การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมสมรรถนะวิชาชีพช่างไฮดรอลิกส์อุตสาหกรรม
คำสำคัญ:
มาตรฐานอาชีพ, การฝึกอบรมแบบฐานสมรรถนะช่างไฮดรอลิกส์อุตสาหกรรมบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงคเพื่อ พัฒนามาตรฐานอาชีพ พัฒนารูปแบบการฝึกอบรมสมรรถนะวิชาชีพช่างไฮดรอลิกส์และพัฒนาโมดูล ฝึกอบรมสมรรถนะวิชาชีพช่างไฮดรอลิกส์การดําเนินงานวิจัยมี 5 ขั้นตอน คือ 1) เพื่อพัฒนามาตรฐานอาชีพช่างไฮดรอลิกส์อุตสาหกรรม โดยผู้ทรงคุณวุฒิจํานวน 10 ท่าน ประเมินและให้ ข้อเสนอแนะเพื่อแก้ไขปรับปรุง 2) การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมสมรรถนะวิชาชีพช่างไฮดรอลิกส์อุตสาหกรรม โดยใช้กระบวนการตามวิธีระบบ (System Approach) ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญจํานวน 5 ท่าน ประเมินความเหมาะสมและให้ข้อเสนอแนะ 3) การพัฒนาโมดูลฝึกอบรมสมรรถนะวิชาชีพช่างไฮดรอลิกส์อุตสาหกรรมเพื่อใช้ในการฝึกอบรมโดยผู้เชี่ยวชาญจํานวน 5 ท่าน หาค่าความสอดคล้องของวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมกับเกณฑ์การประเมินผลหาความตรงของแบบทดสอบและแบบประเมินผลงานปฏิบัติ และความเหมาะสมของโมดูลฝึกอบรม 4) การฝึกอบรมสมรรถนะวิชาชีพช่างไฮดรอลิกส์อุตสาหกรรมซึ่งมีการจัดการฝึกอบรมในทั้งสองส่วนคือในรูปแบบการฝึกอบรมปรกติและการฝึกอบรม ผ่านระบบออนไลน์โดยนําโมดูลฝึกอบรมไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างจํานวน 23 คน 5) การประเมินสมรรถนะผู้รับการฝึกอบรมโดยผู้ประเมินสมรรถนะจํานวน 3 ท่าน ประเมินสมรรถนะผู้ผ่านการฝึกอบรมโดยใช้แบบประเมินที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นร่วมกับผู้ประเมินสมรรถนะ ซึ่งการประเมินสมรรถนะพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานด้านความรู้ และร่องรอยหลักฐาน ด้านทักษะที่เกิดขึ้นจากกระบวนการฝึกอบรม
ผลการวิจัย 1) มาตรฐานอาชีพช่างไฮดรอลิกส์อุตสาหกรรม ประกอบด้วย 5 หน้าที่หลัก (Key Function) 28 หน่วยสมรรถนะ (Units of Competency) และ 71 สมรรถนะย่อย (Element of Competency) 2) รูปแบบการฝึกอบรมสมรรถนะวิชาชีพช่างไฮดรอลิกส์อุตสาหกรรม ประกอบด้วยองค์ประกอบทั้งสิ้น 6 องค์ประกอบ และมีความเหมาะสมอยู่ในระดับดี ( = 4.60 , S.D = 0.894) 3) โมดูลฝึกอบรมสมรรถนะวิชาชีพช่างไฮดรอลิกส์อุตสาหกรรม ประกอบด้วย 8 ผลลัพธ์การเรียนรู้ และมีผลการประเมินความเหมาะสมอยู่ในระดับดี (= 4.63, S.D = 0.548) 4) ผลการฝึกอบรมของผู้เข้าอบรมทั้ง 23 คนมีผลสัมฤทธิ์อยู่ในระดับคะแนนสูงกว่าร้อยละ 80 และผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความพึงพอใจต่อกระบวนการฝึกอบรม อยู่ในระดับดี (= 4.54 , S.D = 0.507) และ 5) ผลการประเมินสมรรถนะผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถผ่านการประเมินสมรรถนะได้ทุกคนจะเห็นได้ว่าระบบการฝึกอบรมโดยใช้หลักสูตรฐานสมรรถนะเป็นการอบรมที่เน้นสมรรถนะของคน และใช้วิธีการฝึกอบรมฐานสมรรถนะทําให้การพัฒนากําลังคนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสอดคล่องกับแนวทางพัฒนาขีดความ สามารถในการแข่งขันในประเทศ
References
กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์. (2553). สมรรถนะวิชาชีพ. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ผลิตตําราเรียน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
กีรติ ยศยิ่งยง. (2549). ขีดความสามารถ (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: มิสเตอร์ก๊อปปี้
คมธัช รัตนคช. (2552). การแปลงมาตรฐานสมรรถนะมาเป็นหลักสูตรฐานสมรรถนะ. สืบค้นเมื่อ 7 กันยายน 2559, จาก http://home.dsd.go.th/techno/trainingsystem/index.php?option=com_content &view=article&id=65%3A2010-02-04-05-35-39&catid=49%3Acbc&Itemid=59
คมธัช รัตนคช, และดนุพล คลอวุฒินนท์. (2552). รูปแบบการฝึกที่เหมาะสมกับการพัฒนาทักษะปฏิบัติ. สืบค้นเมื่อ 7 กันยายน 2559, จาก http://home.dsd.go.th/techno/trainingsystem/index.php?option=com_content&view=article&id77:2010-05-05-04-47-36&catid=53:-53-2& Itemid=71
จงกลนี ชุติมาเทวินทร์. (2544). การฝึกอบรมเชิงพัฒนา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: พี เอฟ ลีฟวิ่ง จํากัด.
จะเด็ด เปาโสภา, และมนตรี พรหมเพ็ชร. (2548). การพัฒนามาตรฐานสมรรถนะเพื่อนําไปสู่การพัฒนามอดูล. ในเอกสารประกอบการประชุมทางวิชาการ เรื่อง การพัฒนามาตรฐานอาชีพเพื่อนำสู่การจัดทำหลักสูตรฐานสมรรถนะสำหรับ 15 กลุ่มวิสาหกิจยุทธศาสตร์.สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2559, จาก http://www. nsdv.go.th/industrial/competence/download/3-competence.pdf
ชนะ กสิภาร์. (2549). “หลักการของนวัตกรรมและนวัตกรรมทางด้านอาชีวศึกษาและการฝึกอบรม” (เอกสารประกอบการสอนนักศึกษาระดับปริญญาเอก รายวิชานวัตกรรมการศึกษา). กรุงเทพมหานคร: คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
ชนะ กสิภาร์. (ม.ป.ป.). การพัฒนาฐานสมรรถนะ. สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2559, จาก http://www.nsdv.go.th/industrial/competence/download/profchana.pdf
ชาญ สวัสดิ์มาลี. (2542). คู่มือนักฝึกอบรมมืออาชีพ: การจัดดําเนินการฝึกอบรมอย่างมีประสิทธิผล (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สวัสดิการสํานักงาน ก.พ.
ชูชัย สมิทธิไกร. (2551). การฝึกอบรมบุคลากรในองค์การ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์หาวิทยาลัย
Cascio, Wayne F. (1986). Management Human Resoures: Productiviy, Quality of Work Life, Profits. New York: McGraw-Hill,
Davies, I. K. (1971). The Management of Learning. London: McGraw-Hill.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในสถาบันฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว