เปรียบเทียบระดับความเครียดตามปัจจัยส่วนบุคคลของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
Keywords:
ความเครียด, ปัจจัยส่วนบุคคล, พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน, บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน), Stress, Personal factors, Thai Airways International Public Company Limited, Cabin attendantsAbstract
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความเครียดโดยรวมของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) 2) เปรียบเทียบระดับความเครียดตามปัจจัยส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับ เพศ อายุ ระดับการศึกษาสถานภาพการสมรส ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน และรายได้ต่อเดือน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน 350 คน ซึ่งได้จากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานได้แก่ สถิติทดสอบที และสถิติทดสอบเอฟ
ผลการศึกษาพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) มีระดับความเครียดโดยรวมอยู่ในระดับต่ำ 2) ระดับความเครียดของกลุ่มตัวอย่างพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ตามปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ อายุระยะเวลาในการปฏิบัติงาน และรายได้ต่อเดือน และพบว่าระดับความเครียดไม่มีความแตกต่างกันในกลุ่มตัวอย่างพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินที่มีระดับการศึกษา และสถานภาพการสมรสที่แตกต่างกัน ข้อเสนอแนะของการศึกษาในครั้งนี้สามารถนำไปใช้ในการปรับปรุงการสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน บริษัท การบินไทยจำกัด (มหาชน)
คำสำคัญ : ความเครียด ปัจจัยส่วนบุคคล พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
ABSTRACT
The objectives of this study were as follows: 1) to study Thai Airways International Public Company Limited cabin attendants’ stress level; and 2) to compare the stress level on personal factors including sex, age, educational level marital status, period of working and income of cabin attendants of Thai Airways International Public Company Limited. Sample group of 350 cabin attendants in this study was collected from Thai Airways International Public Company Limited cabin attendants by using Simple Random Sampling. The tool used for data collecting was a questionnaire. Data were analyzed by using descriptive statistics e.g. percentage, mean, standard deviation and inferential statistics e.g. t-test and F test.
The finding of this study shown as follows: 1) sample group of Thai Airways International Public Company Limited cabin attendants had stress in minimal level; and 2) there was significant difference at statistical level of .05 of stress level of sample group of Thai Airways International Public Company Limited cabin attendants on personal factors in sex, age, period of working and income and also found that there was no stress level difference on personal factors of sample group of Thai Airways International Public Company Limited cabin attendants in educational level and marital status. There commendation in this study is available for the Management to improve and create moral support to encourage work performance of Thai Airways International Public Company Limited cabin attendants.
Keywords: Stress, Personal factors, Thai Airways International Public Company Limited, Cabin attendants