การสื่อสารการตลาดเชิงวัฒนธรรมเพื่อการอนุรักษ์ความหลากหลายทางศิลปวัฒนธรรมตลาดน้ำคลองแดน: ตลาดน้ำสามคลองสองเมืองของจังหวัดสงขลาและจังหวัดนครศรีธรรมราช

Authors

  • ณัฐวุฒิ สุวรรณทิพย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์สาขาวิชาการตลาดคณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
  • ดร.ทัศนาวดี แก้วสนิท อาจารย์สาขาวิชานิเทศศาสตร์คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
  • กรกฎ จำเนียร อาจารย์สาขาวิชานิเทศศาสตร์คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

Keywords:

การสื่อสารการตลาดการสื่อสารเชิงวัฒนธรรมการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมตลาดน้ำ, Marketing Communication, Cultural Communication, Art and Culture Conservation and Floating Market

Abstract

งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์คือ1) เพื่อศึกษาศิลปวัฒนธรรมที่ปรากฏในชุมชนตลาดน้ำคลองแดนและ2)เพื่อสำรวจรูปแบบและเนื้อหาการสื่อสารการตลาดเชิงวัฒนธรรมเพื่อการอนุรักษ์ความหลากหลายทางศิลปวัฒนธรรมโดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพทั้งการสนทนากลุ่มผู้ให้ข้อมูล3กลุ่มได้แก่กลุ่มผู้นำกลุ่มชาวบ้านและกลุ่มเยาวชนการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับตลาดน้ำคลองแดนและการสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม ด้านรูปแบบและเนื้อหาการสื่อสารการตลาดเชิงวัฒนธรรมในตลาดน้ำคลองแดนผลการวิจัยพบว่าการก่อตั้งคลองแดนตามหลักฐานมีมาตั้งแต่ปี2406 โดยมีการสัญจรทางน้ำเป็นหลักจากนั้นการคมนาคมทางบกมีบทบาทมากขึ้นทำให้ตลาดน้ำคลองแดนลดความนิยมลงต่อมาปี2552มีการรวมตัวของชุมชนฟื้นฟูตลาดน้ำคลองแดนโดยยึดแนวคิดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และเชิงวัฒนธรรมมาเป็นแนวทางดำเนินการโดยการสำรวจรูปแบบและเนื้อหาการสื่อสารการตลาดเชิงวัฒนธรรมของตลาดน้ำคลองแดนซึ่งพบว่ามีความหลากหลายทั้งสื่อสังคมออนไลน์สื่อบุคคลสื่อสิ่งพิมพ์สื่อโทรทัศน์สื่อดนตรีของที่ระลึกฯลฯโดยเนื้อหาที่ใช้ในการสื่อสารการตลาดเชิงวัฒนธรรมคือการเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรมตามแนววิถีพุทธการเน้นสื่อสารวัฒนธรรมบรรยากาศที่ดีน่าเที่ยวความสะอาดและการใช้ภาชนะจากธรรมชาติในการค้าขายสินค้าภายในตลาดน้ำคลองแดน

 

This research aims to 1) study art and culture in Khlong Dan Floating Market and 2) survey pattern and content of cultural marketing communication for conserving the diversity of art and culture. The researcher selected qualitative methodology; focus group of three informants groups; leader people group, villagers group and adolescents group, relating documents study about Khlong Dan Floating Market and non participatory observation about cultural marketing communication in this market. The result is that Khlong Dan Floating Market has the origin evidence from 1863, there was water transportation as the principle and after that, there was development of transportation by land. Khlong Dan Floating Martket is less popular. In 2009, the community people accumulated altogether for operating conservative and cultural tourism. The result of survey of pattern and content in cultural marketing communication, it found that there is a variety of media; social media, personal media, printed media, television, music, souvernir, etc. The content for communicating in cultural marketing is the place for travelling conservatively, culturally according to Buddhist way tourism, cultural communication, good environment, cleanness and using natural product in Khlong Dan Floating Market.

Downloads

Published

2018-03-20

How to Cite

สุวรรณทิพย์ ณ., แก้วสนิท ด., & จำเนียร ก. (2018). การสื่อสารการตลาดเชิงวัฒนธรรมเพื่อการอนุรักษ์ความหลากหลายทางศิลปวัฒนธรรมตลาดน้ำคลองแดน: ตลาดน้ำสามคลองสองเมืองของจังหวัดสงขลาและจังหวัดนครศรีธรรมราช. Modern Management Journal, 15(2), 77–90. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/stou-sms-pr/article/view/116130

Issue

Section

Research Articles