รูปแบบการพัฒนาศักยภาพในการจัดการตนเองของเกษตรกรในจังหวัดเชียงราย กรณี เกษตรกรตำบลแม่กรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

กรชนก สนิทวงค์

บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ประการแรกเพื่อศึกษาถึงสถานการณ์และสภาพปัญหาของเกษตรกรที่ปลูกข้าวในจังหวัดเชียงราย ประการต่อมาเป็นการศึกษาถึงศักยภาพในการจัดการตนเองของเกษตรกรที่ปลูกข้าวในจังหวัดเชียงรายและประการสุดท้ายเป็นการพัฒนารูปแบบการพัฒนาศักยภาพในการจัดการตนเองของเกษตรกร กรณี เกษตรกรพื้นที่ตำบลแม่กรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ในด้านวิธีการศึกษา ผู้ศึกษาได้มุ่งเน้นการศึกษาในรูปแบบผสมผสาน (Mix Methods) กล่าวคือ เป็นการศึกษาที่ใช้วิธีการศึกษาทั้งในเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และเชิงคุณภาพ (qualitative Research) มุ่งเน้นการศึกษาเชิงปฏิบัติการ (Action Research) โดยมีหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เพื่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงที่ยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา มีองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการคือ “การระเบิดจากข้างใน” “การปลุกจิตสำนึก” และ “เน้นพึ่งตนเองได้” เป็นแนวทางการศึกษา สำหรับประชากรที่ทำการศึกษาในเชิงปริมาณ ได้แก่ เกษตรกรที่ปลูกข้าวในพื้นที่จังหวัดเชียงราย จำนวน 384 ราย จากจำนวนเกษตรกรทั้งหมดประมาณ 102,438 ครัวเรือน (เฉลี่ยรวมปี พ.ศ.2555-2556) โดยทำการจัดเก็บเฉลี่ยใน 9 อำเภอที่มีการปลูกข้าวมากที่สุดของจังหวัดเชียงราย คือ อำเภอพาน เทิง เมือง เชียงของ แม่จันแม่สรวย พญาเม็งราย เวียงชัยและแม่สาย  เป็นการวิเคราะห์โดยใช้ค่าเฉลี่ยร้อยละ (Percentage) และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ถดถอยพหุ (Multiple Regression Analysis) ส่วนประชากรที่ทำการศึกษาเชิงคุณภาพได้แก่ เกษตรกรในพื้นที่ตำบลแม่กรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย จำนวน 30 ราย ทำการวิเคราะห์จากผลการปฏิบัติการและบรรยายพรรณนาตามวัตถุประสงค์ของการศึกษา

ผลการศึกษาพบว่า ในด้านสถานการณ์ทั่วไปของเกษตรกรโดยเฉพาะผู้ปลูกข้าวในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ส่วนใหญ่ประสบกับปัญหาด้านต้นทุนการผลิต การสืบทอดเมล็ดพันธุ์ แหล่งน้ำและด้านแรงงานรวมทั้งอายุเฉลี่ยของเกษตรกรที่เพิ่มสูงขึ้นในขณะที่เกษตรกรส่วนใหญ่ขาดการสืบทอดทางอาชีพทางการเกษตรจากทายาทรุ่นต่อไป ฯ ส่วนในด้านศักยภาพในการจัดการตนเองของเกษตรกรในภาพรวม พบว่า ส่วนใหญ่มีศักยภาพในระดับปานกลางในด้านการจัดการด้านค่าใช้จ่ายและการวางแผนการผลิต ส่วนการพัฒนาคุณภาพการผลิตและการจัดจำหน่ายอยู่ในระดับน้อย สำหรับผลการพยากรณ์ในด้านปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาศักยภาพในการจัดการตนเองของเกษตรกรพบว่า จากปัจจัยที่ทำการวิเคราะห์ทั้งหมดใน 18 ด้าน มีเพียง 6 ด้าน ที่ส่งผลต่อการพัฒนาศักยภาพในการจัดการตนเองของเกษตรกร คือ ปัจจัยด้านแรงงาน แหล่งอาหารเพื่อการบริโภค การหนุนเสริมจากหน่วยงานภาคีเครือข่าย  การมีส่วนร่วมในกลุ่ม องค์กร ความตระหนักรู้ในสภาพปัญหาพื้นฐานของเกษตรกรและความตระหนักรู้ในสถานการณ์ปัญหาของเกษตรกร

ในด้านรูปแบบการพัฒนาศักยภาพในการจัดการตนเองของเกษตรกรในจังหวัดเชียงราย กรณี เกษตรกรตำบลแม่กรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงรายพบว่า ในการดำเนินกิจกรรมที่มุ่งเน้นการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมอย่างไม่เป็นทางการผ่านกลไกด้านเครือญาติ เพื่อนฯ โดยมีปัจจัยเสริมที่สำคัญใน 5 ประการคือ การหนุนเสริมจากหน่วยงานภาคีเครือข่าย การมีความตระหนักรู้ในสถานการณ์ปัญหาทั่วไปของเกษตรกร การมีความตระหนักรู้ในสภาพปัญหาของตนเอง การมีแหล่งอาหารเพื่อการบริโภค การมีส่วนร่วมในกิจกรรมกลุ่ม ร่วมกับการกระตุ้นและการปลุกจิตสำนึก ผ่านการปฏิบัติการใน 6  ขั้นตอนคือ ขั้นการศึกษาและกระตุ้นความตระหนักรู้ฯ ขั้นการหนุนเสริมจากภาคีเครือข่าย ขั้นการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในกิจกรรมกลุ่ม องค์กร ขั้นปฏิบัติการ ขั้นสรุปบทเรียน ขั้นการต่อยอดและปรับปรุง ก่อให้เกิดการขับเคลื่อนและพัฒนาศักยภาพในการจัดการตนเองของเกษตรกรที่อยู่บนพื้นฐานของความเป็นชุมชนร่วมกัน (Self-Management as Community-Based for Movement and Development = SCB-MD) ทั้งในด้านการวางแผนการผลิต การพัฒนาคุณภาพการผลิตและการจัดจำหน่าย ซึ่งเป็นแนวทางที่นำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนดังกล่าว

 

The Potential Development Model in Self-Management of The Farmers in Chiang Rai Province. Case Study of The Farmers in Maekorn Sub-District, Muang District. Chiang Rai Province.

The objectives of this research were to study the situation and problem of rice farmers in Chiang Rai province, the potential in self-management of the farmers in Chiang Rai province, and the improvement of potential development model in self-management of the farmers in Maekorn Sub-District, Muang District, Chiang Rai province. The mix methods were used in this research, quantitative and qualitative researches. Also, it focused on action research based on a royal idea of King Bhumibol Adulyadej on the work principle to drive the sufficiency economy that people were the center of the development, which consisted of 3 important factors ware “Explosion from Within”, “Awareness”, and “Self-reliance”. The participants of the quantitative research were 384 rice farmers from 102,438 in total (average of 2009-2013) in Chiang Rai province from 9 districts where grew rice the most, which were Phan District, Teung, Muang, Chiang Khong, Mae Chan, Mae Suai, Phya Meng Rai, Wiang Chai and, Mae Sai. The percentage analysis and multiple regression analysis were also employed. The participants of the qualitative research were 30 farmers in Maekorn sub-district, Chiang Rai province, analyzing the performance and describing through the research objectives.

The research revealed that the general situation of the farmers, especially the rice farmers in Chiang Rai province was that the majority of them were encountering the production costs problem, seeds propagate species, water resources, and labors. Moreover, there was the problem of the high average of the farmers’ age whereas most of the farmers lacked of the professional inheritance to the next generations. The potential in self-management of the farmers, the research found that most of them had moderate level of expenses and planning management but had a low level of production quality development and distribution. In terms prediction, it found that there were 6 factors from 18 analyzed factors, which were labors, consumption food sources, support from the network associations, participation in groups and organizations, basic problems of farmers, and the awareness of the problem situation of the farmers, were the factors affected to the potential development in self-management of the farmers.

From the potential development model in self-management of the farmers in Chiang Rai province: Case study of the famers in Maekorn Sub-District, Muang, Chiang Rai province, it found that  processing the activity emphasizing on informal participation through kinships and friends had 5 important supporting factors; a support from the networks, an awareness of general situation of agriculturist’s problem, an awareness of oneself problem, having sources of food for consumption, and group activities participation. Moreover, an encouragement and raising awareness  through  the 6 stages; studying and encouraging an awareness, supporting from the networks associations, enhancement in groups and organizations activities participation, operation stage, summary stage, and improvement stage, were important factors also. These would drive and develop the potential in self-management of the farmers based on Self-Management as Community-Based for Movement and Development (SCB-MD), on production plans, quality production development, and sale, which led to the sustainable development.

Article Details

บท
บทความ