การพัฒนาศักยภาพกลุ่มสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์สู่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กรณีศึกษา กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปอาหารจากกล้วย

Authors

  • ทิชากร เกษรบัว
  • อรวิริยา นามสวัสดิ์

Keywords:

วิสาหกิจชุมชน, วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม, Community Enterprise, Small and Medium Enterprises

Abstract

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการบริหารจัดการ (2) พัฒนาช่องทางการทำการตลาด และ (3) พัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูอาหารจากกล้วย เพื่อให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปอาหารจากกล้วยสามารถเข้าสู่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมได้ การวิจัยครั้งนี้ ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณ โดยใช้ประชากร 2 กลุ่ม ประกอบด้วย 1) กลุ่มผู้ประกอบการ จำนวน 17 คน 2) กลุ่มตัวแทนจำหน่าย 10 คน และกลุ่มตัวอย่าง 1 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้บริโภคผลิตภัณฑ์ของวิสาหกิจชุมชนแปรรูปอาหารจากกล้วย จำนวน 385 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบไม่ทราบประชากร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม ผลการวิจัยพบว่า (1) ด้านการบริหารจัดการ พบว่า กลุ่มมีการกำหนดวัตถุประสงค์และนโยบายในการทำงาน มีการแบ่งหน้าที่กันทำงาน มีการลงบัญชีรายรับ-รายจ่าย มีการรายงานผลการดำเนินงานเป็นรายปี รวมทั้งมีการจ่ายเงินปันผลให้แก่สมาชิกทุกสิ้นปี โดยการเข้าเป็นสมาชิกของกลุ่มไม่มีการกำหนดคุณสมบัติแน่นอนของสมาชิก สมาชิกสามารถเข้า-ออกกลุ่มได้ตลอดเวลา (2) ด้านการช่องทางการจัดจำหน่าย พบว่า ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มฯ ไม่มีปัญหาในด้านการจำหน่าย แต่มีปัญหาหลักอยู่ 2 ประการคือ ด้านผลิตภัณฑ์ของกลุ่มมีคู่แข่งขันเป็นจำนวนมาก และยังขาดในเรื่องรายละเอียดที่สำคัญในบรรจุภัณฑ์ ทางผู้วิจัยจึงได้ทำการออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างความแตกต่างให้กับสินค้าเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันในตลาด นอกจากนี้ยังได้มีการเสนอแนะให้ผู้ประกอบการเปลี่ยนจากการทำตลาดเชิงรับ เป็นการผลิตตามคำสั่งซื้อ เนื่องจากสินค้าของกลุ่มฯ มีความคล่องตัวในการจำหน่าย ดังนั้นถ้าเปลี่ยนมาเป็นผลิตตามคำสั่งซื้อจะทำให้ลดความเสี่ยงในเรื่องการทำตลาดลงได้ (3) ด้านบรรจุภัณฑ์ พบว่า ผู้บริโภคไม่มีปัญหาเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์แบบเดิม ผู้บริโภคให้ความสำคัญต่อความปลอดภัยในการรับประทานเพียงอย่างเดียว สำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ต้องการที่จะปรับปรุงบรรจุภัณฑ์ใหม่เนื่องจากบรรจุภัณฑ์แบบเดิมไม่แสดงความเป็นเอกลักษณ์ของกลุ่ม ผู้วิจัยจึงได้จัดทำรูปแบบบรรจุภัณฑ์เป็นต้นแบบจำนวน 6 แบบ และนำแบบดังกล่าวไปสอบถามยังสมาชิกในกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จึงได้แบบบรรจุภัณฑ์ที่มีการพัฒนาที่ดีที่สุดจำนวน 1 แบบ

คำสำคัญ : วิสาหกิจชุมชน, วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

 

ABSTRACT

The objectives of this research are: 1) to investigate the management approach; 2) to expand the marketing channels; and 3) to develop the appearance of the packaging of the local manufacturers producing the processed banana food products in Thailand, for promoting and advancing those entrepreneurs to Small and Medium Enterprises (SMEs).

This research was conducted by both qualitative and quantitative methods. The 2 groups of participants consisted of 1) a group of 17 local manufacturers and 10 product vendors, and 2) a group of 385 consumers of the processed banana food products. The nonprobability sampling and questionnaire were administered as the sampling technique and research instrument consecutively.

The research important findings were categorized and reported in 3 aspects which are the followings;

1) Managerial aspect of the findings showed that to some extent, there was a systematic management among the local manufacturers. The goal and policies of each manufacture were stated clearly. Also, the tasks allocation, the basic income and expense accounting, the annual turnover reports and dividend payments had been found while the research was conducted. The qualification of cooperative membership was an unclarified issue due to the members were allowed to commence or terminate their enrollments at anytime.

2) Distributed aspect of the findings showed that there were 2 important obstacles for the product distribution. In this case, the highly competitive problem was priority followed by the packaging design lacking in necessary and sufficient detail problem. Eventually, the researchers had designed the new packaging for the processed banana food product in order to make difference and increase competitiveness in widespread market. Moreover, the researchers also suggested the OTOP manufacturers to change their markets orientation from passive to made-to-order marketing which can help reduce the business risk.

3) Packaging design aspect of the findings showed that the processed banana food product consumers had a positive attitude for the original packaging and concerned mostly about the hygienic conditions of the package. Some of the local entrepreneurs also wanted to redesign the product packaging for explicating the unique identity of community. Therefore, the researchers had created 6 designed packaging prototypes of the product and conducted the survey to evaluate the entrepreneurs’ satisfaction and find out the most satisfying design eventually.

Keywords : Community Enterprise, Small and Medium Enterprises

Downloads

How to Cite

เกษรบัว ท., & นามสวัสดิ์ อ. (2014). การพัฒนาศักยภาพกลุ่มสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์สู่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กรณีศึกษา กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปอาหารจากกล้วย. Modern Management Journal, 11(2), 74–86. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/stou-sms-pr/article/view/16939