คุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการในกลุ่มเรือนจำเขต 7

Authors

  • สาธิต ปานอ่อน มหาบัณฑิตหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • ปภาวดี มนตรีวัต รองศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชาวิทยาการจัดการ แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • จีระ ประทีป รองศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชาวิทยาการจัดการ แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

Keywords:

คุณภาพชีวิตการทำงาน, ข้าราชการ, กลุ่มเรือนจำเขต 7, Quality of Work Life, Officials, Prisons zone 7

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการในกลุ่มเรือนจำเขต 7(2) เปรียบเทียบคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการเรือนจำแต่ละแห่งในกลุ่มเรือนจำเขต 7 (3) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการในกลุ่มเรือนจำเขต 7 (4) ศึกษาแนวทางพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการในกลุ่มเรือนจำเขต 7

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือข้าราชการในกลุ่มเรือนจำเขต 7 จำนวน 8 แห่งรวมทั้งสิ้น 230 คนจากประชากร 538 คน สุ่มตัวอย่างตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ความแตกต่างด้วยวิธีนัยสำคัญต่ำสุด

ผลการวิจัยพบว่า (1) คุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการในกลุ่มเรือนจำเขต 7 อยู่ในระดับมาก (2) การเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการในกลุ่มเรือนจำเขต 7 พบว่าคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการในเรือนจำทั้ง 8 แห่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 โดยข้าราชการเรือนจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์มีคุณภาพชีวิตการทำงานสูงที่สุด (3) ปัจจัยทุกตัวได้แก่ ความหลากหลายของงาน ความเป็นหนึ่งเดียวกับงาน ความสำคัญของงาน ความมีอิสระในการทำงาน การมีโอกาสรับรู้ผลการปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับที่สูงมากกับคุณภาพชีวิตการทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์สูงที่สุด ได้แก่ ความมีอิสระในการทำงาน (4) แนวทางพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการในกลุ่มเรือนจำเขต 7 ได้แก่ ควรมีการสับเปลี่ยนหมุนเวียนงานเพื่อให้บุคลากรเกิดความรู้หลากหลายและมิให้เกิดความเบื่อหน่ายในการปฏิบัติหน้าที่ ควรเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างบุคลากรในการปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายให้เกิดประโยชน์สูงสุด ผู้บังคับบัญชาควรให้อำนาจในการตัดสินใจหรือแก้ไขปัญหาในระดับต้นเพื่อให้งานสามารถดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่องไม่ติดขัดและควรจัดระบบการประเมินผลงานอย่างเป็นธรรมและเสมอภาค นอกจากนั้น ควรสร้างภาพลักษณ์ให้สังคมเห็นความสำคัญของหน่วยงานและมีทัศนคติที่ดีต่อหน่วยงาน ซึ่งจะทำให้เจ้าหน้าที่มีความภาคภูมิใจในงานของตน

คำสำคัญ : คุณภาพชีวิตการทำงาน ข้าราชการ กลุ่มเรือนจำเขต 7

 

ABSTRACT

The purposes of this research were to (1) study quality of work life of officials in prisons zone 7(2) compare quality of work life of officials in prisons zone 7 (3) study factors related to quality of work life of officials in prisons zone 7 (4) study appropriate approaches to improve quality of work life of officials in prisons zone 7.

Samples were 230 officials in 8 prisons of zone 7, obtained from population of 538. Proportional sampling method was applied. Instrument used was questionnaire. Statistical tools employed were frequency, percentage, mean, standard deviation, One-way Analysis of Variance, Pearson’s product moment correlation coefficient analysis, and least significant difference analysis.

Research results revealed that (1) quality of work life of officials in prisons zone 7 was at high level (2) when compared quality of work life of officials in prisons zone 7, differences were found among quality of work life of officials in all 8 prisons with 0.05 level of statistically significance, with the highest quality of work life at Prachuapkhirikhan prison (3) all factors which were skill varieties, task identity, task significance, autonomy and feedback, were positively related to quality of work life of officials in high level, with .01 level of statistically significance, the highest related factor was autonomy(4) appropriate approaches to improve quality of work life of officials in prisons zone 7 were: job rotation should be provided so to increase the officials opportunities to gain more knowledge and understanding in other jobs and to reduce their boredom, collaboration among officials should be fostered so that they could accomplish assigned tasks at highest benefits, officials should be empowered in order to have basic decisions made while problems solved without delay, performance appraisals should be fair and just, moreover, positive public image should be built, the results of which would be recognition and acceptance from the community which would lead to the officials’ pride in their career.

Keywords: Quality of Work Life, Officials, Prisons zone 7

Downloads

How to Cite

ปานอ่อน ส., มนตรีวัต ป., & ประทีป จ. (2013). คุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการในกลุ่มเรือนจำเขต 7. Modern Management Journal, 11(1), 95–106. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/stou-sms-pr/article/view/11804