กลโกงบริษัทจัดหางาน วิธีการป้องกันและแนวทางแก้ไข
Abstract
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสาเหตุของปัญหาการหลอกลวงแรงงาน (2) ศึกษาพฤติกรรมหรือกลอุบายของการหลอกลวงแรงงาน (3) ศึกษากฎระเบียบทั้งเชิงนโยบายและเชิงปฏิบัติที่เป็นช่องว่างแห่งการนำไปสู่การหลอกลวงแรงงาน (4) เสนอแนะแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการหลอกลวงแรงงาน โดยการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ(Qualitative research) วิธีดำเนินการวิจัยใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลจากการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) ซึ่งเป็นการศึกษาค้นคว้าเก็บรวบรวมข้อมลจากเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและเก็บรวบรวมข้อมลการวิจัยภาคสนาม(Field Research) โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก(in-depth Interview) เพื่อเก็บข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ฝ่ายกำกับนโยบาย และฝ่ายปฏิบัติงาน ตลอดจนบริษัทจัดหางานทั้ง ส่วนกลางและส่วนภูมิภาค นอกจากนี้ยังใช่วิธีการสนทนา กลุ่ม(Focus group discussion) กับผู้นำชุมชน ในเขตพื้นที่ภาคเหนือ
ผลการวิจัยได้พบว่า สาเหตุและปัจจัยที่ทำให้แรงงานถูกหลอกลวง พบว่า เกิดจากความต้องการส่วนบุคคล ค่านิยมในสังคม ตลอดจนปัจจัยอื่นๆที่ผลักดัน (Push-factors) ให้ย้ายถิ่นฐานภายในประเทศ และปัจจัยดึงดูด(Pull-factors) จากภายนอกประเทศ ซึ่งมีผลให้คนงานเดินทางไปทำงานต่างประเทศมากขึ้น โดยบริษัทจัดหางาน สายหรือนายหน้าเถื่อน มักใช้เป็นเหตุผลในการหลอกลวงแรงงาน รวมถึงปัจจัยทางด้านกฎหมายไทยยังมีช่องว่างและอุปสรรคบางประการทำให้จัดการกับบรรดาบริษัทจัดหางานสายหรือ นายหน้าเถื่อนได้ยาก
นอกจากนี้สาเหตุประการหนึ่งที่ทำให้แรงงานถูกหลอกลวงคือ ปัญหาด้านนโยบายและข้อกฎหมายของภาครัฐ โดยเฉพาะพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนงาน พ.ศ. 2528 ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันยังมีปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับการควบคุมบริษัทจัดหางาน เพราะไม่สามารถให้ความคุ้มครองคนหางานที่ไปทำงานต่างประเทศได้อย่างชัดเจน และเป็นธรรมจึงทำให้คนหางานถูกเรียกเก็บค่าบริการ และค่าใช่จ่ายเกินกว่าที่อัตรากฎหมายกำหนด
ส่วนวิธีการหลอกลวงแรงงานไทยไปทำงานในต่างประเทศมีอยู่ด้วยกัน 3 รูปแบบ ได้แก่ การดำเนินการโดยบริษัท จัดหางานซึ่งจดทะเบียนถูกต้องแต่ใช่วิธีการฉ้อฉล ปิดบังข้อเท็จจริงบางส่วนหรือทั้งหมด โดยใช้สายหรือนายหน้าเป็นเครื่องมือการดำเนินการโดยปัจเจกชนอาจจะเป็นบุคคลคนเดียวหรือหลายคนร่วมกันหลอกลวงหรือจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาต และรูปแบบการฉ้อโกงหลอกลวงโดยอ้างตนเองเป็นบริษัทจัดหางานที่ถูกต้องตามกฎหมายให้คนหางานหรือ แรงงานหลงเชื่อจนตกเป็นเหยื่อในที่สุด
สำหรับมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหา สามารถแก้ไขได้ในเชิงนโยบายได้แก่ การออกกฎหมายกำหนดโทษ ผู้กระทำผิดทั้งทางแพ่งและทางอาญาสูงขึ้น การเปิดโอกาสทางกฎหมายเพื่อให้สาย หรือนายหน้าเถื