ปัจจัยทางการตลาดท่องเที่ยวที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกแหล่งท่องเที่ยว ในจังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

ธัญวัฒน์ พัชรวงศ์ตระกูล

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องปัจจัยทางการตลาดท่องเที่ยวที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดนครราชสีมา เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของผู้มาท่องเที่ยวในจังหวัดนครราชสีมา (2) เพื่อศึกษาปัจจัยการตลาดท่องเที่ยวของแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดนครราชสีมา (3) เพื่อศึกษาการตัดสินใจเลือกแหล่งท่องเที่ยวของผู้มาท่องเที่ยวในจังหวัดนครราชสีมา (4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล กับการตัดสินใจเลือกแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดนครราชสีมา (5) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการตลาดท่องเที่ยว กับการตัดสินใจเลือกแหล่งท่องเที่ยวของผู้มาท่องเที่ยวในจังหวัดนครราชสีมา

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ประชากรที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ผู้มาท่องเที่ยวในจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 400 ตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป ประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าไคว์ สแควร์ และค่าอีต้า

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ (1) ข้อมูลของผู้มาท่องเที่ยว จังหวัดนครราชสีมา เป็นเพศหญิง มีอายุ 21–30 ปี สถานภาพสมรส การศึกษาปริญญาตรี อาชีพพนักงานบริษัท รายได้ต่อเดือน 10,001–20,000 บาท ภูมิลำเนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (2) พฤติกรรมการเลือกท่องเที่ยว จังหวัดนครราชสีมา ส่วนใหญ่รับทราบข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต กิจกรรมท่องเที่ยว ได้แก่ ทัศนศึกษา มาท่องเที่ยวกับครอบครัว มาท่องเที่ยว 2–4 ครั้ง วันที่มาท่องเที่ยว คือ เสาร์–อาทิตย์ โดยเฉลี่ยท่องเที่ยว ใช้รถส่วนตัว การท่องเที่ยวเน้นจ่ายค่าอาหารสถานที่องเที่ยวคือ อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี (3) ปัจจัยการตลาดท่องเที่ยวโดยภาพรวมผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก โดยให้ความสำคัญมากกับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ รองลงมา สถานที่ และให้ความสำคัญน้อยกับกระบวนการซื้อ (การเลือกแหล่งท่องเที่ยว) (4) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยการตลาดท่องเที่ยวมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดนครราชสีมา


The Tourism Marketing Factors Relating to the Tourist Destination Selection In Nakorn Ratchasima Province

This research on the tourism marketing factors relating to the tourist destination

selection in Nakorn Ratchasima is a survey research with the objectives of studying (1) the personal information of tourists visiting Nakorn Ratchasima, (2) the tourism marketing factors of the tourist destinations in Nakorn Ratchasima, (3) the tourist destination selection of tourists in Nakorn Ratchasima, (4) the relationship between the personal information and the tourist destination selection in Nakorn Ratchasima, and (5) the relationship between the tourism marketing factors and the tourist destination selection in Nakorn Ratchasima.

The research instrument used was questionnaires which were distributed to 400 tourists in Nakorn Ratchasima. The data was processed and analyzed by using statistical application program. Statistics used in analyzing the data are percentage, means, standard deviation, Chi-Square and Eta values.

The findings show that: (1) For personal information of the respondents: the majority of respondents were female, aged 20-30 years old, were single, the education level was bachelor’s degree, worked as private company employees, and earned an income of 10,001-20,000 bath, and lived in the Northeastern Region; (2) For the tourism marketing factors of the tourist destinations in Nakorn Ratchasima, the majority of respondents learned about the information from Internet, the tourist activities included sightseeing with their families, 2-4 times per year, using own cars, on Saturdays-Sundays, most expenses were on food, the most favorite place was Thao Suranari Monument; (3) For the tourist destination selection of tourists in Nakorn Ratchasima: most of the responses were at the moderate level, with the highest ratings on physical environment, place, and the lowest ratings on the buying process (destination selection); (4) For the relationship between the personal information and the tourist destination selection in Nakorn Ratchasima: it was found that the personal information was correlated with the tourist destination selection in Nakorn Ratchasima.

Article Details

บท
บทความ