การศึกษาความเป็นไปได้ของการประยุกต์เทคโนโลยีไพโรไลซิส-แก๊สซิฟิเคชัน มาใช้ในการกำจัดขยะมูลฝอยของชุมชน จังหวัดนนทบุรี
Keywords:
การศึกษาความเป็นไปได้, ไพโรไลซิส-แก๊สซิฟิเคชัน, จังหวัดนนทบุรี, Feasibility Study, Pyrolysis - Gasification, Nonthaburi ProvinceAbstract
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ทางด้านเทคนิค และด้านการเงินของการนำเทคโนโลยีไพโรไลซิส-แก๊สซิฟิเคชันมาใช้ในการกำจัดขยะมูลฝอยในจังหวัดนนทบุรี โดยทำการศึกษาด้านเทคนิคเกี่ยวกับปริมาณเชื้อเพลิง หรือขยะมูลฝอยที่สามารถนำมาเป็นเชื้อเพลิงในโครงการผลิตกระแสไฟฟ้าในช่วงระยะเวลา 25 ปี (พ.ศ. 2553 - พ.ศ. 2578) รวมทั้งศึกษาถึงกระบวนการผลิตและกำลังการผลิต และศึกษาด้านการเงินโดยการประเมินความคุ้มค่าของโครงการฯ ตามหลักเกณฑ์การตัดสินใจแบบคำนึงถึงมูลค่าของเงินในอนาคต ด้วยตัวชี้วัดความคุ้มค่าที่ประกอบด้วย มูลค่าปัจจุบันสุทธิ อัตราส่วนผลประโยชน์ต่อด้นทุน และอัตราผลตอบแทนภายในของโครงการ
ผลการวิจัยพบว่า โครงการฯ มีความเป็นไปได้ทางด้านเทคนิค เนื่องจากมีความเหมาะสมทางด้านสถานที่ตั้ง และกระบวนการผลิต จากการคาดการณ์ปริมาณขยะมูลฝอยที่จะนำมาเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้าเริ่มต้นจากปี พ.ศ. 2554 จะมีประมาณ 336 ตัน/วัน หรือจำนวน 122,480 ตัน/ปี และจะมีปริมาณขยะมูลฝอยที่จัดเก็บได้ประมาณ 613 ตัน/วัน หรือจำนวน 223,618 ตัน/ปี จนสิ้นสุดโครงการในปี พ.ศ. 2578 ขยะมูลฝอยปริมาณดังกล่าวสามารถนำมาเป็นเชื้อเพลิงผลิต กระแสไฟฟ้าได้กำลังการผลิตจำนวน 3 - 5 เมกะวัตต์
ส่วนผลการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางด้านการเงิน อัตราคิดลดของโครงการเท่ากับร้อยละ 10 โครงการฯ มีมูลค่า ปัจจุบันสุทธิเท่ากับ 5,413.99 ล้านบาท อัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุน เท่ากับ 3.40 เท่า ส่วนอัตราผลตอบแทนภายในของโครงการ เท่ากับร้อยละ 13.43 ซึ่งมีค่ามากกว่าอัตราผลตอบแทนภายนอกหรือค่าเสียโอกาสของทุน ผู้ลงทุนจะได้รับผลตอบแทนทางการเงินคุ้มค่ากับการลงทุน และโครงการฯ มีความเหมาะสมแก่การลงทุน
ข้อเสนอแนะจากการวิจัย คือ ปริมาณขยะมูลฝอยที่จัดเก็บได้ในจังหวัดนนทบุรีเหมาะสำหรับระบบกำจัดขยะแบบ ไพโรไลซิส-แก๊สซิฟิเคชันที่มีกำลังการผลิตไฟฟ้า 3 - 5 เมกะวัตต์ หากใช้ระบบกำจัดที่มีกำลังการผลิตไฟฟ้ามากกว่านีจะต้อง หาซื้อขยะจากจังหวัดใกล้เคียงมาป้อนเข้าสู่ระบบ ซึ่งจะทำให้มีต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ดังนั้นจึงควรให้ความสำคัญกับเรื่อง ปริมาณเชื้อเพลิงหรือขยะมูลฝอยที่จะนำมาใช้ด้วย
คำสำคัญ : การศึกษาความเป็นไปได้ ไพโรไลซิส-แก๊สซิฟิเคชัน จังหวัดนนทบุรี
Abstract
The purposes of this research were to conduct a feasibility study on the technical and financial aspects in applying Pyrolysis - Gasification Technologies to community waste disposal in Nonthaburi province. The study on the technical aspect focused on the process and capacity in generating the electricity from the waste for the period of 2010 - 2035, In terms of finance, discounting criterion was applied to appraise the cost-effectiveness of the project. Net Present Value (NPV), Benefit-Cost Ratio (BCR) and Internal Rate of Return (IRR) were used to be the indicators of cost- effectiveness.
The results of the study indicate that the technical aspect would be feasible due to the suitability of location and process. It is estimated that there will be 336 tons/day or 122,480 ton/year of waste to be used as fuel in the beginning of the project, in 2011 and the waste volumes will increase to 613 tons/day or 223,618 tons/day at the end of the project, in 2035. these can be used as fuel to generate 3-5 megawatt electricity.
In terms of financial analysis, it was found that the discounting criterion is 10 percent. The Net Present Value is about 5,413.99 million baht, and the Ratio of Benefit-Cost is 3.40, The Internal Rate of Return of the project was 13.43%, which is higher than the External Rate of Return or the Opportunity Cost. The rate of return is considerably worth investment; therefore, the project is suitable for investment.
It is recommended that the waste volume collected from Nonthaburi province boundaries will be suitable for Pyrolysis - Gasification system to generate 3-5 megawatt electricity. More waste volumes will be required for the system if there is a need to generate more electricity. This will result to be the higher cost as well. Therefore, the volumes of waste to be used as fuel should be significantly considered.
Keywords: Feasibility Study, Pyrolysis - Gasification, Nonthaburi Province