การพัฒนายุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวไปสู่การปฏิบัติ ในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนายุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวไปสู่การปฏิบัติในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 และเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะ การพัฒนายุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวไปสู่การปฏิบัติ ตามกรอบความร่วมมือในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 ได้แก่ จังหวัดเชียงราย พะเยา แพร่ น่าน เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนไปสู่การปฏิบัติ การจัดเตรียมแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 ให้เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ผู้บริหารหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ผู้ประกอบการธุรกิจด้านการท่องเที่ยว องค์กรภาครัฐ องค์กรพัฒนาเอกชน ผู้บริหารหน่วยงานภาครัฐภาคเอกชน ประชาชนที่เกี่ยวข้องในพื้นที่พัฒนาการท่องเที่ยวในประเทศเพื่อนบ้าน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาและรวบรวมข้อมูลคือการสนทนากลุ่มและการใช้แบบสอบถาม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิค SWOT
ผลการวิจัย พบว่า การจัดทำยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวไปสู่การปฏิบัติในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 ได้มีการกำหนดตัวชี้วัดและกลยุทธ์ตามเป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ภายใต้วิสัยทัศน์ (Vision)“ประตูการค้าสู่สากล โดดเด่นวัฒนธรรมล้านนา น้ำ ป่า สมบูรณ์ ประชาชนอยู่ดีมีสุข” และ พันธกิจ (Mission) ในการส่งเสริมพัฒนาเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน การท่องเที่ยว และ โลจิสติกส์เชื่อมโยงสู่สากลให้มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น และสร้างความเข้มแข็งให้ภาคเกษตร อุตสาหกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรมอารยธรรมแห่งล้านนาตะวันออก ดำรงไว้ซึ่งศิลปวัฒนธรรมและวิถีชีวิตที่เป็นเอกลักษณ์และเป็นอัตลักษณ์และสุขภาพ การอนุรักษ์ส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้มีความสมบูรณ์ ดำรงไว้ซึ่งฐานทรัพยากรธรรมชาติและการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี สำนักบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 ได้กำหนดเป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดและกลยุทธ์ขับเคลื่อนนโยบายตามประเด็นของ 4 ยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 บนจุดยืนทางยุทธศาสตร์
Development of Practical Cooperation Strategies in GMS Tourism for the Upper Northern Region 2
The aims of this study were to develop practical cooperation strategies in GMS tourism for the Upper Northern Region 2, and to propose the guidelines developing the practical cooperation strategies based on GMS cooperation framework of the Upper Northern Region 2 including Chiang Rai, Phayao, Phrae, and Nan. The guidelines were to be used as the basic information for planning the implementation and preparing the plans, projects, and activities to maximize the capacity of the Upper Northern Region 2 in becoming the tourism center in GMS. The population included administrators and officers involved in tourism, tourism entrepreneurs, public and private organizations, and people in the GMS tourism area. Research instruments were focus group discussion and questionnaire. SWOT was used for analyzing the data.
The findings showed that: The development of practical cooperation strategies in GMS tourism for the upper northern region 2 involved formulating indicators and strategic targets based on vision and mission. The vision was “Global Trade Gateway, Outstanding Lanna Culture, Rich in Water and Green Resources, People Living Happily”. And, the missions were expanding the promotion of economic development, trade, investment, tourism, and global logistic connectivity; strengthening agricultural and industrial sectors to increase the products value; promoting cultural oriented tourism in preserving the civilization of East Lanna; sustaining arts, culture, exquisite ways of life and identity; conserving and promoting the effective management of fertile natural resources and environment. The Office of Strategy Management of the Upper northern Region 2 then determined the strategic target, indicators, and strategies in driving the policy based on four development strategies of the Upper Northern Region 2.
Article Details
รายละเอียดของลิขสิทธ์