การพัฒนาโปรแกรมบทเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องมาตราตัวสะกด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

นิยดา นราพันธ์
สังคม ภูมิพันธุ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาโปรแกรมบทเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง มาตราตัวสะกด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ให้ได้ประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) หาดัชนีประสิทธิผลของโปรแกรมบทเรียนที่พัฒนาขึ้น 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยโปรแกรมบทเรียน 4) ศึกษาความพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยโปรแกรมบทเรียนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 ของโรงเรียนบ้านคู (ประชาอุปถัมภ์) อำเภอขามสะแกแสง จังหวัดนครราชสีมา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5 จำนวน 10 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้คือ มี 3 ชนิด ได้แก่ 1) โปรแกรมบทเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  เรื่อง มาตราตัวสะกด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 9 หน่วยการเรียน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 2 ฉบับ ฉบับที่ 1 การอ่านคำ จำนวน 20 ข้อ มีค่าความมีค่าความยาก (P) ตั้งแต่ 0.50 ถึง 0.73 ค่าอำนาจจำแนก (B) ตั้งแต่ 0.61 ถึง 0.97 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ  0.93ฉบับที่ 2 การเขียนคำ จำนวน 20 ข้อ มีค่าความมีค่าความยาก (P) ตั้งแต่ 0.50 ถึง 0.80 ค่าอำนาจจำแนก (B) ตั้งแต่ 0.55 ถึง 0.88 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.85 รวมเป็น 40 ข้อ และ 3) แบบวัดความพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating  Scale) 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนก (rxy) ตั้งแต่ 0.47 ถึง 0.71 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ (Coefficient) เท่ากับ 0.78 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิตินอนพาราเมตริก ทดสอบแบบ The Wilcoxon Matched Pairs Signed Ranks Test ผลการวิจัยพบว่า โปรแกรมบทเรียนมีประสิทธิภาพเท่ากับ 88.41/ 85.00 ค่าดัชนีประสิทธิผลการเรียนด้วยโปรแกรมบทเรียนของนักเรียนมีค่าเท่ากับ 0.7628 (ร้อยละ 76.28) นักเรียนมีค่าเฉลี่ยคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีความพอใจต่อการเรียนด้วยโปรแกรมบทเรียนโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับพึงพอใจมาก


The Development of Thai Spelling Lesson for Thai Language Subject Matter of  PrathomSuksa 4 Students

This research aimed 1) to develop Thai spelling lessons for Thai language subject matter of PrathomSuksa 4 students to reach a standard level 80/80 2) to determine effectiveness index of the developed lessons 3) to compare between pretest and posttest achievements of students after using the developed lessons 4) to study students’ satisfaction.

The samples used in this study were 10 students that studying in PrathomSuksa 4, in the first semester of academic year 2011 at Ban Koo School, Kam Scare-Sang District, NakhonRatchasima Province. They were selected by using the purposive sampling method. Research instruments were 1) 9 credits Thai spelling lessons of Thai language subject matter for PrathomSuksa 4 2) two sets of learning achievement tests. The first test for word reading ability; it comprised 20 questions, with the difficulty indices (P) 0.50-0.73, the discrimination indices (B) 0.61-0.97 and the reliability value 0.93. The second test for word writing ability; it comprised 20 questions, with the difficulty indices (P) 0.50-0.80, the discrimination indices (B) 0.55-0.88 and the reliability value 0.85. 3) survey for students’ satisfaction, with 10 questions, rating scales of 5, the discrimination (rxy) 0.47-0.71 and the reliability (α-coefficient) 0.78.The statistics used in the study were percentage, mean, standard deviation, non-parametric assumption test and the Wilcoxon matched pairs signed ranks test at significant 0.05. The findings were as follows:The effectiveness of the developed lessons was 88.41/85.00

The effectiveness Index was 0.7628, which means students had learning achievement at 76.28% Students’ achievement increased with statistically significant at the .05 level after learning through these lessons.The students who learned by these lessons had satisfaction in high level.

Article Details

บท
บทความ