การศึกษาวิเคราะห์นโยบายการส่งเสริมกิจการเพื่อสังคมโดยใช้ตัวแบบเครือข่ายนโยบาย

Authors

  • อิศเรศ คันสนีย์วิทยกุล

Keywords:

กิจการเพื่อสังคมเครือข่ายนโยบาย, Social Enterprise, Policy network

Abstract

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา ทําความเข้าใจ และวิเคราะห์นโยบายการส่งเสริมกิจการเพื่อสังคม โดยใช้ตัว แบบเครือข่ายนโยบายมาเป์นกรอบในการวิเคราะห์ โดยการศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจาก การวิเคราะห์ทบทวนเอกสาร และการสัมภาษณ์หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า นโยบายส่งเสริมกิจการเพื่อสังคม ในประเทศไทยนั้น มีสํานักงานสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคมแห่งชาติ (สกส.) ซึ่งก่อตั้งขึ้นในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2553 เป็นหน่วยงานเชิงยุทธศาสตร์ในการกําหนดทิศทางของนโยบาย และเป็นตัวกระทําที่สําคัญในการผลักดันนโยบาย ประเทศ ไทยได้เรียนรู้แนวคิดนี้จากยุโรปโดยเฉพาะประเทศอังกฤษ ซึ่งมีการดําเนินนโยบายส่งเสริมกิจการเพื่อสังคมมายาวนาน และเป็นรูปธรรมด้วยแนวคิดเชิงการปฏิรูปสังคมของสํานักงานส่งเสริมสุขภาพแห่งชาติ (สสส.) ที่สอดคล้องกับรัฐบาลใน ขณะนั้น ทําให้นโยบายนี้ถูกตั้งขึ้นเป็นวาระระดับชาติ

เมื่อใช้การวิเคราะห์เครือข่ายนโยบายมาทําความเข้าใจเครือข่ายการทํางานของสกส. พบว่า รัฐและสสส. ที่มี ความสัมพันธ์กันในลักษณะใกล้ชิดสัมพันธ์กันนั้น เอื้อให้นโยบายส่งเสริมกิจการเพื่อสังคมเกิดขึ้น โดยมีพื้นฐานความสนใจ ร่วมกันและการประสานผลประโยชน์ระหว่างกัน นอกจากนั้นยังมีตัวแสดงทางนโยบายตัวอื่นๆ ที่อยู่ในกลุ่มผู้มีอํานาจ กําหนดนโยบายเกี่ยวกับกิจการเพื่อสังคม เช่น British Council, นักวิชาการ เป็นต้น มีความสัมพันธ์กันในลักษณะของการ แลกเปลี่ยนทรัพยากรระหว่างกัน อีกทั้งวิธีการสร้าง "เครือข่าย" การทํางานของ สกส. มีความเกี่ยวข้องกับหลักการ และ วิธีการบริหารงานภาครัฐแนวใหม่ที่คํานึงถึงหลักประสิทธิภาพสูงสุดขององค์กร

อย่างไรก็ตาม นโยบายกิจการเพื่อสังคม ถือเป็นเรื่องใหม่สําหรับประเทศไทย ซึ่งยังต้องการปัจจัยสนับสนุนใน หลากหลายมิติของทุกๆภาคส่วน รวมทั้งการสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของกิจการเพื่อสังคม และการสื่อสาร คุณค่าให้เป็นที่รับรู้และเข้าใจอย่างกว้างขวางต่อไป

คําสําคญั :กิจการเพื่อสังคมเครือข่ายนโยบาย

ABSTRACT

This research aimed to study, understand and analyze the social enterprise policy development in Thailand by using policy network approach. The qualitative methodology was applied and data was collected from documentary analysis process and interviewing relevant people. The result found that Thailand Social Enterprise Organization (TSEO) has played a key role in being the strategy unit to determine policy and development. It was established in 2010 by receiving and applying the social enterprise development model from the United Kingdom and Europe where the social enterprises have been continually operated for a long time. At that time, the Thai Health Promotion Foundation (ThaiHealth), which has mainly purposed in the use of sustainable funding in social changing and innovation of policy based on civil society’s role and performance. They had similar goals and ideas in changing society. Therefore, the social enterprise policy development was set as a national agenda.

In term of the policy network analysis, it was found that closed relationship between the government and Thai Health Promotion Foundation supported the social enterprise policy to be enhanced, which was on the basis of mutual collaboration and benefit. Moreover, other policy actors, such as British Council, academicians, were also associated with the process of resource exchange relationship. The way that TSEO established and operates network was related to the concept of new governance management, which put more concentration regarding efficiency of organization principles. However, the social enterprise development is quite new circumstance for Thailand. Therefore, it still needs strong supports and partnerships, including the widely communication about its value in the society.

Keywords: Social Enterprise, Policy network

Downloads

How to Cite

คันสนีย์วิทยกุล อ. (2014). การศึกษาวิเคราะห์นโยบายการส่งเสริมกิจการเพื่อสังคมโดยใช้ตัวแบบเครือข่ายนโยบาย. Modern Management Journal, 11(2), 39–57. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/stou-sms-pr/article/view/16937