การพัฒนาศักยภาพของชุมชนและกลุ่มทอผ้าพื้นเมืองบนฐานนิเวศวัฒนธรรมเชิงการท่องเที่ยว เขตพื้นที่บ้านหนองเขื่อนช้าง จังหวัดมหาสารคาม

Main Article Content

จรินทร์ ฟักประไพ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษานิเวศวัฒนธรรม ศักยภาพของชุมชนและกลุ่มทอผ้าบ้านหนองเขื่อนช้าง จังหวัดมหาสารคาม เพื่อนำไปสู่การส่งเสริมและพัฒนากลุ่มทอผ้าให้มีความสอดคล้องบนฐานนิเวศวัฒนธรรมเชิงการท่องเที่ยว โดยระเบียบวิธีการดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research-PAR)

การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เป็นการศึกษาด้วย (1) การศึกษาค้นคว้าด้านเอกสาร (2) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In–depth interview) กับสมาชิกกลุ่มทอผ้าบ้านหนองเขื่อนช้าง (3) ประเด็นการประชุมกลุ่ม (Focus Group Study) หรือการประชุมกลุ่มย่อย กับชาวบ้านในชุมชน

ส่วนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research-PAR) ผู้วิจัยทำหน้าที่ในการนำองค์ความรู้ด้านการจัดการแหล่งท่องเที่ยวมาบูรณาการในการวิจัย โดยมีการร่วมกันดำเนินการวิจัยกับชุมชน

ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านนิเวศวัฒนธรรม มีบริบทชุมชนที่เป็นการสืบทอดภูมิปัญญาจากบรรพบุรุษในการเลือกทำเลเพื่อตั้งชุมชน ที่มีความสมบรูณ์จากแหล่งน้ำและป่าไม้ และนำความเชื่อในการนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์มาด้วย ทำให้นิเวศวัฒนธรรมของชุมชน ประกอบด้วย แหล่งน้ำ ป่าชุมชน ป่าดงปู่ตา ประเพณี 12 เดือน ประเพณีการเลี้ยงปู่ตา ภูมิปัญญาท้องถิ่น และภูมิปัญญาหัตถกรรมทอผ้า เป็นต้น 2) ด้านศักยภาพและสถานการณ์การท่องเที่ยวของศูนย์หัตถกรรมทอผ้าบ้านหนองเขื่อนช้าง ในฐานะแหล่งท่องเที่ยว และศักยภาพของชุมชนต่อการมีส่วนร่วมด้านการจัดการแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ จากการศึกษาพบประเด็นปัญหา คือ 2.1 ผลิตภัณฑ์ผ้าทอพื้นเมือง เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพดี แต่มีข้อจำกัด คือ ต้นทุนสูง และปัญหาด้านการตลาด 2.2 ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน ที่มีกลุ่มดูงานและกลุ่มทัศนศึกษาเข้าเยี่ยมชมตลอดปี แต่มีข้อจำกัดด้านสถานที่ที่มีพื้นที่เล็ก 2.3 ศูนย์จำหน่ายสินค้าพื้นเมือง ด้วยคุณภาพของสินค้า จึงมีการสนับสนุนสินค้าพื้นเมืองเพิ่มขึ้นทุกปี ข้อจำกัดจะเป็นด้านสถานที่ และการแข่งขันด้านการตลาดมีสูง 2.4 ทรัพยากรท้องถิ่น มีป่าชุมชนและป่าดงปู่ตา ได้รับการอนุรักษ์ให้อยู่กับชุมชนโดยไม่มีการทำลาย แต่กลับเป็นข้อจำกัดทำให้การพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวมีความยากขึ้นด้วย

 

The Development of Potentials of Communities and Local Weaving Groups on The Cultural Ecotourism Management at the Area of Nongkhuanchang Village, Mahasarakham Province

Objectives of this research are sought to study about culture ecology, potentials of communities and local weaving groups at the area of Nongkhuanchang Village, Mahasarakham Province to support and develop the weaving groups to sustainable base on the cultural ecotourism which research methods are Qualitative Research and Participatory Action Research (PAR).

The Qualitative Research includes (1) a study on local acknowledge document (2) In – depth interview with the Local Weaving Groups’ members (3) Focus Group Study to communities’ members. For the Participatory Action Research, the communities’ members are the partner in the study under being given a Tourism Destination Management Acknowledge by the researcher and having a participation in research mythology.

The research’s results reveal that 1) the context of situation in Nongkhuanchang Village is under antecessor’s wisdoms not only choosing a rich area from water body and forest for settle down but also the belief of antecessor in the holy thing and faith, so Nongkhuanchang Village’s cultural ecology consists by the water body, the forest of community, the forest of antecessors, community’s traditions, local wisdom and local wisdom.

2) The tourism situation and the potentials of the handicraft weaving centre of Nongkhuanchang Village as a tourism destinations and the potentials of Nongkhuanchang community to having a participation in arranging tourism destinations at the area are 2.1 local weaving products are high quality , but the cost is high and having marketing problem 2.2 the Local Learning Centre is visited by excursionists through the year, but the place is rather small 2.3 local souvenirs shop locate in community with high quality products while popularity in local products is higher, but having a location problem and high market competitions 2.4 a very important local resources are the forest of community and the forest of antecessors, so them are conserved by local people, this cause of undevelopment the places to be a tourism destination too.

Article Details

บท
บทความ