การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ธนาคารความดีเพื่อเสริมสร้างสังคมอยู่เย็นเป็นสุข ของชุมชนไทย

Main Article Content

เบญจมาศ เมืองเกษม
ไชยยศ ไพวิทยศิริธรรม
นรินทร์ สังข์รักษา
ธีรศักดิ์ อุ่นอารมณ์เลิศ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการณ์การจัดการความรู้และการปฏิบัติที่เป็นเลิศของธนาคารความดี 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ธนาคารความดีเพื่อเสริมสร้างสังคมอยู่เย็นเป็นสุขของชุมชนไทย 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการความรู้ธนาคารความดีเพื่อเสริมสร้างสังคมอยู่เย็นเป็นสุขของชุมชนไทย 4) เพื่อประเมินและปรับปรุงรูปแบบการจัดการความรู้ธนาคารความดีเพื่อเสริมสร้างสังคมอยู่เย็นเป็นสุขของชุมชนไทย โดยใช้ทั้งเครื่องมือการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ สถิติพรรณาวิเคราะห์ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เนื้อหาและการถอดบทเรียน

ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการณ์การจัดการความรู้ธนาคารความดี พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก และการปฏิบัติที่เป็นเลิศธนาคารความดี พบว่า เป็นเลิศในด้านทุนทางสังคม ด้านรูปแบบการจัดการความรู้ของธนาคารความดีมีวิธีการที่เป็นเฉพาะ และด้านความเข้มแข็งของชุมชน 2) การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ธนาคารความดีเพื่อเสริมสร้างสังคมอยู่เย็นเป็นสุขของชุมชนไทย พบรูปแบบคือ “RONGPLAKHAO Model” 3) ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการความรู้ธนาคารความดี พบว่า จากการที่ได้เรียนรู้ผ่านการศึกษาดูงานได้นำมาสู่การวางแผนการดำเนินงาน มีการประชุมชี้แจงเพื่อเตรียมชุมชนด้วยการทำความ รวมทั้งสร้างทีม แกนนำ การอบรมเพื่อยกระดับการจัดการความรู้ ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจในด้านวิทยากร สถานที่/ระยะเวลา ความรู้ความเข้าใจ และการนำความรู้ไปใช้ อยู่ในระดับมาก สำหรับการจัดเวทีแลกเปลี่ยนรู้ ได้สร้างความเข้าใจทางด้านมิติการจัดการความรู้ ของธนาคารความดีมากขึ้น มีความภาคภูมิใจที่มีธนาคารความดีเป็นศูนย์รวมการทำกิจกรรมที่ส่งเสริมให้คนทำความดี และการประชุมสัมมนาข้อเสนอแนะในการจัดการความรู้ธนาคารความดีเพื่อเสริมสร้างสังคมอยู่เย็นเป็นสุขของชุมชนไทยพบว่า จุดแข็งของธนาคารความดีได้สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับชุมชน และข้อจำกัดที่ค้นพบของธนาคารความดี ปัญหาการขาดแคลนแกนนำ ทางออกของการแก้ไขปัญหาและแนวทางการขับเคลื่อนธนาคารความดี คือ สร้างแกนนำจากรุ่นสู่รุ่นใหม่ ผลิตสื่อหรือกระบวนการที่เกี่ยวกับการเผยแพร่องค์ความรู้ที่มีประสิทธิภาพ 4) ผลการประเมินและปรับปรุงรูปแบบการจัดการความรู้ของธนาคารความดี พบว่ามีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ มีความถูกต้องและ มีความเป็นประโยชน์ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และครบถ้วนสมบูรณ์

 

The Development a Knowledge Management Model of Goodness Bank to Reinforce Create Green and Happiness Society of Thai Community

The objectives of this research were 1) to study circumstances of goodness bank knowledge management and the excellent practices. 2) to develop knowledge management model of goodness bank to reinforce create green and happiness society of thai community 3) to try out the develop knowledge management model of goodness bank to reinforce create green and happiness society of thai community 4) to evaluate and improve model of goodness bank to reinforce create green and happiness society of thai community. This research used both qualitative and quantitative research tools. The data were analyzed by using percentage, mean, standard deviation, content analysis and lesson learned.

The results of this study were as follow: 1) the circumstances of knowledge management and need of goodness bank showed that the overall was abundant at the level. 2) development of knowledge management model of goodness bank to reinforce social green and happiness for thai community. It entitled “RONGPLAKHAO Model” 3) the result of using knowledge management model of goodness bank was found that learning through study visit led to the implementation plan. For the meeting preparation, it was clarification meeting with community leaders to make understanding. Including team building and leadership. The workshop to enhance knowledge management found that the knowledge scores after training higher than before training, the evaluation in overall of trainees was satisfied in high level. For knowledge sharing forum to make more understanding the dimension of knowledge management and goodness bank and pound to have goodness bank being the activities center to encourage people to do good things. The meeting for policy recommendation found that the strength of the goodness bank was a good image to the community. Limitation of goodness bank was found that the shortage of leaders. The solution of the problem and to dynamic goodness bank were leaders building from generation X to generation Y, materials production or processes related to the dissemination of knowledge to be effective. 4) The evaluation and improvement of the knowledge management model of goodness bank found that the appropriation, possibility, accuracy and advantages were highest at the level in overall and completion.

Article Details

บท
บทความ