การจัดหาพื้นที่ทางการเกษตรและที่อยู่อาศัยตามมิติทางกฎหมายของ ผู้ด้อยโอกาสบนพื้นที่สูง จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

ทศพร มูลรัตน์
สุรพี โพธิสาราช
เยาวลักษณ์ พุ่มวิเชียร

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้ มุ่งศึกษาถึงปัญหาการจัดหาพื้นที่ทางการเกษตรและที่อยู่อาศัย ระเบียบและขั้นตอนทางกฎหมายในการได้มาซึ่งที่ดินเพื่อการเกษตรและที่อยู่อาศัยที่มีผลกระทบต่อการจัดหาพื้นที่ทางการเกษตรและที่อยู่อาศัย แนวทางพัฒนากฎหมายในการจัดหาพื้นที่การเกษตรและที่อยู่อาศัยให้แก่ผู้ด้อยโอกาสบนพื้นที่สูงจังหวัดเชียงราย โดยมีขอบเขตพื้นที่ศึกษา คือ อำเภอเชียงแสน อำเภอเชียงของและอำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงรายใช้วิธีการศึกษาจากการค้นคว้าทางเอกสารการลงสำรวจบริบททั่วไปของพื้นที่ศึกษาและหน่วยงานต่างๆ ที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องกับการออกเอกสารสิทธิในที่ดินแต่ละประเภทในพื้นที่จังหวัดเชียงราย

จากการศึกษาพบว่าผู้ด้อยโอกาสบนพื้นที่สูงส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ในขั้นตอนทางกฎหมายถึงวิธีการได้มาซึ่งที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมและเพื่อการอยู่อาศัยตามเอกสารสิทธิที่ดินแต่ละประเภท ไม่มีเอกสารสิทธิในที่ดินซึ่งเป็นสาเหตุที่นำไปสู่ปัญหาการบุกรุกพื้นที่ป่า ทำให้เกิดความไม่มั่นคงในเรื่องการครอบครองที่ดิน ทำให้ผู้ครอบครองไม่เอาใจใส่ที่จะลงทุนพัฒนาที่ดินและเกิดความห่วงแหนที่ดินทำกิน ประกอบกับพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ภูเขามีความลาดชันและไม่มีระบบชลประทาน การปลูกพืชไร่เชิงเดี่ยวจึงเป็นที่นิยมมากที่สุดโดยเฉพาะข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จึงนำไปสู่การเสื่อมโทรมของดินและผลผลิตต่ำลงเป็นเหตุให้เกษตรกรต้องการขยายพื้นที่เพิ่มขึ้นนำไปสู่ปัญหาการบุกรุกพื้นที่ป่า

ด้านกฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดหาที่ดินทางการเกษตรและที่อยู่อาศัยที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันมีหลายฉบับ แต่ละฉบับได้บัญญัติหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรที่ดินแตกต่างกัน มีหน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบในการดำเนินการจัดสรรที่ดินหลายหน่วยงาน แต่ละหน่วยงานต่างดำเนินการจัดสรรที่ดินตามอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติแตกต่างกันไป ไม่เป็นมาตรฐานเดียวกันและสิทธิในที่ดินที่ประชาชนได้รับการจัดสรรตามกฎหมายแต่ละฉบับก็แตกต่างกันไม่เป็นระบบเดียวกัน และไม่มีความเท่าเทียมกัน

 

Agricultural and residential land allocation in legal dimension of the high land underprivileged people in Chiangrai.

This research aimed to study the issue on agricultural and residential land allocation of high land underprivileged people in Chiangrai including the regulations and legal procedure involved. The research scope was in the area of Chiang-saen, Chiang-kong and Wiang-gaen District, Chiangrai Province.This research was done by documentary study and area survey in Chiang-saen, Chiang-kong and Wiang-gaen District to explore the general context of the research area including the state organization responsible of issuing certificate of ownership in Chiangrai.

The research found highland underprivileged people to be lack of knowledge concerning legal procedure to obtain land for agricultural and residential purposes. They were not in possession of title deeds required as ownership certificate of the land. This issue led to the encroachment of the forest, making the ownership of the land unsustainable. Therefore, the occupier did not invest in land development or cherished their properties because of such reason. Also, geographical nature of the mountain was steep, no water conservancy available. So, the monoculture was the most popular, especially growing corn. Monoculture degraded the soil, and when done continuously, the harvestable products reduce. The issue causes the cropper to expand cultivation area which overlaps and encroaching the forest.

In part of law regarding land allocation, there’re various laws concerning such matter, each one lay down different rules and allocation method. There’re many state office responsible of land allocation which separately authorized by government with different standards. Each law governing those authorities was different in both rights and system, supposedly unequal.

Article Details

บท
บทความ