การประเมินการปรับขั้นตอนการดำเนินงานตรวจรูปแบบ และจัดทำรูปเล่มวิทยานิพนธ์และดุษฎีนิพนธ์

Authors

  • นงค์ลักณ์ รุ่งวิทยาธร นักวิชาการศึกษาชำนาญการพิเศษ สำนักบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

Keywords:

การประเมิน, การปรับขั้นตอน, การตรวจรูปแบบ, การจัดทำรูปเล่ม, Evaluation, Step improvement, Format inspection, Preparation of volume

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อปรับปรุงขั้นตอนการดำเนินงานตรวจรูปแบบและจัดทำรูปเล่มวิทยานิพนธ์และ ดุษฎีนิพนธ์ และประเมินกระบวนงานที่พัฒนาขึ้น การดำเนินการแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ 1) ระยะก่อนปรับปรุงขั้นตอนการดำเนินงานตรวจรูปแบบและจัดทำรูปเล่มวิทยานิพนธ์และดุษฎีนิพนธ์ 2) ระยะปรับขั้นตอนการดำเนินงานตรวจรูปแบบและจัดทำรูปเล่มวิทยานิพนธ์และดุษฎีนิพนธ์ และ 3) ระยะประเมินการปรับขั้นตอนการดำเนินงานตรวจรูปแบบและจัดทำรูปเล่มวิทยานิพนธ์และดุษฎีนิพนธ์

วิธีดำเนินการวิจัย ระยะที่ 1 ระยะก่อนปรับปรุงขั้นตอนฯ ใช้วิธีการศึกษาเอกสาร ข้อมูล ข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนบัณฑิตศึกษา ระยะที่ 2 ระยะปรับขั้นตอนฯ ใช้การประมวลและวิเคราะห์ข้อมูลจากการวิจัยระยะที่ 1 มาประมวลและออกแบบขั้นตอนการดำเนินงานใหม่ ระยะที่ 3 ระยะประเมินการปรับขั้นตอนฯ ใช้การสัมภาษณ์เจาะลึกกลุ่มนักศึกษาและอาจารย์ที่ปรึกษาที่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้ส่วนเสียกับขั้นตอนที่ปรับใหม่ กลุ่มละ11 คน สนทนากลุ่มบุคลากรหน่วยเลขานุการกิจบัณฑิตศึกษาประจำสาขาวิชา จำนวน 27 คน และกลุ่มบุคลากรที่เกี่ยวข้องของสำนักบัณฑิตศึกษา จำนวน 9 คน เพื่อกำหนดแนวทางและกระบวนงานที่สอดรับกับขั้นตอนการดำเนินงานตรวจรูปแบบและจัดทำรูปเล่มวิทยานิพนธ์และดุษฎีนิพนธ์ที่ปรับปรุงใหม่

ผลการวิจัย ระยะที่ 1 ระยะก่อนปรับปรุงขั้นตอนฯ ทำให้ทราบปัญหาและสาเหตุที่ทำให้ต้องปรับปรุงขั้นตอนการดำเนินงานตรวจรูปแบบและจัดทำรูปเล่มวิทยานิพนธ์และดุษฎีนิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ ระยะที่ 2 ระยะปรับขั้นตอนฯ ทำให้ได้ขั้นตอนฯ ที่สอดรับกับบริบทการจัดการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย ระยะที่ 3 ระยะประเมินการปรับขั้นตอนฯ ผลลัพธ์จากการประเมินขั้นตอนที่ปรับใหม่ ทำให้เกิดวงจรพัฒนา ซึ่งผลลัพธ์คือแนวทางในการสนับสนุนสำหรับหน่วยเลขานุการกิจบัณฑิตศึกษาประจำสาขาวิชา และหน่วยสนับสนุนของสำนักบัณฑิตศึกษา

คำสำคัญ : การประเมิน การปรับขั้นตอน การตรวจรูปแบบ การจัดทำรูปเล่ม

 

ABSTRACT

The purposes of this research were to improve the operation step for format inspection and preparation of the volume for theses and dissertations, and to evaluate the developed improvement step. The research operation comprised of three phases: (1) the pre-improvement phase of the operation step for format inspection and preparation of the volume for theses and dissertations; (2) the improvement phase of the operation step for format inspection and preparation of the volume for theses and dissertations; and (3) the evaluation phase of the improved operation step for format inspection and preparation of the volume for theses and dissertations.

Details of research operation were as follows: Phase 1: the pre-improvement phase, the researcher conducted a study of documents and information on rules, regulations and announcements concerning instructional management at the graduate level. Phase 2: the improvement phase, the data obtained from Phase 1 were processed and analyzed to synthesize and design the new operation step. Phase 3: the evaluation phase, the researcher conducted in depth interviews with groups of 11 students and advising instructors concerning with or affected by the improved operation step, and conducted focus group discussions involving 27 personnel in the faculty secretarial units and 9 concerned personnel from the Office of Graduate Studies in order to determine work guidelines and procedures in line with the improved operation step.

Research results were as follows: Phase 1: the pre-improvement phase, the problems and causes of problems in the existing operation step for format inspection and preparation of the complete volume for theses and dissertations were identified. Phase 2: the improvement phase, the new and improved operation step for format inspection and preparation of the complete volume for theses and dissertations were developed that was in line with the instructional management context of the university. Phase 3: the evaluation phase, the improved operation process was evaluated. As a result of the new process evaluation, a development cycle was created resulting in the obtained guidelines for supporting the work of the faculty secretarial units and the support unit of the Office of Graduate Studies.

Keywords: Evaluation, Step improvement, Format inspection, Preparation of volume

Downloads

How to Cite

รุ่งวิทยาธร น. (2013). การประเมินการปรับขั้นตอนการดำเนินงานตรวจรูปแบบ และจัดทำรูปเล่มวิทยานิพนธ์และดุษฎีนิพนธ์. Modern Management Journal, 10(1), 130–141. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/stou-sms-pr/article/view/11859