การจัดการทรัพยากรน้ำแบบมีส่วนกรณีชุมชนแพรกหนามแดง จังหวัดสมุทรสงคราม

Main Article Content

จิดาภา ถิรศิริกุล
เพ็ชราภรณ์ ชัชวาลชาญชนกิจ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการจัดการน้ำในพื้นที่แพรกหนามแดง และศึกษาการจัดการทรัพยากรน้ำแบบมีส่วนร่วมของชุมชนแพรกหนามแดง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ เพื่อทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและชุมชน จำนวน 15 คน ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาการจัดการน้ำในพื้นที่แพรกหนามแดง เกิดขึ้นจากระบบการจัดการน้ำของภาครัฐที่ไม่เหมาะสมกับพื้นที่สามน้ำ (น้ำเค็ม น้ำกร่อย และ น้ำจืด) และการจัดการทรัพยากรน้ำของชุมชนแพรกหนามแดงในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นมาจากการพัฒนาแนวทางการแก้ไขปัญหาด้วย การมีส่วนร่วมของชุมชน การพัฒนาองค์ความรู้ในการแก้ไขปัญหาด้วยการวิจัย และ การผสมผสานภูมิปัญญาท้องถิ่น และการผลักดันแนวทางการแก้ไขปัญหาไปสู่การปฏิบัติโดยการสร้างการยอมรับ และความร่วมมือกับภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ส่งผลให้เกิดการพัฒนาความรู้ในการจัดการน้ำโดยการมีส่วนร่วม และการเป็นบทเรียนเชิงนโยบายรัฐในการจัดการน้ำ

 

Participatory Water Resource Management of Praeknhamdang Community , Samut Songkhram Province

This research aims to study water resources management problem in Praeknhamdang, and to study the participatory water resources management of Praeknhamdang Community, Samut Songkhram Province. The research employed qualitative research such as in-depth interviews to collect data from 15 key informants such as government officials and people in the community. The study were found that water resources management problem in Praeknhamdang arose from public water management that was not fit to the water area (salt, brackish and fresh water), and water resources management of Praeknhamdang community to solve that problem arose from the development of solutions by the participation of the community, the development of knowledge to solve problems with a combination of research technique and local wisdom, and the driving solutions into practice by creating acceptance and cooperation with the related public agencies. Water resources management of Praeknhamdang community led to participatory water management knowledge development and a public policy lesson in water management.

Article Details

บท
บทความ