การสังเคราะห์วิทยานิพนธ์ของหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Keywords:
วิทยานิพนธ์, บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาวิชาวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, Thesis, Master Degree in Business Administration, School of Management Science, Sukhothai Thammathirat Open UniversityAbstract
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาคุณลักษณะงานวิจัยวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (2) เพื่อสังเคราะห์ข้อมูลจากงานวิจัยวิทยานิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชของผู้สำเร็จการศึกษาระหว่างปีการศึกษา 2549 ถึง 2553 วิทยานิพนธ์ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้มีจำนวน 146 ฉบับ โดยสืบค้นได้จากห้องสมุดของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบวิเคราะห์เนื้อหา การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา โดยการแจกแจงความถี่ และค่าร้อยละ
ผลการวิจัยพบว่า (1) วิทยานิพนธ์ที่นำมาศึกษาส่วนใหญ่เป็นข้อมูลของวิทยานิพนธ์ที่สำเร็จการศึกษาใน พ.ศ. 2550 - 2551 ลักษณะของหัวข้อเรื่องของวิทยานิพนธ์ส่วนใหญ่ พบว่า เป็นหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับด้านการจัดการมากที่สุด และรองลงมาเป็นหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับด้านการตลาด (2) การสังเคราะห์กระบวนการวิจัย พบว่า วิทยานิพนธ์ทั้งหมดจัดอยู่ในการวิจัยประเภทเชิงปริมาณ ส่วนใหญ่ใช้เป็นแบบสอบถามในการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งปฐมภูมิ โดยเฉพาะลูกค้า และผู้ปฏิบัติงาน ส่วนใหญ่มีการทบทวนวรรณกรรมใช้เนื้อหาจากตำรา อ้างอิงงานวิจัยวิทยานิพนธ์ในประเทศ ส่วนทฤษฎีที่ใช้ในการวิจัยเป็นทฤษฎีพื้นฐานทางการบริหาร และพื้นฐานการตลาด นิยามศัพท์เป็นการใช้คำจำกัดความทั่วไป การกำหนดสมมติฐานการวิจัยเป็นแบบมีทิศทาง การกำหนดขนาดตัวอย่างใช้สูตรทาโร่ยามาเน่ วิธีการสุ่มตัวอย่างใช้แบบสัดส่วนมากที่สุด สถิติที่ในการวิเคราะห์ข้อมูลส่วนใหญ่เป็นสถิติเชิงพรรณนาร่วมกับสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ สถิติทดสอบค่าที และสถิติทดสอบความแปรปรวนทางเดียว
ผลที่ได้จากการศึกษาสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนางานวิจัยวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช โดยการพัฒนากระบวนการการเรียนรู้ด้านวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาให้มีประสิทธิภาพ
Abstract
The aims of this study were: (1) to examine the characteristic of Master theses in Business Administration of Sukhothai Thammathirat Open University; (2) to analyse the research data from Master theses in Business Administration of Sukhothai Thammathirat Open University during the period of 2006 and 2010. A total of 146 theses were searched from the library of Sukhothai Thammathirat Open University published during the period of 2006 and 2010. Data were collected by using the checklist instrument including research topics, method of study design and data analyses. Descriptive statistics including frequency and percentage were used to analyse the data.
The results showed that (1) the vast majority of Master theses in Business Administration published in the years of 2007-2008. In terms of research topics, most theses were conducted in the management topics and followed by the marketing research topics. (2) In terms of methodology, most research theses were quantitative and survey-based. The questionnaire survey was considered as the research approach to gather primary data from customers and employees. In addition, it was found that the literature survey of all theses examined only textbooks and theses in Thai version with limited English articles. There were two main theories applied in the most theses including basic of management and fundamental of marketing theories. The research variables were most defined by conceptual definitions. An alternative hypothesis approach was mostly set in thesis assumptions as well as the Taro Yamane formula was mostly applied to calculate the research sample size. Among the various sampling methods, the purposive technique was selected in most thesis samples. For statistical analyses, descriptive and inferential statistics including t-test, and one-way analysis of variance were mostly used in analysis.
The findings of the study can be utilized to develop the research outcomes of Master theses in Business Administration of Sukhothai Thammathirat Open University. The management should provide and gain the learning process of postgraduate research to be efficiently.