การศึกษาความเป็นไปได้ของแนวทางการดำเนินการในรูปแบบพึ่งตนเองของสานักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

Authors

  • อัจฉรา ชีวะตระกูลกิจ รองศาสตราจารย์ประจาสาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • สุรีย์ เข็มทอง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจาสาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • ศรีธนา บุญญเศรษฐ์ รองศาสตราจารย์ประจาสาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

Keywords:

ระบบบริหารจัดการ, สำนักพิมพ์, หน่วยธุรกิจกลยุทธ์, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, Management system, Printing units, Strategic business unit, Sukhothai Thammathirat Open University

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพการดาเนินงานและผลการดาเนินงานของสานักพิมพ์ในปัจจุบัน (2) เปรียบเทียบระบบการบริหารงานของสำนักพิมพ์กับหน่วยงานต้นแบบภายนอก และ (3) ศึกษาความเป็นไปได้ของแนวทางการดำเนินการในรูปแบบพึ่งตนเองของสานักพิมพ์

การดำเนินการวิจัยประกอบด้วยวิธีการศึกษา 5 ขั้นตอน คือ (1) การศึกษาข้อมูลสภาพปัจจุบันและการวิเคราะห์SWOT ของหน่วยงานที่ทำการศึกษา (2) การศึกษาการดำเนินงานของหน่วยงานต้นแบบ (3) การศึกษาความคิดเห็นจากลูกค้าและคู่แข่ง (4) การกำหนดทางเลือกของหน่วยธุรกิจกลยุทธ์เป็น 3 แนวทางคือ (4.1) การบริหารงานในรูปแบบพึ่งตนเองเป็น 1 หน่วยงานคือ หน่วยงานสำนักพิมพ์เดียว โดยงานทุกภารกิจรวมอยู่กับสำนักพิมพ์ทั้งหมด (4.2) การบริหารงานในรูปแบบพึ่งตนเองเป็น 2 หน่วยงาน โดยการแยกหน่วยงานในสำนักพิมพ์ปัจจุบันออกเป็นหน่วยงานสำนักพิมพ์ และศูนย์หนังสือและสื่อทางไกล (4.3) การบริหารงานในรูปแบบพึ่งตนเองเป็น 3 หน่วยงาน คือ การแยกหน่วยงานในสำนักพิมพ์ปัจจุบันออกเป็นหน่วยงาน สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์ และศูนย์หนังสือและสื่อทางไกล และ(5)การศึกษาความเป็นไปได้ของแต่ละแนวทาง การเก็บรวบรวมข้อมูลในครั้งนี้ใช้วิธีการผสมผสาน คือ การศึกษาข้อมูลต่างๆจากเอกสาร สัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้บริหาร หัวหน้างาน และผู้ปฏิบัติงาน การดูงาน การสังเกต การประชุมกลุ่มการอภิปรายและสัมมนากับผู้บริหารและผู้มีส่วนได้เสีย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ

ผลการศึกษาพบว่า (1) สภาพปัจจุบันของสำนักพิมพ์และศูนย์ฝึกอบรมเทคโนโลยีการพิมพ์แห่งชาติ ยังคงเป็นหน่วยงานราชการที่ต้องดำเนินงานภายใต้กฎระเบียบของทางราชการอย่างเต็มรูปแบบ (2) เมื่อเปรียบเทียบหน่วยงานต้นแบบ จะพบว่า สำนักพิมพ์ และศูนย์ฝึกอบรมเทคโนโลยีการพิมพ์แห่งชาติ ขาดความคล่องตัวในการบริหารงาน ไม่ว่าจะเป็นการบริหารจัดการ การบริหารการตลาด การบริหารทรัพยากรมนุษย์ การบัญชีและการเงิน และระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ เพราะติดขัดกับระเบียบกฎเกณฑ์ที่เคร่งครัดของระบบราชการ (3) เมื่อวิเคราะห์ข้อดีและข้อเสียของแต่ละแนวทางร่วมกับการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติซึ่งต้องสอดคล้องกับปรัชญาและนโยบายของมหาวิทยาลัยแล้วพบว่าแนวทางที่ แยกหน่วยงานในสำนักพิมพ์ปัจจุบันออกเป็นหน่วยงานสำนักพิมพ์ และศูนย์หนังสือและสื่อทางไกล(แนวทางที่ 2) เป็นแนวทางที่มีความเป็นไปได้สูงในการนำมาใช้ เนื่องจากทั้ง 2 หน่วยงานจะมีความคล่องตัวในการบริหารงานและมีประสิทธิภาพมากขึ้นซึ่งจะเป็นผลดีต่อมหาวิทยาลัยในระยะยาว (4) สานักพิมพ์ใหม่ ควรมีระบบการบริหารงานแบบครบวงจร เป็นของสำนักพิมพ์เอง โครงสร้างการบริหารงานของสำนักพิมพ์ใหม่ควรมีคณะกรรมการอำนวยการสำนักพิมพ์เป็นผู้กำกับดูแลและบริหารกองทุนพัฒนาสำนักพิมพ์ ส่วนโครงสร้างองค์การของศูนย์หนังสือและสื่อทางไกล ควรมีคณะกรรมการอำนวยการศูนย์หนังสือและสื่อทางไกลเป็นผู้มากำกับดูแล และมีผู้จัดการศูนย์หนังสือและสื่อทางไกล เป็นผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงาน (5) สำหรับแนวทางการปรับการบริหารงานจากรูปแบบเดิมไปสู่การบริหารงานรูปแบบหน่วยธุรกิจกลยุทธ์นั้น มหาวิทยาลัยควรออกนโยบายเกี่ยวกับข้อบังคับและระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อรองรับการจัดตั้งสำนักพิมพ์ใหม่ และศูนย์หนังสือและสื่อทางไกลดังกล่าว เพื่อให้เป็นหน่วยงานที่สามารถพึ่งตนเองได้อย่างแท้จริง

คำสำคัญ: ระบบบริหารจัดการ สำนักพิมพ์ หน่วยธุรกิจกลยุทธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

 

ABSTRACT

The purposes of this study were: (1) to study the current situation of STOU printing units including implementation and the performance outcome; (2) to compare the management systems between units of STOU printing and original printing practices including public and private firms; and (3) to analyse the feasibility approach of STOU printing units operations in terms of the independent management.

The research process consisted of five stages including: (1) to study the current situation and analyze the SWOT of STOU printing units; (2) to study the operations and performance outcomes of original practices units; (3) to study customers’ and competitors’ opinions towards STOU printing services; and (4) to determine the three choices of independent management systems as a strategic business unit including (4.1) the first choice was to integrate three units of printing, book publishing,book centre and printing technology training center as a one business unit. (4.2) The second choice was divided into two business units consisting of 1) the integrated units of printing, book publishing, and printing technology training center and 2) the book and distance media materials centre. (4.3) The third choice of printing management systems were still composed of three business units consisting of the printing, publisher, and the book and distance media materials centre. (5) The final stage of research process was to study the feasibility of each approach of three choices as mentioned above. Data collection methods used in this study were the integration of reviewing literature, related documents and interviewing related people, group discussion of original practices’ leaders, field studies, observation, informal meeting, and seminars and discussions with top management of STOU. Both quantitative and qualitative statistical methodologies were used to analyse the data.

The results showed that (1) the current situation of STOU printing units management especially the implementation and the performance outcomes were operating under rules of bureaucracy government. (2) When comparing the management systems between STOU printing and original printing practices including public and private firms, it was found that there were barriers and no flexibility interms of the human resource, accounting and finance, marketing and information management systems because of the bureaucracy rules. (3) When analyzing the advantages and disadvantages of each approach together with the possibility in practice including the philosophy and policies of the university, it was found that the second approach, having two business units, would be beneficial to the STOU in the long run especially the flexibility to manage and to increase efficiency. (4) The new printing business unit should be managed by the independent management systems, having a Board of Directors to control the funding of its business units. For the business unit of the book and distance media materials centre should be established as a small store and managed by a good expertise in terms of chain management. In addition, the organizational structure of the book and distance media materials center should be regulated by the board of directors of the book and media materials center. (5) In terms of guidelines for changing to the new printing management system as a strategy business unit, the STOU’s top management should announce the policies towards the establishment of a new printing business house and the book and media business center in order to be a truly independent management business unit.

Keywords: Management system, Printing units, Strategic business unit, Sukhothai Thammathirat Open University

Downloads

How to Cite

ชีวะตระกูลกิจ อ., เข็มทอง ส., & บุญญเศรษฐ์ ศ. (2013). การศึกษาความเป็นไปได้ของแนวทางการดำเนินการในรูปแบบพึ่งตนเองของสานักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. Modern Management Journal, 11(1), 23–32. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/stou-sms-pr/article/view/11780