ความมั่นคงในชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชนบ้านป่าซางวิวัฒน์ ตำบลนางแล อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

จิราพร มะโนวัง
อำไพรัตน์ อักษรพรหม
เรณุการ์ ทองคำรอด

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความมั่นคงในชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชนบ้านป่าซางวิวัฒน์ ตำบลนางแล อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย จำนวน 4 ด้าน ได้แก่ สุขภาพ รายได้และการมีงานทำ ความปลอดภัยในชีวิต ที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อม เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุในชุมชนบ้านป่าซางวิวัฒน์ ใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจงเฉพาะผู้สูงอายุที่ปลูกสับปะรดนางแล มีไร่สับปะรดเป็นของตนเอง จำนวนทั้งสิ้น 30 คน เครื่องมือการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า ผู้สูงอายุในชุมชนบ้านป่าซางวิวัฒน์ ตำบลนางแล อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย เป็นผู้ชาย จำนวน 14 คน ผู้หญิง จำนวน 16 คน อายุแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) ผู้สูงอายุตอนต้นอายุระหว่าง 60–69 ปี จำนวน 17 คน 2) ผู้สูงอายุตอนกลางอายุระหว่าง 70–79 ปี จำนวน 7 คนและ 3) ผู้สูงอายุตอนปลาย อายุตั้งแต่ 80 ปีขึ้นไป จำนวน 6 คน ส่วนใหญ่จบระดับประถมศึกษา ปีที่ 4 มาจากครอบครัวเดี่ยว จำนวนสมาชิกในครอบครัว 3 คน บทบาทในครอบครัวเป็นพ่อและแม่ มีสถานภาพเป็นหัวหน้าครอบครัว และความมั่นคงในชีวิตผู้สูงอายุ พบว่า 1) ด้านสุขภาพผู้สูงอายุมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง มีการออกกำลังกายเป็นประจำทุกวัน รับประทานอาหารครบ 3 มื้อ และมีอาหารเสริมเพื่อบำรุงร่างกาย มีจิตใจ เบิกบาน ยึดหลักคำสอนทางศาสนา ภาคภูมิใจที่ลูกหลานให้ความเคารพ ยกย่องนับถือ 2) ด้านรายได้และการมีงานทำ มีรายได้รวมเฉลี่ยเดือนละ 6,100 บาท เพียงพอต่อการดำรงชีวิต และเหลือเก็บเพื่อเป็นการออมในอนาคต หน่วยงานภาครัฐ และเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการให้ความรู้เพื่อส่งเสริมรายได้ สนับสนุนงบประมาณ ในการประกอบอาชีพ แหล่งรายได้หลัก คือ การปลูกสับปะรดนางแล และรายได้อื่นๆ เป็นอาชีพเสริม ได้แก่ เลี้ยงไก่เพื่อจำหน่ายไข่ ทำนา ปลูกผักปลอดสารพิษ เลี้ยงปลา ตัดเย็บเสื้อผ้า จักสานไม้ไผ่ และเบี้ยเลี้ยงชีพผู้สูงอายุ 3) ด้านความปลอดภัยในชีวิต ทั้งในด้านการดำเนินชีวิต และด้านทรัพย์สิน สามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติภัยต่างๆ ได้ด้วยตนเอง 4) ด้านที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อม มีการจัดตกแต่งที่อยู่อาศัยอย่างถูกสุขลักษณะ สิ่งแวดล้อมไม่เป็นอันตรายต่อการดำเนินชีวิต

 

Life Security of the Elderly in Baan Pasang Wiwat Community in Nang Lae Sub-district, Muang District, Chiang Rai Province

This research aimed to study the life security of the elderly in Pa Sang Wiwat Community in Nang Lae Sub-district, Muang District, Chiang Rai Province in 4 areas;  health, income and employment, life security, and housing and environment by using qualitative research. The purposive samples were the elderly in Baan Pasang Wiwat who were the owner of pineapple garden totally 30 persons. Research instruments were an in-depth interview and the data was analyzed by using content analysis.        

The results showed that the elderly in Pa Sang Wiwat Community in Nang Lae Sub-district, Muang District, Chiang Rai Province were 14 males and 16 females. There were 3 groups categorized by age: 1) 17 of them are young-old with  60-69 years old 2) 7 of them are middle-aged old with 70 -79 years old. 3) 6 of them are very old with over 80 years old. Most of them graduated in elementary level of Prathom 4. They were single family with 3 members. As for the role of the family, they were father and mother and their status was the head of the family. The result of life security of the elderly, it revealed that 1) Health aspect: The elderly were healthy because they exercised every day. They also ate fully 3 meals a day with dietary supplement. They were joyful and adhered to the religious doctrine and were proud that they were praised and respected by their descendants. 2) Income and employment aspect:  Their average income was 6,100 baht. It was sufficient for their life and some of them were saved for their future. In addition, the government and private sectors participated in giving knowledge and supporting for income and some budget for their professions. Their major income was pineapple plantation and other income was from supplementary jobs such as chicken raising for selling eggs, including farming, planting non-toxic vegetables, bamboo weaving, fish farming, dress making and elderly care allowance. 3) Life security for both life styles and property: They could protect and solve problems themselves. 4) Housing and environment: They decorated their houses hygienically with harmless environment to life. 

Article Details

บท
บทความ