Using Flipped Classroom Model to Develop English Competency and Independent Attributes of Mathayom Suksa 1 Students at Mengrai Maharajwitthayakhom School

Main Article Content

Orapan Denprapat
Maneerat Chuaychoowong

บทคัดย่อ

The objectives of this experimental research study were to enhance English competency in listening and speaking and to develop independent learners’ attributes of Mathayom Suksa 1 students by using the flipped classroom model. There were two main research questions: 1) To what extent does the flipped classroom model enhance students’ English listening and speaking skills?; 2) In what ways does the flipped classroom model promote independent learners’ attributes?. The participants were 67 Mathayom Suksa 1 students who took English Conversation 2 Course in the 2nd semester of academic year 2014 at Mengrai Maharajwitthayakhom School in Chiang Rai, Thailand. Purposive sampling technique was used to select the participants. The main research instruments were pre-test and post-test and semi-structured group interview. Pre-test and post-test were used to collect the data about students’ English listening and speaking scores, whereas semi-structured group interview was used to collect the data about students’ independent attributes. The data was analyzed by mean, standard deviation, and t-test. The results indicated that there was significant difference between the mean scores of post-test (t(65) = 3.126, p< 0.05) among the students who took part in the control group (M = 28.91, SD = 6.887) and experimental group (M = 33.59, SD = 5.149). Moreover, the flipped classroom model developed learners’ independent attributes which consisted of loving to learn; planning, managing, and taking responsibility for learning; finding and engaging in various activities and resources; and reflecting on learning.


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาทักษะด้านการฟังและการพูดภาษาอังกฤษ และทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยการสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom Model) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนรายวิชาสนทนาภาษาอังกฤษ 2 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนเม็งรายมหาราชวิทยาคม อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย จำนวน 67 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลมี 2 ชนิด ได้แก่ แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน และการสัมภาษณ์กลุ่มแบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-Structured Group Interview) แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนใช้ในการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และการสัมภาษณ์กลุ่มแบบกึ่งโครงสร้างใช้ในการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test

ผลการวิจัย พบว่า นักเรียนที่เรียนด้วยการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านมีความสามารถด้านทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษสูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยการสอนแบบดั้งเดิม (Traditional Teaching Method) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนที่เรียนด้วยการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านสามารถพัฒนาทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเองใน 4 ด้านได้แก่ 1) รักการเรียนรู้ 2) วางแผน จัดการ และรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ 3) ค้นหาและเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ หลากหลายแหล่งเรียนรู้ และ 4) ติดตามการเรียนรู้ของตนเอง.

Article Details

บท
บทความ