การนิเทศภายในเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดเชียงราย

Main Article Content

ภาวิณี จันทรา
ปภาดา ไชยดวงจินดา
รัชพล ศรีธรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพการนิเทศภายใน ปัญหาข้อเสนอแนะและแนวทางการนิเทศภายในเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดเชียงราย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดเชียงราย นักวิชาการรักษาการหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และครูผู้ดูแลเด็ก รวม 487 คน และผู้เชี่ยวชาญ 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า สภาพการนิเทศภายในเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดเชียงราย ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.51 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า การประชุมนิเทศ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.55 รองลงมา คือ การวิเคราะห์ข้อมูลและกำหนดวิธีการประชุม การประชุมปรึกษาหารือก่อนการสังเกตการณ์การจัดการเรียนรู้ การสังเกตการจัดการเรียนรู้ และการประชุมวิเคราะห์พฤติกรรมการนิเทศ ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ  2.52, 2.50, 2.49 และ2.48 ตามลำดับ

ปัญหาการดำเนินงาน พบว่า บุคลากรส่วนใหญ่ไม่มีความรู้เรื่องการนิเทศ ด้านการสังเกตการจัดการเรียนรู้ ผู้นิเทศและครูผู้ดูแลเด็กไม่มีการใช้เครื่องมือที่มีการตกลงร่วมกัน การใช้เครื่องมือในการนิเทศไม่หลากหลายและไม่ครอบคลุม การนิเทศไม่มีการสร้างข้อตกลงร่วมกัน และ ผู้รับการนิเทศไม่มีโอกาสแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการนิเทศ สำหรับข้อเสนอแนะในการดำเนินงาน พบว่า อยากให้มีการอบรมให้ความรู้บุคลากรที่เกี่ยวข้องก่อนมีการนิเทศ อยากให้มีการใช้เครื่องมือที่มีการตกลงร่วมกันกับครูผู้ดูแลเด็ก ควรมีการจัดวิธีการนิเทศ และใช้เครื่องมือที่หลากหลายเพื่อให้เหมาะสมที่สุด ควรมีการนิเทศแบบมีส่วนร่วมโดยสร้างข้อตกลงร่วมกัน และ ควรมีการเปิดโอกาสรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ   

แนวทางการนิเทศภายในเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา พบว่า ควรมีการ ตรวจสอบผลการปฏิบัติงานที่ผ่านมาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตามตัวชี้วัด เป้าประสงค์ หรือข้อบ่งชี้ที่กำหนดไว้ จัดทำบันทึกความเข้าใจร่วมกัน (MOU) ระหว่างสามฝ่ายได้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้นสังกัด ผู้รับการนิเทศ และผู้นิเทศ โดยมีขอบเขต เนื้อหาในการนิเทศที่ชัดเจน สร้างเครื่องมือทดลองก่อนการนำไปใช้งานจริง การสร้างบรรยากาศที่เป็นกันเองบนพื้นฐานของความเสมอภาค ลดชั่วโมงงานประจำลงจากเดิม สรุปความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับหลักการและวิธีการปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ผู้นิเทศได้ทราบ ใช้เทคโนโลยีมาช่วยสนับสนุนการวิเคราะห์พฤติกรรมการนิเทศ และกำหนดรูปแบบการประชุมวิเคราะห์ที่เหมาะสม


Internal Supervision for Educational Quality Development of Child Development Center Under Local Government Organization, Chiang Rai Province

This research aimed to study situations, problems and suggestions, and guidelines of internal supervision for educational quality assurance of child development centers under Chiang Rai Provincial Administrative Organization. Samples including Chief Administrator of the Chiang Rai Provincial Administrative Organization, heads of child development centers, and teachers for totally 487 persons, and six experts were interviewed with questionnaires. Data was analyzed by descriptive statistics for example frequency, percentage, mean and standard deviation, and also content analysis.

The results showed as follows. First, the assessment of internal supervision for educational quality assurance of child development centers under Chiang Rai Provincial Administrative Organization was revealed that the overall picture of the internal supervision was scored averagely as 2.51. When considering in details, the highest score was supervision meeting, then data analysis and determination meeting, discussion meeting before conducting the internal supervision, observation of learning provision, and reflection of the results with the average score as 2.55, 2.52, 2.50, 2.49 and 2.48 respectively.

Problems of the internal supervision conduction were shown that staff of the child development centers were not familiar with the internal supervision, and also the observation of learning provision. Moreover, used tools were not coincided by both investigators and teachers, not diversified, and not covered in all aspects. In addition, there was no recognition of the supervision between the partners, and no feedback mechanism. The purposed suggestions were that knowledge on internal supervision and educational quality assurance should be provided to staff of child development centers prior. Furthermore, tools for using in the supervision should be accepted by the teachers, also diversified and covered in all aspects. Nevertheless, methods for the supervision should be participatory and the key partners should agree with. Last but not least, a feedback session should be organized.  

Guidelines of the internal supervision for educational quality assurance of child development centers under Chiang Rai Provincial Administrative Organization were demonstrated that the operation of child development centers should be investigated according to indicators, objectives and identified criteria; further, a memorandum of understanding should be arranged between three partners including the provincial administrative organization, child development centers, and the investigation agency. Therefore the internal supervision should be clear scope of work and contexts; designed tools should be tested before using; atmosphere of the internal supervision should be friendly based on an equal party approach; workload hours should be reduced; summary principles and practical orders of the provincial administrative organization should be available for the investigators; technology should be adhered for monitoring during the supervision.  More important, a feedback session should be appropriated.

Article Details

บท
บทความ