การแปลงแผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2545-2564) ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 1 พ.ศ.2552 ไปสู่การปฏิบัติงานพัฒนาท้องถิ่น ตำบลแม่ใส อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาทัศนคติของประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการพัฒนาด้านผู้สูงอายุตำบลแม่ใส (2) ศึกษาเปรียบเทียบตัวแบบการนำแผนผู้สูงอายุแห่งชาติฯ ไปปฏิบัติในงานพัฒนาท้องถิ่นตำบลแม่ใส (3) ศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จในการพัฒนาด้านผู้สูงอายุตำบลแม่ใส และ (4) ศึกษาปัญหา อุปสรรค และให้ข้อเสนอแนะในการแปลงแผนผู้สูงอายุแห่งชาติฯ ไปปฏิบัติในงานพัฒนาท้องถิ่นตำบลแม่ใส
วิธีดำเนินการวิจัย ได้ทำการศึกษาแนวคิด ทฤษฏี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย เก็บรวบรวมข้อมูลโดย (1) ใช้แบบสอบถามกับ 400 ครัวเรือนเป้าหมาย และ (2) ใช้แนวทางการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก กับคณะกรรมการหมู่บ้าน 12 หมู่บ้าน คณะกรรมการผู้สูงอายุ และข้าราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตำบลแม่ใส สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test ค่า F-test และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์
ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีทัศนคติเกี่ยวกับการพัฒนาด้านผู้สูงอายุในระดับปานกลาง โดยเห็นว่า (1) ปัจจัยนำเข้าสู่โครงการส่วนใหญ่มีความเหมาะสมและพอเพียง (2) กระบวนการดำเนินโครงการส่วนใหญ่เป็นระบบและชัดเจน และ (3) ผลการดำเนินโครงการส่วนใหญ่ประสบความสำเร็จ
การแปลงตัวแบบการนำแผนผู้สูงอายุแห่งชาติฯ ไปปฏิบัติงานพัฒนาท้องถิ่น ตำบลแม่ใส ปรากฏระดับความสำเร็จเรียงจากมากไปน้อย ดังนี้ (1) ตัวแบบด้านกระบวนการของระบบราชการ (2) ตัวแบบเชิงบูรณาการ (3) ตัวแบบด้านการจัดการ (4) ตัวแบบด้านการเมือง (5) ตัวแบบที่ยึดหลักเหตุผล และ (6) ตัวแบบด้านการพัฒนาองค์การ โดยมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาด้านผู้สูงอายุ ได้แก่ อายุและประสบการณ์การเข้าร่วมโครงการด้านผู้สูงอายุ (p<0.05) และมีความสัมพันธ์ระหว่างแนวคิดด้านการพัฒนาผู้สูงอายุของประชาชนกับทั้ง 6 ตัวแบบ (p<0.01)
ปัญหาอุปสรรค ได้แก่ (1) วัตถุประสงค์โครงการไม่ชัดเจน (2) ประชาชนขาดความร่วมมือ (3) ภาวะเจ็บป่วยของผู้สูงอายุ (4) งบประมาณไม่เพียงพอ และ (5) ขาดการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุเข้ารับการฝึกอบรม ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ชุมชนควรมีส่วนร่วมในการจัดทำโครงการด้านผู้สูงอายุให้มากขึ้น (2) องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ใสควรส่งเสริมการดำเนินโครงการด้านผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง และ (3) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องระดับจังหวัดควรมีการแปลงแผนผู้สูงอายุไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม
Implementing the 2nd National Plan on the Elderly (2002-2021), 1st Revised of 2009 in Mae Sai Sub-district, Meuang District, Phayao Province
This research aimed to (1) examine the attitude toward the elderly development plan, (2) compare the models of the elderly policy implementation, (3) examine the significant demographic factors influencing attitude of the elderly participation in the development plan, and (4) sum up the problems and suggestions for the elderly policy implementation.
The framework was designed on concepts, theories and related research study. The data collection were the questionnaire interviews with 400 target households in Mae Sai sub-district and the in-depth interviews with the village committee from twelve villages, elderly committee, and government officials who involved in the elderly plan. The data were analyzed qualitatively and quantitatively by using frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, F-test, and Pearson's correlation coefficient.
The findings were 1) The attitude toward the elderly development plan of most target households was in moderate level. 2) Most of village committees, sub-district elderly committees, and government officials agreed that the inputs of the elderly development plan were (1) appropriate and adequate, (2) well-organized and clear, and (3) successful.
For the implementing models of the elderly implementation policy, it was shown that all six models were successful from transforming elderly policy into local development practice including (1) bureaucratic process model, (2) integrated model, (3) management model, (4) political model, (5) rational model, and (6) organization development model, respectively.
The significant demographic factors influencing attitude of the elderly participation in the development plan were age, and experience (p<0.05). In addition, it was found that the models of the elderly policy implementation (6 models) had significant positive correlation (p<0.01).
Some important operational problems were (1) unclear objectives, (2) lack of beneficiary participation in the elderly development plan, (3) illnesses of the elder, (4) insufficient budget, and (5) lack of support in the elderly training. Recommendations were (1) Beneficiary involvement, (2) Continuum support, and (3) Concise implementation plan.
Article Details
รายละเอียดของลิขสิทธ์