การมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงานกองทุนระบบหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น ในจังหวัดสมุทรสาคร
Keywords:
ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชน, กองทุนระบบหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น, จังหวัดสมุทรสาคร, Inhabitant Participatory Level, Local Fund Health Security, Samut Sakhon ProvinceAbstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบล นำร่องจำนวน4 แห่งในการดำเนินงานกองทุนระบบหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น ในจังหวัดสมุทรสาคร (2)เปรียบเทียบปัจจัยสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลนำร่องจำนวน 4 แห่ง ในการดำเนินงานกองทุนระบบหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นในจังหวัดสมุทรสาคร (3) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยสนับสนุนกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลนำร่อง จำนวน 4 แห่ง ในการดำเนินงานกองทุน ระบบหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น ในจังหวัดสมุทรสาคร (4) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลนำร่อง จำนวน 4 แห่ง ในการดำเนินงานกองทุนระบบหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น ในจังหวัดสมุทรสาคร (5) ศึกษาแนวทางเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลนำร่อง จำนวน 4 แห่งในการดำเนินงานกองทุนระบบหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นในจังหวัดสมุทรสาคร
กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้คือประชาชน 397 คนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลซึ่งเป็นพื้นที่นำร่องการ ดำเนินงานกองทุนฯ จำนวน 4 แห่งในจังหวัดสมุทรสาคร คือ องค์การบริหารส่วนตำบลบางกระเจ้า องค์การบริหารส่วนตำบลบางโทรัด องค์การบริหารส่วนตำบลสวนหลวง และองค์การบริหารส่วนตำบลเจ็ดริ้ว เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล สถิติเชิงพรรณา และสถิติสนุมาน
ผลการวิจัย พบว่า (1) ในภาพรวม การมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินกองทุนฯ ของพื้นที่องค์การบริหารส่วน ตำบลนำร่อง จำนวน 4 แห่ง อยู่ในระดับน้อย และเมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระดับการมีส่วนร่วม พบว่า พื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลนำร่องทั้ง 4 แห่ง มีระดับการมีส่วนร่วมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) ปัจจัยสนับสนุนที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลนำร่อง ได้แก่ ทัศนคติ การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร และความรู้ความเข้าใจ ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบปัจจัยสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชน พบว่า พื้นที่องค์การบริหาร ส่วนตำบลนำร่อง มีปัจจัยสนับสนุนการมีส่วนร่วม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยสนับสนุนกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในองค์การบริหารส่วนตำบล พบว่า อายุ การศึกษา รายได้ ความรู้ความเข้าใจ การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร มีความสัมพันธ์กับระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการ ดำเนินงานกองทุนฯ ส่วนอาชีพและทัศนคติไม่มีความสัมพันธ์ (4) ปัญหาและอุปสรรคในการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงานกองทุนฯ ได้แก่ ประชาชนไม่มีความรู้เกี่ยวกับกองทุนฯ ไม่ได้รับการประชาสัมพันธ์อย่างทั่วถึง ไม่มีเวลาเพราะต้องประกอบอาชีพ และการศึกษาน้อย (5) แนวทางเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงานกองทุนฯ ได้แก่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ มีการประชาสัมพันธ์ตั้งศูนย์ชุมชน จัดให้มีหน่วยบริการทางการแพทย์ เคลื่อนที่ตามหมู่บ้าน และให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วม
คำสำคัญ : ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชน กองทุนระบบหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น จังหวัดสมุทรสาคร
ABSTRACT
The purposes of this research were to: (1) compare the inhabitant participatory level in Local Fund Health Security operation in four sub-district administrative organizations area in Samut Sakhon Province; (2) compare the support factors of inhabitant participation in Local Fund Health Security operation in four sub-district administrative organizations area in Samut Sakhon Province; (3) analyze the relationship between support factors personal factors and inhabitant participation in Local Fund Health Security operation in four sub-district administrative organizations area in Samut Sakhon Province; (4) study problems and obstacles of inhabitant participation in Local Fund Health Security operation in four sub-district administrative organizations area in Samut Sakhon Province; and (5) Propose appropriate approach to enhance inhabitant participation in Local Fund Health Security operation in four sub-district administrative organizations area in Samut Sakhon Province.
Samples were 397 inhabitants of four sub-district administrative organizations in Samut Saknon province which were pilot areas of local fond health security operation including Bangkrachao, Bangtorad, Suanluang, and Chedriew. Instrument. used was questionnaire. Statistical tools employed were Descriptive statistics and Inferential statistics.
Research result revealed that: (1) The overall inhabitant participation in Local Fund Health Security operation in four sub-district administrative organizations area in Samut Sakhon Province was at low level, when compared the participation in four organizations, differences were found at .05 level of significance (2) support factors affecting inhabitant participation were attitude, information reception and understanding, respectively; it was found that the four local administration has different support factors for participation level at .05 level of significance (3) relationship analysis revealed that age, education, income, information reception and understanding were related to inhabitant participation while occupation and attitude had no relations (4) problems and obstacles of inhabitant participation were lack of knowledge on security fond; moreover there were problems of insufficient public relations, lack of time, and low education of inhabitants (5) to enhance inhabitant participation: involved organizations should provide necessary and information, promote and support the public relations, organize community center, arrange mobile medical units in villages and finally encourage the participation of private sectors.
Keyword: Inhabitant Participatory Level, Local Fund Health Security, Samut Sakhon Province