ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารกับธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดบุรีรัมย์
Keywords:
ภาวะผู้นำ, ผู้บริหาร, ธรรมาภิบาล, องค์การบริหารส่วนตำบล, จังหวัดบุรีรัมย์, Leadership, Executives, Good Governance, Sub-district Administration Organization, Buriram ProvinceAbstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์คือ (1) เพื่อศึกษาธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบล ในจังหวัดบุรีรัมย์ (2) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดบุรีรัมย์ (3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารกับธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดบุรีรัมย์
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้บริหารฝ่ายการเมือง พนักงานส่วนตำบลสายงานบริหาร และพนักงานส่วนตำบลสายงานปฏิบัติขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 3,100 คน โดยใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 355 คนตามสูตรการคำนวณทาโร ยามาเน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า (1) องค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดบุรีรัมย์ นำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (2) ภาวะผู้นำของผู้บริหารขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดบุรีรัมย์ อยู่ในระดับปานกลางทุกแบบ ไม่ว่าภาวะผู้นำแบบบงการ แบบให้การสนับสนุน แบบให้มีส่วนร่วม และแบบมุ่งความสำเร็จ (3) ภาวะผู้นำของผู้บริหารขององค์การบริหารส่วนตำบลมีความสัมพันธ์กับธรรมาภิบาลในระดับต่ำ
คำสำคัญ : ภาวะผู้นำ ผู้บริหาร ธรรมาภิบาล องค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดบุรีรัมย์
ABSTRACT
The purposes of this research were: (1) to study of good governance principles of sub-district administration organization in Buriram Province, (2) to study of executives leadership of sub-district administration organization in Buriram Province, and (3) to analyze the relationship between executives leadership and good governance of sub-district administration organization in Buriram Province.
The number of population included executives, members of sub-district administration organization officials in Buriram Province was 3,100 persons. The sample was 355 persons by the application of Taro Yamane’s calculation. Instrument used was questionnaire. Statistical tools employed were frequency, percentage, mean, standard deviation, and Pearson’s correlation analysis.
The study revealed that (1) good governance principles of sub-district administration organization in Buriram Province was at high level (2) executives leadership of sub-district administration organization in Buriram Province was at medium level in every style that directive leadership style, supportive leadership style, participative leadership style, achievement-oriented leadership style (3) executives leadership of sub-district administration organization in Buriram Province correlated with good governance principles at low level.
Keywords: Leadership, Executives, Good Governance, Sub-district Administration Organization, Buriram Province