การศึกษาพฤติกรรมการเป็นสมาชิกภาพที่ดีขององค์การภาครัฐของไทย :ศึกษากรณีข้าราชการในมหาวิทยาลัยของรัฐเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล

Authors

  • rujee amarit
  • Patom Maneerod
  • Pharkphoom Rukhamate
  • Rutchaneekool Pinyopanuvat

Keywords:

พฤติกรรมการเป็นสมาชิกภาพที่ดีขององค์การ, แรงจูงใจในการบริการสาธารณะ, ความผูกพันต่อองค์การ, ตัวแปรเงื่อนไข, organizational citizenship behavior, public service motivation, organizational commitment, moderator variable

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและทดสอบโมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุของพฤติกรรมการเป็นสมาชิกภาพที่ดีขององค์การภาครัฐของไทย ได้แก่ แรงจูงใจในการบริการสาธารณะ ความเป็นพวกพ้อง และความยุติธรรมในองค์การ มุ่งทดสอบความผูกพันต่อองค์การในฐานะตัวแปรเงื่อนไขที่มีอิทธิพลต่อความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการบริการสาธารณะและพฤติกรรมการเป็นสมาชิกภาพที่ดีขององค์การภาครัฐของไทย กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้เป็นข้าราชการในมหาวิทยาลัยของรัฐ เขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล  6 แห่ง จำนวน 600 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้การ วิเคราะห์สมการเชิงโครงสร้างและการวิเคราะห์กลุ่มพหุ เพื่อทดสอบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและการทดสอบปัจจัยเงื่อนไข

            ผลการศึกษาพบว่า โมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุของพฤติกรรมการเป็นสมาชิกภาพที่ดีขององค์การภาครัฐของไทย ที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีค่า l2 = 203.89, df = 72, p =  0 .  000,   l2/df   = 2. 8 3 ,  GFI = .99, AGFI = .98, RMR = .004, RMSEA = 0.055   และตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมการเป็นสมาชิกภาพที่ดีขององค์การได้ร้อยละ 47 และโมเดลอิทธิพลปัจจัยเงื่อนไขความผูกพันต่อองค์การ มีอิทธิพลต่อความสัมพันธ์ทางบวกระหว่างแรงจูงใจในการบริการสาธารณะ  และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกภาพที่ดีขององค์การภาครัฐของไทย มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยการทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลตัวแปรเงื่อนไขความผูกพันต่อองค์การ มีค่า l2 = 326.12, df) = 156, p = 0.000, l2/df = 2.09,  CFI = 0.97, RMSEA = 0.060 โดยแบ่งเป็นกลุ่มที่มีความผูกพันต่อองค์การสูงและต่ำ และตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรพฤติกรรมการเป็นสมาชิกภาพที่ดีขององค์การได้ร้อยละ 35 และ 25 ตามลำดับ

Abstract

The purposes of this study were to develop and validate a causal model of organizational citizenship behavior, namely, public service motivation, patronage, organizational justice. In addition, organizational commitment was also tested as moderator effecting the relationship between public service motivation and organizational citizenship behavior. The samples were 600 permanent staff in Thai public universities within the six public universities in Greater Bangkok Metropolis.  Questionnaire was mainly conducted for data collection.  The LISREL 8.82 software was used for examining the structural equation model (SEM) and multiple group analysis the moderator.

Results from study show that the adjusted model was consistent with empirical data. Goodness of fit measures were found to be: l2 = 203.89, df = 72, p =  0 .  000,   l2/df = 2. 83 ,  GFI = .99, AGFI= .98, RMR = .004, RMSEA = 0.055. The variables in the adjusted model accounted for 47 percent of the variance of organizational citizenship behavior. Organizational  commitment variables interaction positively affecting through interaction effect between public service motivation and organizational citizenship behavior. Goodness of fit measures were found to be: l2= 326.12, df = 156, p = 0.00, l2/df = 2.09, CFI = 0.97, RMSEA = 0.060, and the explained percentages of variance in high and low organizational commitment interaction factor were 35 and 25 respectively.

Downloads

Published

2015-02-05

How to Cite

amarit, rujee, Maneerod, P., Rukhamate, P., & Pinyopanuvat, R. (2015). การศึกษาพฤติกรรมการเป็นสมาชิกภาพที่ดีขององค์การภาครัฐของไทย :ศึกษากรณีข้าราชการในมหาวิทยาลัยของรัฐเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล. Modern Management Journal, 12(2), 37–56. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/stou-sms-pr/article/view/21656