การจัดกลไกการจัดการของสหกรณ์ เพื่อพัฒนาศักยภาพผลิตยางพารา กลุ่มภาคเหนือตอนบน 2 ของประเทศไทย

Main Article Content

คีตวุฒิ นับแสง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลไกการจัดการของสหกรณ์ และแนวทางการจัดตั้งตลาดกลางของเกษตรกรผู้ผลิตยางพารา กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 เพื่อศึกษาสภาวะแวดล้อมทางธุรกิจที่มีผลกระทบต่อความสำเร็จของการดำเนินงานของสหกรณ์ยางพารายางพารา กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 และเพื่อศึกษาแนวทางขยายการผลิตและการตลาดยางแผ่นรมควันและยางแผ่นผึ่งแห้งของชาวสวนยางพารา กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบวิเคราะห์ SWOT และการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยจะใช้วิธีการวิจัยแบบผสม โดยการสัมภาษณ์เจาะลึก จำนวนทั้งสิ้น 14 ราย ประชากรเป้าหมายสำหรับการ SWOT Analysis ได้แก่ ผู้บริหารของสถาบันเกษตรกรและผู้แทนเกษตรกร ผู้ปลูกยางพารา ผู้วิจัยเจาะจงเลือกมา จำนวนทั้งสิ้น 23 ราย และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ กลุ่มตัวอย่างประกอบไปด้วย สมาชิกสหกรณ์ชาวสวนยางพะเยา จำกัด สหกรณ์นิคมเชียงคำ จำกัด และสหกรณ์การเกษตรแม่ลาว จำกัด จำนวน 296 ราย

ผลการวิจัยพบว่า กลไกการจัดการของสหกรณ์ และแนวทางการจัดตั้งตลาดกลางของเกษตรกรผู้ผลิตยางพารา ด้านการปลูกและพัฒนาพันธุ์ยางพารานั้นจะต้องมีสภาพพื้นที่ปลูกยาง ระยะการปลูกต่อต้น ปริมาณน้ำฝนมีผลต่อการปลูกยาง พื้นที่ดินที่ปลูกต้องเหมาะสมกับยางพารา ด้านการผลิตและการแปรรูปยางพารา ต้องสร้างเครือข่ายอย่างเป็นระบบเป็นองค์กรที่เข้มแข็ง สร้างองค์ความรู้ให้แก่ชาวสมาชิก ก้าวทันเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลก ด้านการส่งเสริมการตลาดและการจำหน่ายยางพารา ต้องกำหนดราคายางให้สอดคล้องกับตลาดโลก ส่วนการจำหน่ายต้องมีสถาบันเกษตรกรเป็นผู้ขายตรงกับต่างชาติโดยตรง ด้านระเบียบ กฎหมาย และข้อบังคับของภาครัฐด้านยางพารา รัฐควรจะส่งเสริม สนับสนุนกลุ่มสหกรณ์ให้เข้มแข็งในทุกๆ และด้านการส่งเสริมการลงทุนจัดตั้งตลาดกลางอุตสาหกรรมยางพารา นั้น ควรมีการประชาสัมพันธ์เชิญชวนผู้ประกอบการ นักลงทุนและการประสานงานกับนักลงทุนขนาดใหญ่จากต่างประเทศ 

สภาวะแวดล้อมทางธุรกิจที่มีผลกระทบต่อความสำเร็จของการดำเนินงานของสหกรณ์ยางพารายางพารา กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 พบว่า ด้านจุดแข็ง ยางแผ่นไทยได้มาตรฐานระดับโลกตรงตามความต้องการของลูกค้า ด้านจุดอ่อน ต้องพึ่งพาตลาดส่งออก ค่าใช้จ่ายในการขนส่งออกยางพาราไปยังท่าเรือขนส่งระหว่างประเทศสูง ด้านโอกาส แนวโน้มการขยายตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ของจีน ทำให้มีความต้องการใช้ยางพาราเพิ่มขึ้น ประกอบกับถนน เส้นทางเชียงราย-ยูนนานสร้างแล้วเสร็จทำให้ขนส่งยางพาราไปจีนได้สะดวกขึ้น และด้านอุปสรรค ยางไทยถูกลักลอบเข้ามาเลเซีย ทำให้มีการทำผลิตภัณฑ์ยางในมาเลเซียแข่งกับประเทศไทยและจีน

ส่วนแนวทางขยายการผลิตและการตลาดยางแผ่นรมควันและยางแผ่นผึ่งแห้งของชาวสวนยางพารา กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 ควรขยายพื้นที่ให้เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากยังมีความต้องการของตลาดมากขึ้น โดยเฉพาะยางแผ่นรมควันและบรรจุหีบห่อยางเรียบร้อยแล้ว ยางจะถูกนำส่งออกไปยังผู้สั่งซื้อในต่างประเทศส่วนใหญ่ในราคา FOB. ซึ่งเป็นไปตามความเคลื่อนไหวของตลาดสำคัญ คือตลาดล่วงหน้าญี่ปุ่นและสิงคโปร์ ดังนั้นลู่ทางข้างหน้าตลาดที่น่าสนใจที่สุดคือ ญี่ปุ่น สิงค์โปร์ จีน สหรัฐอเมริกา มาเลเซียและเกาหลีใต้

 

The Cooperative Management Mechanism for  the Potential Development on Rubber Production of  the Upper Northern Provincial Groups 2 in Thailand

The purposes of this study were to investigate the cooperative management mechanism  and the guidelines for the establishment of central market of the rubber growers in the upper northern provincial groups 2, to study the business environment that affected the success of the rubber cooperative implementation in the upper northern provincial groups 2, and to study ways to expand the production and marketing of rubber smoked sheets and rubber dried sheets of the rubber farmers in the upper northern provincial groups 2. The instruments used for data collection included questionnaires, interview forms, and a SWOT analysis. This research was employed by using the qualitative technique and was conducted by using the in-depth interviews with the 14 key informants. The target populations for doing a SWOT analysis included the administrators of agricultural institutions and representatives of rubber growers who were selected by a purposive sampling technique totally 23 people. The samples used in this study were the members from Phayao farmer cooperative limited totally 296 people. The research findings were as follows:

Firstly, regarding the cooperative management mechanism and the guidelines for the establishment of central market of the rubber growers in terms of the planting and breeding development of rubber, there must be the rubber growing areas, the growing range of each rubber tree, the rainfall affecting the rubber growing, and the soil areas for growing that must be suitable for the rubber. In the aspect of the production and processing of rubber, to create the network systematically was needed in order to be the strengthening organization, to build the knowledge for the members to keep pace with Thailand’s economy and the global

economy. In the aspect of marketing promotion and distribution of the rubber, to set prices was needed to be consistent with the global markets, and the rubber distribution must have the direct sale institutions with the foreign institutions. In the aspect of the laws and regulations on the rubber, the government should promote and support the cooperative groups to strengthen in all aspects. The investment support on the establishment of central market of the rubber industry should focus on the coordination with large investors from abroad.  

Secondly, regarding the business environment that affected the success of the rubber cooperative implementation in the upper northern provincial groups 2, it was shown in the following four aspects; the strength was found that Thai rubber sheets got the world class standard and met the requirements of the customers, the weakness was revealed that there was the dependence on the export markets and the cost of transporting the rubber to the international shipping port was high, the opportunity was indicated that the growth trend of China’s automotive industry resulted in an increasing demand of the rubber and Chiangrai–Yunnan routes were constructed completely leading to make the transportation of the rubber to China to be more convenient, and the threat was shown that Thailand’s rubber was smuggled into Malaysia, so there was the rubber product making in Malaysia to compete with Thailand and China.    

Lastly, referring to the ways to expand the production and marketing of rubber smoked sheets and rubber dried sheets of the rubber farmers in the upper northern provincial groups 2, they were indicated that there should be an expansion of more areas due to the high demand of the market especially the rubber smoked sheets. Moreover, when the rubber sheets were completely packaged, they were exported to the purchasers in abroad mostly under the condition of free on board (FOB) which was in accordance with the movement of major markets or the futures markets in Japan and in Singapore. Therefore, the most attractive avenues forward markets were Japan, Singapore, China, United State of America, Malaysia, and South Korea. 

Article Details

บท
บทความ