กลโกงบริษัทจัดหางาน วิธีการป้องกันและแนวทางแก้ไข
Keywords:
กลโกง, บริษัทจัดหางาน, วิธีการป้องกัน, แนวทางแก้ไข, Deceit, Employment Agencies, Preventions, SolutionsAbstract
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสาเหตุของปัญหาการหลอกลวงแรงงาน (2) ศึกษาพฤติกรรมหรือกลอุบายของการหลอกลวงแรงงาน (3) ศึกษากฎระเบียบทั้งเชิงนโยบายและเชิงปฏิบัติที่เป็นช่องว่างแห่งการนำไปสู่การหลอกลวงแรงงาน (4) เสนอแนะแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการหลอกลวงแรงงาน โดยการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ(Qualitative research) วิธีดำเนินการวิจัยใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลจากการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) ซึ่งเป็นการศึกษาค้นคว้าเก็บรวบรวมข้อมลจากเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและเก็บรวบรวมข้อมลการวิจัยภาคสนาม(Field Research) โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก(in-depth Interview) เพื่อเก็บข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ฝ่ายกำกับนโยบาย และฝ่ายปฏิบัติงาน ตลอดจนบริษัทจัดหางานทั้ง ส่วนกลางและส่วนภูมิภาค นอกจากนี้ยังใช่วิธีการสนทนา กลุ่ม(Focus group discussion) กับผู้นำชุมชน ในเขตพื้นที่ภาคเหนือ
ผลการวิจัยได้พบว่า สาเหตุและปัจจัยที่ทำให้แรงงานถูกหลอกลวง พบว่า เกิดจากความต้องการส่วนบุคคล ค่านิยมในสังคม ตลอดจนปัจจัยอื่นๆที่ผลักดัน (Push-factors) ให้ย้ายถิ่นฐานภายในประเทศ และปัจจัยดึงดูด(Pull-factors) จากภายนอกประเทศ ซึ่งมีผลให้คนงานเดินทางไปทำงานต่างประเทศมากขึ้น โดยบริษัทจัดหางาน สายหรือนายหน้าเถื่อน มักใช้เป็นเหตุผลในการหลอกลวงแรงงาน รวมถึงปัจจัยทางด้านกฎหมายไทยยังมีช่องว่างและอุปสรรคบางประการทำให้จัดการกับบรรดาบริษัทจัดหางานสายหรือ นายหน้าเถื่อนได้ยาก
นอกจากนี้สาเหตุประการหนึ่งที่ทำให้แรงงานถูกหลอกลวงคือ ปัญหาด้านนโยบายและข้อกฎหมายของภาครัฐ โดยเฉพาะพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนงาน พ.ศ. 2528 ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันยังมีปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับการควบคุมบริษัทจัดหางาน เพราะไม่สามารถให้ความคุ้มครองคนหางานที่ไปทำงานต่างประเทศได้อย่างชัดเจน และเป็นธรรมจึงทำให้คนหางานถูกเรียกเก็บค่าบริการ และค่าใช่จ่ายเกินกว่าที่อัตรากฎหมายกำหนด
ส่วนวิธีการหลอกลวงแรงงานไทยไปทำงานในต่างประเทศมีอยู่ด้วยกัน 3 รูปแบบ ได้แก่ การดำเนินการโดยบริษัท จัดหางานซึ่งจดทะเบียนถูกต้องแต่ใช่วิธีการฉ้อฉล ปิดบังข้อเท็จจริงบางส่วนหรือทั้งหมด โดยใช้สายหรือนายหน้าเป็นเครื่องมือการดำเนินการโดยปัจเจกชนอาจจะเป็นบุคคลคนเดียวหรือหลายคนร่วมกันหลอกลวงหรือจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาต และรูปแบบการฉ้อโกงหลอกลวงโดยอ้างตนเองเป็นบริษัทจัดหางานที่ถูกต้องตามกฎหมายให้คนหางานหรือ แรงงานหลงเชื่อจนตกเป็นเหยื่อในที่สุด
สำหรับมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหา สามารถแก้ไขได้ในเชิงนโยบายได้แก่ การออกกฎหมายกำหนดโทษ ผู้กระทำผิดทั้งทางแพ่งและทางอาญาสูงขึ้น การเปิดโอกาสทางกฎหมายเพื่อให้สาย หรือนายหน้าเถื่อนเข้ามาสู่ระบบให้มากขึ้น การออกใบอนุญาตโดยลักษณะเป็นองค์กรวิชาชีพ การกำหนดนโยบายในเชิงรุกในทุกพื้นที่ การประชาสัมพันธ์ให้ข้อมูลข่าวสารแก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานและ ประชาชนอย่างต่อเนื่อง ส่วนการป้องกันและแก้ไขปัญหาในเชิงปฏิบัติ เจ้าหน้าที่ที่อยู่ในแต่ละท้องถิ่นควรสอดส่องดูแล ชาวบ้านในพื้นที่ให้ทั่วถึง การให้ความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ การประชาสัมพันธ์ ข่าวสารภายในหมู่บ้านอย่างต่อเนื่อง
คำสำคัญ : กลโกง บริษัทจัดหางาน วิธีการป้องกัน แนวทางแก้ไข
ABSTRACT
The study aims to (1) investigate and seek the real cause to deceive labors (2) examine deceitful treatment suffered by labors to strive for viable solutions (3) explore the loopholes of rules and regulations on policies and practices attributable to deceitful treatment (4) seek the way for preventive actions and problem solving. This is a qualitative research. Data collection is on the basis of documentary and field research. In-depth interview thus has been conducted with central and regional employment agencies and public officials in both policy monitoring and operations sections. Further, focus group discussion with communities’ leaders in northern region of Thailand has also made. The scope of this study is limited to the risk area where local labors prefer to work overseas. Three patterns of deceitful treatment are revealed by this research. First, legally-registered employment agencies conduct the fraudulent acts or disclose the matters of fact either partially or entirely. Second, an individual conducts the fraudulent acts individually or collectively or engage recruitment activities without permission. Lastly, employment agencies falsely claim their registered status for deceiving labors or job seekers.
It is also found that, to deceive labors, illegal employment agencies or brokers tend to take advantage from following factors: personal needs, social values, push factor that triggers domestic migration and external pull factor that attracts labors to work overseas. Also, Thai laws’ loopholes and certain obstacles have rendered to the difficulty in handling these illegal employment agencies or brokers effectively.
Moreover, policy and legal issues are also other cause, especially Employment Service and Job Seekers Protection Act B.E.2528 (1985). The application of this Act still encounters problems in effectively controlling employment agencies because it fails to provide precise and fair protection for job seekers working abroad. As a result, they are overcharged for service fees and ambiguous expenses. Additionally, this Act also has no requirement or restriction on employment agencies not to charge job seekers before they actually get their job, on obligations and liabilities between employment agencies and job seekers to prevent the provision of unfair contract for job seekers or avoidance of contract. Legal prosecutions against employment agencies or brokers are tardy or difficult.
With respect to preventive measures or solutions on policy basis, they include enforcement of harsher criminal and civil offences, provision of opportunity to legalize unregistered brokers, issuance of Certificate of Professional Body, specification of active policies in all areas, constant provision of latest news, updates and public relation for responsible officials and individuals, establishment of Public Organization to specifically oversee employment activities and job seekers and enhancement of legal prosecution effectiveness.
For action-based preventions or solutions, local officials should monitor villagers broadly and closely, cooperate with government agencies and constantly provide latest news, updates or public relation across the villages.
Keywords: Deceit, Employment Agencies, Preventions, Solutions