การวิเคราะห์แนวโน้มของประชากรที่อาศัยอยู่ในอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย เพื่อรองรับการพัฒนาภายใต้การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

Main Article Content

จันจิรา วิชัย
นาวิน พรมใจสา
สุชาติ ลี้ตระกูล

บทคัดย่อ

การวิจัยในส่วนนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้ข้อมูลการเดินทางเข้าประเทศของบุคคลที่ไม่มีสัญชาติไทย ผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองเชียงแสน และข้อมูลประชากรจาก Population Reference Bureau และ United Nations Statistics Division ของ 6 ประเทศ คือ ประเทศไทย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐสหภาพเมียนมาร์ ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม สาธารณรัฐประชาชนจีน รวมถึงอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย เพื่อวิเคราะห์การเคลื่อนย้ายของประชากร คำนวณหาจำนวนประชากร อายุ 0–4 ปี อายุ 5–9 ปี อายุ 10–14 ปี และ อัตราส่วนพึ่งพิง โดยใช้วิธีการทางประชากรศาสตร์

ผลการวิจัย พบว่า

1. ประชากรไทยที่อาศัยในเขตอำเภอเชียงของ โครงสร้างอายุและเพศ เหมือนกับประชากรไทยที่อาศัยอยู่ใน จังหวัดเชียงราย แต่แตกต่างกับประชากรไทยทั่วราชอาณาจักรเนื่องจาก มีร้อยละประชากรอายุ 0–39 ปี น้อยกว่า โดยที่ร้อยละของหญิงในช่วงอายุดังกล่าวน้อยกว่าร้อยละของชาย

2. ปี พ.ศ.2557 บุคคลคนที่ไม่มีสัญชาติไทย เข้าประเทศผ่านจุดตรวจเฉพาะในพื้นที่อำเภอเชียงของโดยใช้หนังสือเดินทางเป็น บุคคลสัญชาติจีน (31,648 คน หรือร้อยละ 36) บุคคลสัญชาติลาว (23,365 คน หรือร้อยละ 26) และบุคคลสัญชาติเวียดนาม (5,034 คน หรือร้อยละ 6) ตามลำดับ ในภาพรวมบุคคลที่ไม่มีสัญชาติไทยเข้าประเทศไทยผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองเชียงแสนตลอดปี พ.ศ.2557 จำนวน 227,938 คน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ร้อยละ 31

3. ลักษณะร่วมของประเทศในภูมิภาคนี้ คือ ประชากรวัยแรงงานมีมาก

ข้อเสนอแนะ: 1) ควรมีหลักสูตรการพัฒนาทักษะเฉพาะด้าน สำหรับแรงงานเพื่อเพิ่มโอกาสในการทำงาน 2) ควรมีความร่วมมือกับสถานประกอบการต่างๆ ในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษนั้น เพื่อเป็นที่ฝึกปฏิบัติงานและเพิ่มโอกาสในการทำงานของนักศึกษาและ 3) ควรมีองค์ความรู้พื้นฐานที่จำเป็นสำหรับบุคคลที่ไม่มีสัญชาติไทยที่เดินทางเข้าประเทศไทยเป็นครั้งแรกตามจุดมุ่งหมายของการเข้าเพื่อให้การเคลื่อนย้ายของคนระหว่างประเทศเกิดขึ้นได้อย่างปลอดภัย

 

This part of the research was quantitative and used data of non-Thai country entry through ChiangSaen Immigration Checkpoint and data of population from Population Reference Bureau andUnited Nations Statistics Division. There were six interested countries including Thailand, the Lao People's Democratic Republic or Lao PDR, Republic of the Union of Myanmar, Kingdom of Cambodia, the Socialist Republic of Vietnam and People's Republic of China, and one interested district which was Chiang Khong District in Chiang Rai Province. Demographical methods were adopted for analysis of international migration; expected people aged 0–4 years, aged 5–9 years and 10–14 years; and dependency ratio.

The results were as followed:

1. Age–sex structure of population in Chiang Khong District was similar with Chiang Rai Province; but it was different from the whole country becausea percentage of people aged 0–39 years was slightly decreased and female wassmaller than male.

2. In 2014, citizens of non-Thai entering through Chiang Khong Immigration Checkpoint by passports were China (31,648or 36%), Lao PDR (23,365or 26%) and Vietnam (5,034 or 6%) respectively. Totally non-Thai entered 227,938 increased 31% from the previous period.

3. Shared population character in the region was massive labor force.

Article Details

บท
บทความ