การบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

ณิชกานต์ นันตาลิต
ชญาดา วรรณภิระ
รัชพล ศรีธรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและข้อเสนอแนะ การบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย ประชากร ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้อำนวยการกองการศึกษาและหัวหน้าส่วนการศึกษา หัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหรือผู้ช่วยหัวหน้าศูนย์ ครูผู้ดูแลเด็กและผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็ก รวมทั้งสิ้น จำนวน 197 คน และผู้เชี่ยวชาญ ที่ใช้ในการจัดสนทนากลุ่ม จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดสนทนากลุ่ม 

ผลการวิจัย พบว่า การบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย โดยรวมอยู่ในระดับมาก (\inline \dpi{100} \mu=3.54) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอยู่ในระดับมาก (\inline \dpi{100} \mu=3.84) รองลงมา ด้านบุคลากร อยู่ในระดับมาก (\inline \dpi{100} \mu=3.54) และด้านวิชาการและกิจกรรมตามหลักสูตร (\inline \dpi{100} \mu=3.52) ตามลำดับ ปัญหาการดำเนินงาน พบว่า ขาดงบประมาณสนับสนุนในดำเนินงาน อาคารสถานที่ไม่เอื้อในการจัดการเรียนการสอน ครูขาดการพัฒนา ชุมชนยังขาดความร่วมมือ และผู้บริหารไม่ให้ความสำคัญในการประชุมเครือข่ายข้อเสนอแนะคือ ควรมีการจัดหางบประมาณจากหน่วยงานภายนอก มาสนับสนุนงบประมาณอยู่เสมอ ควรอบรมให้ความรู้บุคลากร กำหนดหน้าที่ให้ชัดเจน และมีการประสานงานร่วมกันและการประชาสัมพันธ์งานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้ชุมชนและราชการได้ทราบ และจัดหาแหล่งเงินทุนเพื่อสนับสนุนการปรับปรุง ต่อเติมอาคารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เพื่อสร้างความเข้าใจในการดำเนินงาน และกำหนดบทบาทหน้าที่บุคลากรให้ชัดเจนเพื่อลดขั้นตอนการปฏิบัติงานแนวทางพัฒนาการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก พบว่าด้านการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ได้แก่ สร้างความเข้าใจในการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กแก่บุคลากรและผู้ที่ส่วนเกี่ยวข้อง ด้านบุคลากร ได้แก่ คัดเลือกบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถในการปฏิบัติงาน ด้านอาคารสถานที่ สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ได้แก่ หาแนวทางร่วมกันกับผู้นำในชุมชน เพื่อแก้ไขปัญหา ด้านวิชาการและกิจกรรมตามหลักสูตร ได้แก่ จัดประชุมร่วมแสดงความคิดเห็นในการนำงานจากหลักสูตรไปใช้ ด้านการมีส่วนร่วมและสนับสนุนทุกภาคส่วน ได้แก่ ประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้ชุมชนได้ทราบ ด้านส่งเสริมเครือข่ายการพัฒนาเด็กปฐมวัย ได้แก่ รายงานผลการดำเนินงานและปัญหาของชมรมเครือข่ายครูผู้ดูแลเด็กให้ทราบเป็นประจำทุกเดือน

 

Management of Child Development Centers under Local Government  Organization, Thoeng District, Chiang Rai  Province

The purpose of this research was to study the problem and suggestion management of child development centers under local government organization, Thoeng District, Chiang Rai Province. Population were including the school administrators, director of education division and head of education of the child development center or assistant head of education, The child care teacher and assistant child care teachers as total 197 people and expert professionals, using focus group discussion of 9. The questionnaires were used. The data were analyzed by frequency, percentage, mean and standard deviation. Focus group discussion and conclusion.

The results showed that the management child development center under local government  organization. Overall level (\inline \dpi{100} \mu = 3.54) when considering each side. Sort average from descending was the management of child development centers in high level (\inline \dpi{100} \mu = 3.84), followed by personnel at a high level (\inline \dpi{100} \mu = 3.54), and the academic and activity-based curriculum (\inline \dpi{100} \mu. = 3.52), respectively. The problems of operational issues found that lack of funding There were not enough personnel for classrooms, a disproportionate number of children. And does not separate the teaching. Teachers do not understand the curriculum implementation. The diversity and conducive to learning. Community did not cooperate in the development of the child development centre. Administrators rarely featured in the network level.

The suggestions were to should provide funding from external agencies to support budget for training personnel, clearly the joint coordination and public relations work of the child development center, community and government know funding to support and improve building upon the child development center to create knowledge in operation and clearly define the roles and responsibilities of personnel to perform the reduction process.

Guidelines for the management of child development centers, it was found that the management of child development centers, including the understanding in the operation of the child development center personnel and those involved the project meeting stakeholders in personnel management and supply source of funds by asking for support from the public and private sectors personnel, for personnel including the personnel selection with knowledge ability to work with the project competition, selection and training to the personnel knowledge, the building site environment and safety of the child development center, including solutions together with leaders in the community, to solve the problem the project meeting any problems with local leaders. Academic activities and curriculum, including joint conference comment on the work of the course to use the meeting with the community and join the study of child development center with academic management outstanding on the participation and support of all sectors, including the public performance of the child development center, the community know the project to join the monthly meeting in the community and let in child development center community know and appoint leaders in the community was the refs in Child Development Center to promote early childhood development network, including the report and the problems of the network child care teachers to know regularly every month, the meetings on a regular basis and study networktogether.

Article Details

บท
บทความ