ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณกับระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ: ความแตกต่างของความเชื่อทางญาณวิทยา
Keywords:
ญาณวิทยา, ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ, ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ, Epistemology, Quantitative methodology, Qualitative methodologyAbstract
บทคัดย่อ
การทำความเข้าใจเรื่องระเบียบวิธีวิจัยที่ใช้ในการศึกษาปรากฏการณ์ทางรัฐประศาสนศาสตร์เป็นเรื่องสำคัญยิ่ง เนื่องจากมีประเด็นที่มักเป็นข้อถกเถียงและทำให้ผู้ศึกษาเกิดคำถามว่าระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์ที่ดีนั้นเป็น อย่างไร หรือ ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณมีความเป็นวิทยาศาสตร์กว่าระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ดังนั้นผลลัพธ์ที่ได้จึงมี ความตรงกว่าและน่าเชื่อถือกว่าใช่หรือไม่ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอให้ทำความเข้าใจกับ “ญาณวิทยา” ซึ่งเกิดจาก ความเชื่อที่แตกต่างกัน อันจะนำไปสู่ความเข้าใจในธรรมชาติของระเบียบวิธีวิจัยทั้งสองประเภทมากขึ้น ข้อเสนอแนะ คือ ญาณวิทยาที่แตกต่างกันช่วยให้ข้อค้นพบในการศึกษาทางรัฐประศาสนศาสตร์มีมิติที่สมบูรณ์ครบถ้วน
คำสำคัญ : ญาณวิทยา, ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ, ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ
Abstract
Understanding about the methodology used in the study of phenomena in Public Administration, is a vital matter. The issues, which were often argued and confused by most educators, are those of queries that ‘how good the methodology of public administration is’, or ‘quantitative research methodology is a more scientific methodology, therefore, its results are more valid and reliable, isn’t it?’ This article is aimed to propose the understanding on a disparity of epistemological beliefs which leads to deeply understand the nature of both types of research methodologies. Rather than ask metaphorical question, we should understand how epistemological difference of both methodologies completely contributes to the findings of public administration study.
Keywords : Epistemology, Quantitative methodology, Qualitative methodology