การเพิ่มประสิทธิผลการบริหารการจัดเก็บภาษีศุลกากรของกรมศุลกากรในภาคตะวันออก
Keywords:
การบริหารจัดการ, กรมศุลกากร, ภาษีศุลกากร, ประสิทธิผล, การบริหารการจัดเก็บภาษี, Management, Customs Department, Customs tax, Effectiveness, Tax AdministrationAbstract
บทคัดย่อ
การศึกษาครังนีมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผล และปัจจัยทั้งภายในและนอกขององค์การที่มีผลต่อการบริหาร การจัดเก็บภาษีของกรมศุลกากร รวมทั้งศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลในการจัดเก็บภาษีศุลกากร และศึกษาถึงอิทธิพลของปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารการจัดเก็บภาษีและส่งผลต่อประสิทธิผลในการบริหารการจัดเก็บภาษีศุลกากรกลุ่มประชากร ได้แก่ เจ้าหน้าที่กรมศุลกากรที่ปฏิบัติหน้าที่ในภาคตะวันออก การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และนำข้อมูลที่ได้วิเคราะห์แปลผลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติอนุมาน และการวิเคราะห์ตัวแปรเชิงพหุ
ผลการศึกษาประสิทธิผลการบริหารการจัดเก็บภาษีศุลกากรในภาคตะวันออก พบว่า ปัจจัยด้านองค์ประกอบภายนอก และภายในองค์การ และปัจจัยด้านนวัตกรรม มีผลต่อการจัดเก็บภาษีในระดับมาก ส่วนปัจจัยด้านการเงินที่มีผลต่อการบริหาร การจัดเก็บภาษีอยู่ในระดับปานกลาง จากการศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยระหว่างปัจจัยด้านการบริหารการจัดเก็บภาษีอากร กับประสิทธิผลในการจัดเก็บรายได้ พบว่า ทุกปัจจัยมีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลในการจัดเก็บรายได้ และจากการศึกษาถึงอิทธิพลของปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารการจัดเก็บภาษีต่อประสิทธิผลในการบริหารการจัดเก็บภาษีศุลกากร ในส่วนของสำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง ปัจจัยที่มีอิทธิพล ได้แก่ การมีความคิดริเริ่ม ความประหยัดหรือความคุ้มค่าของทรัพยากร ความมีประสิทธิภาพของทรัพยากร และการขจัดทุจริตคอรัปชั่น สำหรับสำนักงานศุลกากรภาคที่ 1 นั้น ได้แก่ การจัดการคุณภาพ ความพึงพอใจของผู้รับบริการ และการปรับประยุกต์ใช้เทคโนโลยี
คำสำคัญ: การบริหารจัดการ กรมศุลกากร ภาษีศุลกากร ประสิทธิผล การบริหารการจัดเก็บภาษี
Abstract
This study aims to investigate internal and external factors which contribute to effectiveness of tax administration of the Custom Office. Moreover, the study also explores factors that contribute to the Custom tax administration and influential factors to tax administration. Populations of the study were Custom Officers in the Eastern Region. This study is both qualitative and quantitative research; therefore, questionnaire was employed as research tool. Thereafter, the collected data was analyzed statistically with descriptive technique, inferential statistic and multivariate analysis.
Results from the study of the effectiveness of tax administration of Customs Department in the Eastern Region show that both internal and external and innovative factors highly contributed to tax administration. However, financial factors were only moderately contributed to tax administration. Furthermore, the study of relationship of tax administration factors and effectiveness of tax administrations reveals that the influential factors for Laem Chabang are intuitiveness, economical and worthiness, resources efficiency and anti-corruption factors. In terms of the Custom Department Region 1, the influential factors include quality management, customers’ satisfaction and the adaptation use of technology.
Keywords: Management, Customs Department, Customs tax, Effectiveness, Tax Administration