ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการจัดบริการการสอนเสริมในระบบการสอนทางไกล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช : กรณีศึกษาการจัดบริการสอนเสริม ณ ศูนย์บริการการศึกษากรุงเทพมหานคร

Authors

  • somporn tajiew
  • Chira Prateep
  • Somkane Khamchoom

Keywords:

การสอนเสริม, ระบบการสอนทางไกล, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, Tutorial Instruction, Distance Education, SukhothaiThammathirat Open University.

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัญหาและความต้องการของนักศึกษาในการเข้ารับบริการการสอนเสริมในระบบการสอนทางไกล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช(2) เปรียบเทียบปัญหาและความต้องการของนักศึกษาในการเข้ารับบริการการสอนเสริมในระบบการสอนทางไกล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชจำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล(3) ศึกษาปัญหาเกี่ยวกับการจัดบริการการสอนเสริมในระบบการสอนทางไกล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชและ (4) เสนอแนวทางในการพัฒนาการบริการการจัดกิจกรรมการสอนเสริมในระบบการสอนทางไกล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

                  ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้จำนวนรวมทั้งสิ้น 5,783 คน กลุ่มตัวอย่างได้จากการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครจซี่และมอร์แกน จำนวนรวมทั้งสิ้น 493 คน โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ (1) นักศึกษาที่เข้ารับบริการการสอนเสริมจำนวน 357 คน และ (2) อาจารย์สอนเสริมจำนวน 118 คน ซึ่งได้จากการสุ่มอย่างง่าย (3)  ผู้อำนวยการศูนย์บริการการศึกษา รองผู้อำนวยการศูนย์บริการการศึกษา และเจ้าหน้าที่ศูนย์บริการการศึกษากรุงเทพมหานคร จำนวน 18 คน ได้จากการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อการวิจัยในครั้งนี้เป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟ และการวิเคราะห์เนื้อหา

            ผลการวิจัยพบว่า (1) นักศึกษาส่วนใหญ่มีปัญหาในการเข้ารับบริการการสอนเสริมโดยรวมอยู่ในระดับมาก และในขณะเดียวกันนักศึกษาส่วนใหญ่มีความต้องการในการเข้ารับบริการการสอนเสริมอยู่ในระดับมากที่สุด (2) นักศึกษาที่มีเพศ อายุ สถานภาพการทำงาน  และระยะเวลาของหลักสูตรที่ศึกษาต่างกันมีปัญหาในการเข้ารับบริการการสอนเสริมไม่แตกต่างกัน ส่วนนักศึกษาที่มีระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือนต่างกันมีปัญหาในการเข้ารับบริการการสอนเสริมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05(3) นักศึกษาที่มีเพศ อายุ รายได้ต่อเดือนต่างกันมีความต้องการในการเข้ารับบริการการสอนเสริมไม่แตกต่างกัน ส่วนนักศึกษาที่มีระดับการศึกษา  และสถานภาพการทำงานต่างกันมีความต้องการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในขณะที่นักศึกษาที่มีระยะเวลาของหลักสูตรที่ศึกษาต่างกันมีความต้องการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (4) แนวทางในการพัฒนาการให้บริการการจัดกิจกรรมการสอนเสริมในระบบการสอนทางไกลที่สำคัญ ได้แก่ มหาวิทยาลัยกับศูนย์บริการการศึกษากรุงเทพมหานครควรร่วมกันกำหนดนโยบายหลักในการให้ความร่วมมือเพื่อบริการการจัดกิจกรรมการสอนเสริมโดยพัฒนาศูนย์บริการการศึกษา มสธ.ให้เป็นศูนย์บริการนักศึกษาเบ็ดเสร็จ  มหาวิทยาลัยควรจัดสรรสื่อและวัสดุอุปกรณ์ที่ทันสมัย เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องฉายภาพโปรเจคเตอร์  ในขณะเดียวกันมหาวิทยาลัยควรจัดให้มีการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารการจัดบริการการสอนเสริม และกิจกรรมอื่นให้รวดเร็วและต่อเนื่องอย่างสม่ำเสมอ และมหาวิทยาลัยควรจัดสรรงบประมาณในการดำเนินการให้กับศูนย์บริการการศึกษาให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน

Abstract


This research aims to  (1) study the problems and needs of the students in the tutorial instruction service (2) compare the problems and needs of the students to problems of tutorial instruction service, SukhothaiThammathirat Open University(3) study problems of tutorial instruction service in a distance teaching. (4) proposed suggestions on development direction for tutorial instruction service in Distance Education of SukhothaiThammathirat Open University.

                 The population in this study, a total of 5,783 persons,wascalculatedfrom the Krejcie and Morgan table to determine the size  of the sample, total of 493 people.  The samples used in this study were divided into three groups: (1)  357 STOU students;  (2) 118 tutor’s instructors were sample random sampling; (3) Director of Education Services Centre, deputy center director and educational service staff 18 persons from the purposive sampling. The instrument used in this study was a questionnaire and interviews. The statistics used for analysis of data included frequency, percentage,  mean, standard deviation, t-test, F-test and content analysis.

            The results showed that (1) students face difficulties in receiving tutorial instruction services overall at the high level while most students are required to attend tutorial instruction service; (2) student with different gender, age, occupational status and duration of the course of study has a different problem, however getting extra tutorial instruction service is no different. Students with higher levels of education and monthly income have trouble receiving tutorial instruction services vary statistically significant at .05; (3) students with different gender, age, monthly income were not different in the need to arrival recitations. Students with higher levels of education and occupational status have different needs statistically significant at .05, while students with a period of course, different studies have different needs statistically significant at .001; (4) guidelines to improve service activities Education Supplement 4.1) the University and Education service center in Bangkok should mutually formulate policy in order to develop education service centers to on-stop service center 4.2) the University should allocate media and materials, advanced equipment, such as computers L.C.D. projector 4.3) The University should quickly, continuously and consistently provide related educationinformation to arrange tutoring, and 4.4) the University should allocate fund to education service center in accordance with the current economy.

Downloads

Additional Files

Published

2015-02-06

How to Cite

tajiew, somporn, Prateep, C., & Khamchoom, S. (2015). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการจัดบริการการสอนเสริมในระบบการสอนทางไกล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช : กรณีศึกษาการจัดบริการสอนเสริม ณ ศูนย์บริการการศึกษากรุงเทพมหานคร. Modern Management Journal, 12(2), 105–120. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/stou-sms-pr/article/view/21577