ลักษณะข้าราชการพลเรือนที่พึงประสงค์ด้านมาตรฐานจริยธรรม

Main Article Content

ทวีศักดิ์ ตั้งวัฒนธรรม
พรนภา เตียสุธิกุล
บุญเลิศ ไพรินทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์หลัก 2 ประการ คือ 1.เพื่อวิเคราะห์และสังเคราะห์องค์ประกอบของมาตรฐานจริยธรรมด้านค่านิยมหลักในการให้บริการสาธารณะของข้าราชการพลเรือนตามกรอบจริยธรรมสากลขององค์การระหว่างประเทศ 2.เพื่อสังเคราะห์และจัดกลุ่มความสัมพันธ์มาตรฐานจริยธรรมด้านค่านิยมหลักในการให้บริการสาธารณะของข้าราชการพลเรือนตามกรอบจริยธรรมสากลขององค์การระหว่างประเทศเพื่อกำหนดลักษณะข้าราชการพลเรือนที่พึงประสงค์ด้านมาตรฐานจริยธรรม โดยใช้การศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เป็นการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) โดยใช้เครื่องมือการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)ร่วมกับเทคนิคการวิเคราะห์กลุ่มคำ (Domain Analysis) จากแหล่งข้อมูลทุติยภูมิที่เป็นกรอบจริยธรรมสากลตามที่องค์การระหว่างประเทศต่าง ๆ ได้ให้การรับรองและเผยแพร่หลักการหรือข้อกำหนดในด้านค่านิยมหลักสำหรับข้าราชการในการให้บริการสาธารณะ รวมทั้งได้รับการยอมรับในการนำไปใช้ในระดับสากลประกอบด้วย เอกสาร 5 ชิ้น คือ 1.ลักษณะสำคัญของกรอบจริยธรรมสำหรับภาครัฐ (กลุ่มสหภาพยุโรป) 2.แนวทางในการพัฒนาประมวลจริยธรรมสำหรับภาครัฐ (องค์การเพื่อความโปร่งใสระหว่างประเทศ) 3.องค์ประกอบของประมวลจริยธรรมภาครัฐที่ใช้ในการต่อต้านการทุจริตและ 4.ประมวลจริยธรรมระหว่างประเทศสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ (องค์การสหประชาชาติ) และ5.ตัวแบบประมวลจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐของคณะมนตรีแห่งยุโรป

ผลการวิจัย พบว่า

1. องค์ประกอบของมาตรฐานจริยธรรมด้านค่านิยมหลัก (Core Values) ในการให้บริการสาธารณะของข้าราชการพลเรือนตามกรอบจริยธรรมสากลขององค์การระหว่างประเทศ ประกอบด้วย 9 หลักการ ได้แก่ 1.หลักนิติธรรม (Rule of Law) 2.หลักความเที่ยงธรรม (Impartiality) 3.การยึดถือข้อเท็จจริง (Objectivity) 4.หลักความเชื่อถือไว้ใจได้และความโปร่งใส (Reliability and Transparency) 5.หลักหน้าที่ในการปกป้องดูแล (Duty of Care) 6. หลักความสุภาพและเต็มใจช่วยเหลืออย่างเคารพและให้เกียรติ (Courtesy and Willingness to help in a Respectful Manner) 7.หลักวิชาชีพนิยม (Professionalism) 8.หลักการตรวจสอบได้ (Accountability) และ 9.หลักการยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรม (Integrity)

2. ลักษณะข้าราชการพลเรือนที่พึงประสงค์ด้านมาตรฐานจริยธรรมจะต้องยึดถือค่านิยมหลัก 3 ประการที่เป็นเสมือนแกนหลักในการให้บริการสาธารณะ ประกอบด้วย 1.หลักความเป็นวิชาชีพนิยม (Professionalism) (โดยมีค่านิยมแวดล้อม จำนวน 6 ประการ ประกอบด้วย 1.หลักนิติธรรม 2.หลักความเที่ยงธรรม3.การยึดถือข้อเท็จจริง 4.หลักความเชื่อถือไว้ใจได้และความโปร่งใส 5.หลักหน้าที่ในการปกป้องดูแล และ 6.หลักความสุภาพและเต็มใจช่วยเหลืออย่างเคารพและให้เกียรติ) 2.หลักการตรวจสอบได้(Accountability) และ 3.การยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรม (Integrity)(โดยมีค่านิยมแวดล้อม จำนวน 4 ประการ ประกอบด้วย 1.การไม่ทุจริตคดโกง 2.ห้ามใช้ตำแหน่งหน้าที่ราชการไปในทางที่ผิดเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว 3.หลักความยุติธรรม และ 4.ยึดมั่นในค่านิยมและมาตรฐานพฤติกรรมที่ได้รับการยอมรับทั่วไปในสังคม รวมทั้งหลักการเชิงรัฐธรรมนูญในระบอบประชาธิปไตย)

 

Desirable Characteristics of Civil Servants in Ethical Standard

The objectives of this research are : 1)to analyze and synthesize the component of ethical standard of core values for civil servants in public service according to International Organization Ethical Framework 2) to synthesize and group relation of ethical standard of core values for civil servants in public service according to International Organization Ethical Framework for identifydesirable characteristics of  civil Servants in ethical standard.This study was conducted by using qualitative research. Regarding the documentary research, data were collected through in analysis process-namely content analysis and Domain Analysis Technic were used to analyze the secondary data from International Organization Ethical Framework documents which derived to approved ,adopted and published by them.  The comprise of  five documents : 

1. Main features of an Ethics Framework for the Public sector (EU) 2. TI Anti – Corruption Handbook – Public Sector Codes of Conduct  3. Element of Code of Conduct for Public Officials (UN) 4.International Code of Conduct for Public Official (UN) and 5.Model code of conduct for Public officials (EU). The research finding of the study are as follows.

1. The Component of ethical standard of core values for civil servants in public service according to International Organization Ethical Framework have 9 Principles: 1.Rule of Law 2.Impartiality 3.Objectivity 4.Reliability and Transparency 5.Duty of Care 6.Courtesy and Willingness to help in a Respectful Manner 7.Professionalism8. Accountabilityand 9.Integrity.

2. The Desirable Characteristics of  Civil Servants in ethical standard. They must be up holded 3 Core Values as the pillars for public service consist of 1. Professionalism (which encompasses 6 core values : 1.Rule of Law 2.Impartiality 3.Objectivity4.Duty of Care 5.Reliability and Transparency 6.Courtesy and Willingness to help in a Respectful Manner) 2. Accountability and 3.Integrity (which encompasses 4 core values are 1.Incorruptibility 2.Do not abuse of public positions for private profit  3.Justice and 4.related to standards and values generally accepted with society, and with democratic constitutional principles)

Article Details

บท
บทความ