การประเมินผลแผนงานพัฒนากลไกการแก้ปัญหาความรุนแรงต่อผู้หญิง เด็ก และครอบครัวจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

Authors

  • สุรพร เสี้ยนสลาย รองศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • บุญเสริม หุตะแพทย์ รองศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • ประกายรัตน์ ภัทรธิติ รองศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • กุลกานต์ อภิวัฒนลังการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

Keywords:

การประเมินผล, แผนงาน, ความรุนแรง, เครื่องดื่มแอลกอฮอล์, evaluation, plan, violence, alcohol

Abstract

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการทำงาน และประเมินผลสัมฤทธิ์ของ แผนงานพัฒนากลไกการแก้ปัญหาความรุนแรงต่อผู้หญิง เด็ก และครอบครัวจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยประเมินจาก ตัวชี้วัด จำนวน10 ตัวชี้วัด และเก็บรวบรวมข้อมูลจากพื้นที่ดำเนินงานของแผนงาน 5 พื้นที่ จำนวน 8 ชุมชน คือ กรุงเทพมหานคร (2 ชุมชน) จังหวัดนนทบุรี (1 ชุมชน) จังหวัดเชียงใหม่ (1 ชุมชน) จังหวัดอำนาจเจริญ (2 ชุมชน) และ จังหวัดชุมพร (2 ชุมชน) ในแต่ละพื้นที่เก็บข้อมลจากกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม คือ กลุ่มคนทั่วไปในชุมชนหรือโรงงาน จำนวน 160 คน กลุ่มแกนนำศูนย์เรียนรู้หรือเครือข่ายแกนนำ จำนวน 40 คน และกลุ่มตัวแทนองค์การในทีมสหวิชาชีพในพื้นที่ จำนวน 20 คน เก็บข้อมูลด้วยวิธีการใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะตัวชี้วัดที่ เกี่ยวข้อง

ผลการวิจัย พบว่า แผนงานพัฒนากลไกฯ มีผลงานผ่านเกณฑ์การประเมินผล จำนวน 8 ตัวชี้วัด จากทั้งหมด 10 ตัวชี้วัด แผนงานพัฒนากลไกฯ มีบริบทที่เอื้อต่อการทำงานเป็นอย่างดี คนในพื้นที่ชุมชนหรือโรงงานมีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับแผนงานพัฒนากลไกฯ ค่อนช้างดี และมีเจตคติเชิงบวกต่อแผนงานฯ แผนงานพัฒนากลไกฯ มีความพร้อมด้าน ปัจจัยนำเข้า แกนนำศูนย์เรียนรู้หรือเครือข่ายแกนนำลดละเลิกเหล้าและบุคลากรในทีมสหวิชาชีพมีความพึงพอใจต่อปัจจัยนำเข้า และกระบวนการทำงานของแผนงานสูงกว่าเกณฑ์การประเมินผลที่กำหนดไว้ ศูนย์เรียนรู้และเครือข่ายแกนนำชุมชน ลด ละเลิก เหล้า และทีมสหวิชาชีพในพื้นที่ผ่านเกณฑ์การประเมินผลที่กำหนด ส่วนอีก 2 ตัวชี้วัดที่ไม่ผ่านเกณฑ์ประเมิน คือ ตัวชี้วัดความตระหนักต่อปัญหาที่เกิดจากการดื่มสุรา และตัวชี้วัดความคิดเห็นเชิงปฏิเสธต่อการกระทำความรุนแรงแก่ ผู้หญิง เด็ก และครอบครัวของคนในชุมชน คณะผู้ประเมินผลจึง ให้ข้อเสนอแนะให้ปรับปรุงงานทั้งส่วนที่เกี่ยวข้องกับบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการทำงาน และผลสัมฤทธิ์ของแผนงาน

คำสำคัญ : การประเมินผล แผนงาน ความรุนแรง เครื่องดื่มแอลกอฮอล์

 

ABSTRACT

The purpose of this research was to evaluate the contexts, inputs, processes, and outcomes of the Plan to Develop a Community-based Mechanism for Resolving Violence against Women, Children and Domestic Violence Related to Alcohol. The sample of this study were 160 people who lived in the communities, 40 leaders of learning centers or networks for quitting alcohol and 20 those who participated in multidisciplinary teams. The sample were sampling from those communities which participate in the Plan including Bangkok Metropolitan, Nonthaburi, Chiang Mai, Amnart Charoen and Chumphon. The data were collected using variety technique including self-assessing questionnaires for entire sample and interviewing and focus group discussion among leader and agency representatives.

The study found that the Plan was successful in 8 of 10 indicators. The plan had the context that was conducive to the success. People in the communities and factory knew rather well about the Plan and also had positive attitude towards the Plan. The Plan had adequate and suitable inputs for its implementation. Leaders of learning centers or networks and personal of multidisciplinary teams had been satisfied with the managing of inputs and working processes of the Plan. The Learning centers or networks and the multidisciplinary teams working with the Plan had been strengthened to meet the evaluation criteria. But the plan had not been successful in the criteria in awareness of the problems caused by alcohol and in negative opinion to violence against women, children and their family in the communities. Some useful advices are accordingly given for improving context, inputs, processes and outcomes of the Plan.

Keywords: evaluation, plan, violence, alcohol

Downloads

How to Cite

เสี้ยนสลาย ส., หุตะแพทย์ บ., ภัทรธิติ ป., & อภิวัฒนลังการ ก. (2013). การประเมินผลแผนงานพัฒนากลไกการแก้ปัญหาความรุนแรงต่อผู้หญิง เด็ก และครอบครัวจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์. Modern Management Journal, 9(2), 54–67. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/stou-sms-pr/article/view/11872