ศึกษาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะครูสอนภาษาอังกฤษตามความต้องการของผู้จ้างงาน เพื่อการเป็นครูมืออาชีพใน สปป ลาว
คำสำคัญ:
สมรรถนะ, ครูสอนภาษาอังกฤษ, สปป.ลาวบทคัดย่อ
การวิจัยเพื่อศึกษาสมรรถนะของครูผู้สอนภาษาอังกฤษตามความต้องการของผู้จ้างงานและเพื่อสร้างรูปแบบการเตรียมความพร้อมสมรรถนะของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในคณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาภาษาอังกฤษ ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ผู้วิจัยใช้การวิจัยแบบผสานวิธีโดยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสนทนากลุ่มผู้จ้างงาน 9 คน เพื่อศึกษาสมรรถนะของครูสอนภาษาอังกฤษตรงตามความต้องการของผู้จ้างงาน ในประเด็น บทบาทของวิชาชีพครู สมรรถนะหลัก สมรรถนะตามบทบาทหน้าที่ สมรรถนะเชิงเทคนิค และวิธีวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามการสำรวจความคิดเห็นผู้จ้างงานทั้งภาครัฐบาลและเอกชน จำนวน 9 คน เพื่อศืกษาหาระดับสมรรถนะตามความต้องการของผู้จ้างงาน และสำรวจความคิดเห็นของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในคณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาภาษาอังกฤษ ปีที่ 1-4 มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว จำนวน 164 คน เพื่อสำรวจความคิดเห็นสมรรถนะของตนเอง โดยใช้สอบถามแบบ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการคำนวณหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เปรียบเทียบเพื่อหาระดับสมรรถนะตามความต้องการของผู้จ้างงาน
ผลการวิจัย พบว่า สมรรถนะครูสอนภาษาอังกฤษตามความต้องการของผู้จ้างงาน การสนทนากลุ่มโดยผู้จ้างงาน 9 คน เห็นด้วยคิดเป็น 100% กับ 4 สมรรถนะ 1) บทบาทหน้าที่ของครู 2) สมรรถนะหลักของวิชาชีพครู 3) สมรรถนะตามบทบาทหน้าที่ และ 4) สมรรถนะเชิงเทคนิค ที่ประกอบมี 22 ตัวบ่งชี้ และ147 ข้อย่อย ในการประเมินสมรรถนะเกี่ยวกับบทบาทวิชาชีพครูสอนภาษาอังกฤษตามความต้องการของผู้จ้างงานมี Mean รวม = 4.52 และ S.D = 0.243 สมรรถนะหลักของครูสอนภาษาอังกฤษ มี Mean รวม = 4.51 และ S.D =0.314 สมรรถนะตามบทบาทหน้าที่ของครูสอนภาษาอังกฤษ มี Mean รวม = 4.49 และ S.D = 0.20 และสมรรถนะเชิงเทคนิคของครูสอนภาษาอังกฤษ มี Mean รวม = 4.52 และS.D = 0.24 การประเมินสมรรถนะตนเองของนักศึกษาครูสอนภาษาอังกฤษเกี่ยวกับบทบาทที่ Mean รวม = 4.21 และค่า S.D = 0.40 สมรรถนะหลักของนักศึกษามี Mean รวม = 4.22 และ S.D = 0.38 สมรรถนะตามบทบาทหน้าที่ของนักศึกษาครูมี Mean รวม 4.27 และS.D = 0.35 และสมรรถนะเชิงเทคนิคของนักศึกษาครูมี Mean รวม 4.19 และ S.D = 0.44 และจากผลการวิเคราะเปรียบเทียบระดับสมรรถนะตามความต้องการของผู้จ้างงาน พบว่า ผู้จ้างงานมีความต้องการครูสอนภาษาอังกฤษที่มีสมรรถนะเกี่ยวกับวิชาชีพครู สมรรถนะหลัก สมรรถนะตามบทบาทหน้าที่ และสมรรถนะเชิงเทคนิคอยู่ที่ระดับมากที่สุด เชิงผลการประเมินสมรรถนะตนเองของนักศึกษาครูสอนภาษาอังกฤษที่จะเป็นครูสอนในอนาคตนั้นอยู่ที่ระดับมาก เชิงนักศิกษายังต้องพัฒนาอีกระดับเพื่อให้มีความพร้อมในการทำงาน
References
ชรอยวรรณ ประเสริฐผล อนุชา กอนพ่วง วิทยา จันทร์ศิลา และฉลอง ชาตรูประชีวิน. (2013). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของครูใหม่โรงเรียนเอกชน ประเภทสามัญศึกษา. วารสารศึกษาศาตร์มหาวิทยาลัยนาเรศวร, 15(5), 5-7.
ทวีป อภิสิทธิ์. (2551). เทคนิคการเป็นวิทยากรและนักฝึกอบรม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
นลินี ณ นคร. (2018). การพัฒนาครูเพื่อส่งเสริมสมรรถนะด้านการประเมินความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน ระดับประถมศึกษาด้วยภูมิปัญญาของศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ (วิจิตรศิลป์). วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 41(1), 89-100.
แผนยุทธศาสตร์การปฏิรูประบบการศึกษาแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2548-2558. (2551)
พรพิมล ประสงค์พร. (2550). ครูกับความรู้ในการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ. วารสารวิชาการ, 10(3), 12-17.
ภัทรนรินทร์ บิชอป, ทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน, และอมร มะลาศรี. (2559). การพัฒนาตัวบ่งชี้การประเมินสมรรถนะครูต่างชาติที่สอนวิชาภาษาอังกฤษในระดับประถมศึกษา. วารสารการวัดผลการศึกษามหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 22(2), 247-261.
ศูนย์ข้อมูลความรู้ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. (2555). องค์ความรู้ "ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC). จาก http://www.lampangvc.ac.th/lvcasean/page_asean.htm
ศูนย์อาเซียน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย. (2015). ข้อมูลการค้าการลงทุนลาว. จาก http://www. fact.fti.or.th/th/การค้าการลงทุน-ลาว
สุคนธ์ สินธพานนท์, และจินตนา วีรเกียรติสุนทร. (2556). การจัดการเรียนรู้ของครูยุคใหม่...สู่ประชาคมอาเซียน. กรุงเทพฯ: 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.
เอกสารมติกองประชุมใหญ่ ครั้งที่ 9 ของพรรคประชาชนปฏิวัติลาว. (2554)
AEC Job Listing. (2015). อะไรที่นายจ้างคาดหวังจากพนักงานใหม่. จาก https://www.aecjoblisting.com/advice/นายจ้างคาดหวัง-พนักงาน
Deere of Minister of Ministry of Education and Sports Lao. No 1232, 2010
Dursun Demira, & Ayten Genç (2019). Academic Turkish for international students: Problems and suggestions. Journal of Language and Linguistic Studies, 15(1), 38-42.
Kunyapat Pongpanic. (2018). Analysis of Factors and Competency Indicators of the Teaching and Learning of Kindergarten Teachers Using Thai as a Second Language. Journal of Yala Rajabhat University, 13(1), 7-9.
Metheesin Som-um-charn, Witthaya Chansila, Samran Meejang, & Panya Sungkawadee. (2556) A Model of Competency Development for Industrial Instructors in Colleges under the Office of Vocational Education Commission, Journal of Education Naresuan University, (15), 175-176.
Prapphal, K. (2000, March 23-25). "Self-Evaluation of Language Skills and Non-Linguistic Factors through WWW and E-Mail Tasks." Paper Presented at the 3rd Conference on the Use of New Technologies in Foreign Language Teaching, the University of Technology of Compiegne, France.
Preud Bairaman, Sungworn Ngudgratoke, Nalinee Na Nakorn. (2561). An Evaluation of Alignment between French Language National Test and the Common European Framework of Reference for Languages Using Item Mapping. Academic Services Journal, Prince of Songkla University, 29(3), 155-161.
Shukla, S. (2014). Teaching Competency, Professional Commitment and Job Satisfaction A Study of Primary School Teachers. IOSR Journal of Research & Method in Education (IOSR-JRME), 4(3), 44-64.
Wordpress. (2014). available at https://wordpress.com/,accessed in, 17-2-2014.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในสถาบันฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว