การจัดการเรียนการสอนของมสธ.สำหรับผู้ต้องขังในเรือนจำและทัณฑสถาน

Authors

  • บุญเสริม หุตะแพทย์

Keywords:

ผู้ต้องขัง, การจัดการเรียนการสอน, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (ม.ส.ธ.), Inmate, Educational program, Sukhothai Thammathrat Open University (STOU)

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง การจัดการเรียนการสอนของ มสธ. สาหรับผู้ต้องขังในเรือนจำและทัณฑสถานมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพการจัดการเรียนการสอนทางไกลของ มสธ. ที่จัดให้แก่ผู้ต้องขังในเรือนจำและทัณฑสถาน (2) ความคิดเห็นของผู้ต้องขังในเรือนจำและทัณฑสถานต่อการเรียนการสอนในระบบทางไกลของ มสธ. (3) จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และข้อจำกัดของการจัดการเรียนการสอนทางไกลที่ มสธ. จัดให้แก่ผู้ต้องขังในเรือนจำและทัณฑสถาน และ (4) แนวทางการจัดการเรียนการสอนในระบบการศึกษาทางไกลของ มสธ. ที่เหมาะสมแก่ผู้ต้องขังในเรือนจำและทัณฑสถาน

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยที่ใช้ทั้งระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงปริมาณเป็นนักศึกษาที่เป็นผู้ต้องขังที่ศีกษาในระดับปริญญาตรีในสาขาวิชาต่างๆ จำนวน 400 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา โดยหาค่าเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน แปลความหมายของค่าเฉลี่ยโดยใช้มาตรวัดแบบลิเกิร์ต ผู้ให้ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพมี 3 กลุ่ม คือ กลุ่มแรกเป็นนักศึกษาที่เป็นผู้ต้องขัง จำนวน 25 คนรวบรวมข้อมูลโดยการสนทนากลุ่ม กลุ่มที่สองคือผู้บริหารของ มสธ. และกรมราชทัณฑ์ จานวน 5 คน และผู้ปฏิบัติงานจากเรือนจำหรือทัณฑสถาน จำนวน 18 คน รวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ และกลุ่มที่สามคือเพื่อนของผู้ต้องขัง จำนวน 10 คนรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยแยกแยะประเด็นและจัดกลุ่มเนื้อหาตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย

ผลการวิจัย ปรากฏดังนี้ (1) มสธ. มีนโยบายการขยายโอกาสทางการศึกษาแก่ประชาชนทุกกลุ่ม รวมถึงผู้ต้องขังด้วย ซึ่งมีความสอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาศักยภาพผู้ต้องขังของกรมราชทัณฑ์ โดยได้รับความร่วมมือในการจัดการเรียนการสอนด้วยดีมาอย่างต่อเนื่อง (2) โดยรวม นักศึกษามีความเห็นว่า การจัดการเรียนของ มสธ. มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 3 ด้าน คือ ด้านการบริการการศึกษา การบริหารหลักสูตร และการวัดและประเมินผล (3) สาหรับจุดแข็งของการจัดการเรียนการสอนที่จัดให้แก่ผู้ต้องขัง ได้แก่ การบริการการศึกษามีมาตรฐานเดียวกับนักศึกษาโดยทั่วไป มีเอกสารการสอนเป็นสื่อหลักที่มีเนื้อหาครบถ้วนสมบูรณ์ และมีสื่อเสริมที่เหมาะสม ให้นักศึกษาสามารถเข้าถึงได้เช่นเดียวกับนักศึกษาอื่นๆ รวมทั้งอำนวยความสะดวกในการจัดสอบในเรือนจำและทัณฑสถานทั่วประเทศ และมีการวัดและประเมินผลการศึกษาที่เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษา อย่างไรก็ตาม ยังมีจุดอ่อนบางประการ ได้แก่ การส่งเอกสารการสอนและผลสอบล่าช้า มีข้อจำกัดในการลงทะเบียน และการจัดสอนเสริม รวมทั้งขาดอุปกรณ์สาหรับใช้กับสื่อและมีข้อจำกัดในการเข้าถึงสื่ออิเล็กทรอนิกส์ การใช้สื่อทางวิทยุและโทรทัศน์ในเรือนจำบางแห่งยังไม่สะดวก มีข้อจำกัดในการจัดฝึกปฏิบัติบางชุดวิชานอกจากนี้ยังมีความเห็นว่าเนื้อหาชุดวิชาไม่ทันสมัย เมื่อวิเคราะห์โอกาส พบว่า มีภาพลักษณ์ที่ดีของการเปิดโอกาสทางการศึกษา แต่ยังมีข้อจำกัดในด้านความสามารถในการแข่งขัน การสร้างสิ่งจูงใจให้นักศึกษาสนใจเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น และการสนับสนุนการจัดทรัพยากรการศึกษา (4) สาหรับแนวทางที่เหมาะสมในการจัดการเรียนการสอนในระบบการศึกษาทางไกลของมสธ. ในเชิงนโยบาย มสธ. ควรมีนโยบายในการรักษาความร่วมมือกับกรมราชทัณฑ์อย่างต่อเนื่อง ด้วยการรักษาจุดแข็งและลดจุดอ่อน ตลอดจนสร้างโอกาสในการแข่งขันให้มากขึ้น และควรจัดบริการสังคมและพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านคุณธรรมจริยธรรรมที่เป็นรูปธรรม ในเชิงปฏิบัติการ ควรปรับปรุงระบบบริการการศึกษาในด้านต่าง ๆ ได้แก่ การจัดปฐมนิเทศ การจัดสอนเสริม การจัดเอกสารการสอนไว้ที่มุม มสธ. รวมทั้งควรปรับปรุงเอกสารการสอนให้ทันสมัย และปรับปรุงการแจ้งข้อมูลข่าวสาร ใช้สื่อออฟไลน์ (off-line media) แทนสื่อออนไลน์ (on-line media) จัดสื่อการศึกษาและสนับสนุนอุปกรณ์เครื่องมือให้ใช้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ ควรมีการวิจัยเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษาและระดับที่สูงขึ้น และพัฒนาสื่อเสริม ให้เหมาะสมสำหรับนักศึกษาที่ด้อยโอกาส

คำสำคัญ : ผู้ต้องขัง การจัดการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (ม.ส.ธ.)

 

ABSTRACT

The research entitled the Educational Programs of Sukhothai Thammathirat Open University(STOU) for Inmates in Prisons and Penitentiaries has the following objectives : (1) to study STOU distance education programs provided for inmates in prisons and penitentiaries, (2) to study opinions of inmates in prisons and penitentiaries towards STOU distance education programs, (3) to study strengths, weaknesses, opportunities and limitations/threats of STOU distance education programs provided forinmates in prisons and penitentiaries, and (4) to study appropriate approach for STOU to provide distance education programs for inmates in prisons and penitentiaries.

This research employed both the quantitative and qualitative research methodologies. The research sample for the quantitative research consisted of 400 inmates who were bachelor’s degree students in various STOU programs. The research data were collected with the use of a questionnaire, and analysed with descriptive statistics including the mean, and standard deviation. The means were interpreted based on the Likert scale. Key informants in the qualitative research methodology comprised three groups. The first group consisted of 25 STOU students who were inmates in prisons and penitentiaries. Research data were collected from them via focus group discussion. The second group consisted of five executives of STOU and the Department of Corrections (DOC), and 18 personnel of prisons and penitentiaries, who provided research data via interviews. The third group consisted of 10friends of inmate students, who were also interviewed to obtain research data. Qualitative research data were analysed by content analysis of issues and contents classified and grouped according to research objectives.

It is found from the study that: (1) STOU has the policy to extend educational opportunity to all groups of people including people who are inmates in prisons and penitentiaries. This policy is in line with the DOC policy to develop potentials of inmates in prisons and penitentiaries, DOC has always cooperated well and continuously with STOU in provisioning educational programs to inmates. (2) As a whole, students consider that STOU distance education programs are appropriate at a high level on 3aspects, namely, educational services, program management, and measurement and evaluation. (3) The strengths of STOU educational programs for inmates are as following: the educational services for inmate students being of the same standards as those provided for STOU students in general; the availability of main instructional materials with complete contents and appropriate supplementary media that are conveniently accessible by inmate students; the convenient facilitation of testing service in prisons and penitentiaries throughout the country; and the provision of measurement and evaluation of learning outcomes that meets educational standards; however, some weaknesses still exist, namely, the delays in sending instructional materials and evaluation results to students; some limitations in registration, and provision of tutorial service; the lack of equipment to be used with instructional media; some limitations in the access to electronic media; the inconvenience of utilizing instructional media via radio and television in some prisons; the limitations in organizing practice sessions in some courses; and the contents of some courses being out-of-date. Analysis of the opportunities reveals that STOU has a well-accepted image in providing educational opportunities to all people. On the other hand, there are limitations in STOU’s competitive ability, the provision of motivation to encourage students to further their education at higher levels, and the supports for provision of educational resources. (4) As for the appropriate approach for STOU to provide distance education programs for inmates in prisons and penitentiaries, the following recommendations are provided: In terms of policy, STOU should have the policy to promote continuous cooperation with DOC in order to maintain its strengths, to reduce its weaknesses, and to improve its competitive opportunities. Meanwhile, it should organize social services and activities to improve learners’ quality in terms of morality and ethics. In terms of practice, STOU should improve many aspects of its educational service system, namely, the provision of orientations, provision of supplementary tutorials, provision of instructional materials at STOU corners, the up-to-date improvement of instructional materials, the improvement of delivery and communication system with students, the use of off-line media in place of on-line media, and the provision of appropriate educational media and supporting equipment. Furthermore, research studies should be conducted on the possibility for providing graduate education programs for inmates, and for development of supplementary media appropriate for other disadvantaged groups of students.

Keywords: Inmate, Educational program, Sukhothai Thammathrat Open University (STOU)

Downloads

How to Cite

หุตะแพทย์ บ. (2013). การจัดการเรียนการสอนของมสธ.สำหรับผู้ต้องขังในเรือนจำและทัณฑสถาน. Modern Management Journal, 11(1), 33–47. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/stou-sms-pr/article/view/11797