การบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสู่มาตรฐานศูนย์เด็กเล็กคุณภาพ ของเทศบาลในจังหวัดเชียงราย

Main Article Content

สกาวเดือ ปันทะวงค์
ชญาดา วรรณภิระ
รัชพล ศรีธรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาข้อแนะนำและแนวทางการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสู่มาตรฐานศูนย์เด็กเล็กคุณภาพของเทศบาลในจังหวัดเชียงราย ประชากรได้แก่ หัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กผู้อำนวยการกองการศึกษา และประธานคณะกรรมการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก รวมทั้งสิ้น จำนวน 66 คนและผู้เชี่ยวชาญจำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้าง

ผลการวิจัยพบว่า สภาพการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสู่มาตรฐานศูนย์เด็กเล็กคุณภาพของเทศบาลในจังหวัดเชียงรายโดยรวมอยู่ในระดับมาก (\inline \dpi{80} \mu = 3.51) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการเจริญเติบโต อนามัยในช่องปากและการจัดอาหารถูกหลักสุขาภิบาล อยู่ในระดับมาก (\inline \dpi{80} \mu = 3.89) รองลงมา คือ ด้านพัฒนาการและการเรียนรู้ตามวัยอยู่ในระดับมาก (\inline \dpi{80} \mu = 3.83) ด้านการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ อยู่ในระดับมาก (\inline \dpi{80} \mu = 3.71) ด้านจัดสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกระดับมาก (\inline \dpi{80} \mu = 3.62) ด้านบุคลากรอยู่ในระดับมาก (\inline \dpi{80} \mu = 3.55) และด้านการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองชุมชน ท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่ในระดับปานกลาง (\inline \dpi{80} \mu = 3.28)

ปัญหาการดำเนินงาน พบว่า เด็กมีปัญหาฟันผุและขาดการดูแลอย่างต่อเนื่องและการส่งต่อเด็กไปยังโรงพยาบาล เด็กไม่ได้รับการแก้ไขในการประเมินพัฒนาการที่ต่ำกว่ามาตรฐาน โครงสร้างอาคารศูนย์เด็กเล็ก มีสภาพที่ทรุดโทรมเพราะอาคารไม่เหมาะสมกับชั้นเรียน ขาดการสื่อสารผู้ปกครองและการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคติดต่อในเด็กผู้ปกครองขาดความรู้พื้นฐานในการป้องกันโรคติดต่อ หน่วยงานท้องถิ่นไม่ให้ความสำคัญในการพัฒนาบุคลากร ผู้ปกครองไม่มีเวลาร่วมกิจกรรมโครงการกับศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ข้อเสนอแนะการดำเนินงานคือ ควรจัดกิจกรรมร่วมกับผู้ปกครองเช่นการประชุมผู้ปกครองการจัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพปากและฟันศูนย์พัฒนาเด็กเล็กควรแบ่งช่วงชั้นให้ชัดเจนโดยการแบ่งช่วงอายุของเด็กหน่วยงานควรจัดตั้งงบประมาณในการก่อสร้างอาคาร ศูนย์เด็กเล็กเพิ่มเติมโดยบรรจุลงในแผนยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาศูนย์ควรประสานงานหน่วยงานจัดหน่วยงานสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โรงพยาบาลใกล้เคียงจัดอบรมให้ความรู้กับผู้ปกครองและบุคลากรที่เกี่ยวข้องควรจัดหาบุคลากรให้เพียงพอต่ออัตราส่วนเด็กต่อครูให้เหมาะสมประชุมผู้ปกครองและจัดโครงการภูมิปัญญาชาวบ้านบูรณาการการเรียนการสอน  แนวทางการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสู่มาตรฐานศูนย์เด็กเล็กคุณภาพของเทศบาลในจังหวัดเชียงราย จากการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้าง คือด้านการเจริญเติบโตอนามัยในช่องปากและการจัดอาหารถูกหลักสุขาภิบาลอาหาร คือ ควรจัดกิจกรรมร่วมกับผู้ปกครองเช่น การประชุมผู้ปกครอง การจัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพปากและฟัน ด้านพัฒนาการและการเรียนรู้ตามวัยควรส่งเสริมให้ครูได้รับการอบรมเกี่ยวกับพัฒนาการเด็กมากขึ้น ด้านการจัดสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกหน่วยงาน ควรจัดตั้งงบประมาณในการก่อสร้างอาคารศูนย์เด็กเล็กเพิ่มเติมโดยบรรจุลงในแผนยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาศูนย์ ด้านการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อควรประสานงานหน่วยงานจัดหน่วยงานสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โรงพยาบาลใกล้เคียงจัดอบรมให้ความรู้กับผู้ปกครองและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ด้านบุคลากรควรเปิดโอกาสให้บุคลากรของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้เข้ารับการอบรมโครงการสัมมนาต่างๆ อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง และด้านการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองชุมชน ท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจัดประชุมผู้ปกครองและจัดโครงการภูมิปัญญาชาวบ้านบูรณาการการเรียนการสอน

 

Management of Child Development Centers to Childcare Standards Quality of Municipalities in Chiang Rai

This research aimed to study the condition on administrative management of child development centers to child care standard quality, to give suggestion, and to provide guidelines for administrative management of child development to child care standard quality of municipalities in Chiang Rai. Population used in this research were heads of child development centers, directors of education and chairman of child development centers, a total of 66 persons, and 8 experts. Instrument used for this study were constructural in-depth interviews and questionnaires which were analyzed by using percentage, frequency, mean and standard deviation.

The result of study were that the overall of condition on administrative management were at a light level (\inline \dpi{80} \mu=3.51). When considering in each aspect, the aspect of growth, food and oral hygiene was in a highest level (\inline \dpi{80} \mu=3.89), then the aspect of development and learning (\inline \dpi{80} \mu=3.83), the aspect of prevention and contagious diseases (\inline \dpi{80} \mu=3.71), the aspect of internal and external environment (\inline \dpi{80} \mu=3.62), and the aspect of personnel management (\inline \dpi{80} \mu=3.55) respectively. However, the aspect of the participation of parent, local and concerning.

There should be some opportunities for persons who work in center to attend seminars at least 2 times a year.

There should be some participation of group of parent, leader of communities, local government and concerning organizations to have brainstorming, then make an integrated project to develop center.

Article Details

บท
บทความ