การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจในการวิจัยองค์การ

Authors

  • Preeyanuch Apibunyopas

Keywords:

การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ, การวิจัยองค์การ, Exploratory factor analysis, Organizational research

Abstract

บทคัดย่อ

การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจเป็นเครื่องมือที่สำคัญสำหรับนักวิจัยองค์การ ในการช่วยทำให้ตัววัดชัดขึ้นและสามารถประเมินความตรงตามโครงสร้างได้ ปัญหาที่นักวิจัยส่วนใหญ่เผชิญคือ 1. จะใช้รูปแบบการสกัดองค์ประกอบแบบใด ( Components หรือ Common factors) 2. จะใช้การประเมินการหมุนแกนองค์ประกอบวิธีใด (Orthogonal หรือ Oblique) 3. จะใช้เกณฑ์อะไรประกอบการตัดสินใจถึงจำนวนขององค์ประกอบ (Eigenvalues มากกว่า   1 ) บทความนี้ มีวัตถุประสงค์คือ การวิเคราะห์เกณฑ์สำหรับการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจในองค์การแห่งการเรียนรู้โดยพิจารณาประเด็นที่กล่าวข้างต้น เน้นแง่มุม 2 ด้านขององค์การแห่งการเรียนรู้นั่นคือ ลักษณะของบุคลากรและความพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมยานยนต์ ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบการสกัดองค์ประกอบคือ Common factor เนื่องจากตอบวัตถุประสงค์ของการลดจำนวนตัวแปรและการแปลความหมายของตัวแปรในรูปขององค์ประกอบได้ดี Oblique เป็นวิธีการหมุนแกนองค์ประกอบเพราะให้ค่าที่เป็นความจริงมากกว่าและให้โครงสร้างที่ง่าย งานวิจัยนี้ใช้หลายเกณฑ์ประกอบการตัดสินใจ

 

คำสำคัญ : การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ  การวิจัยองค์การ

 

ABSTRACT

 

Exploratory factor analysis (EFA) is an important tool for organizational researchers.  It can be useful for refining measures and evaluating construct validity.  The problems facing most of the organizational researchers are 1. What factor extraction model to use (i.e. components rather than common factors)? 2. What type of rotation to use (i.e. orthogonal rather than oblique)? 3. What criteria to use for deciding on the number of factors to retain (e.g., eigenvalues greater than one)?  The objective of this study is to analyze criteria of conducting exploratory factor analysis on learning organization considering all the issues mentioned above.  Two aspects of learning organization are picked up: they are employee characteristics and readiness to change.  The automobile industry has been chosen for this study. The result shows that the factor extraction model used is common factor model since the purposes of the study are reduction of variables and interpretation of the resulting variables in terms of latent construct.  Type of rotation used is oblique rotation because it represents reality better and produces better simple structure.  Multiple criterions were used to decide on the number of factors to retain in this study. 

 

Keywords: Exploratory factor analysis, Organizational research

Downloads

Published

2016-01-15

How to Cite

Apibunyopas, P. (2016). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจในการวิจัยองค์การ. Modern Management Journal, 13(2), 23–36. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/stou-sms-pr/article/view/59155

Issue

Section

Research Articles