spent seventy percent of their income on food. Access to safe food was low as they relied on bought food that may be contaminated by pesticides. The cultural practices in relation to food security were diminishing and traditional Lahu food sharing was only among relatives while there was no system to help each other in the form of funds. The risks and vulnerability to food shortages were foraging under the national park, hot weather and lack of rain. The ability to cope with food insecurity was only among high food security people who own more land. The participation to enhance food security was done through a trial of home-grown vegetables group. After a study trip to a farm run on sufficient economy principles, the group grew vegetables with local seeds they kept, the seeds from the farm they visited and bought seeds.   People forums were set up to monitor and evaluate the home- grown vegetables which revealed that the seed germination and vegetables growth were low due to hot weather and lack of rain.  However local seeds were better germination rate than the seeds got from the visited farm and seeds bought from the markets. One important issue found in the research was respect of the Lahu leader being a key to achieving the goals of the project.

Article Details

บท
บทความ