ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยเอกชนในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • กาญจนา หรูเจริญพรพานิช และ พงษ์เสฐียร เหลืองอลงกต สถาบันการศึกษา

คำสำคัญ:

ปัจจัยที่มีอิทธิพล, ประสิทธิผลการดำเนินงาน, มหาวิทยาลัยเอกชน

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับประสิทธิผลการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยเอกชนในประเทศไทย 2) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยเอกชนในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย อธิการบดี  รองอธิการบดี คณบดีและรองคณบดี จำนวน 400 คน จาก 42 มหาวิทยาลัยเอกชนในประเทศไทย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณเป็นแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาความถี่  ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ

     ผลการวิจัยพบว่า

     1. ระดับประสิทธิผลการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยเอกชนในประเทศไทยในภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกรายด้าน พบว่าทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย คือ ความผูกพันต่อองค์การ การจัดการทรัพยากร การปรับตัวขององค์การและการบรรลุเป้าหมาย ตามลำดับ  

     2. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยเอกชนในประเทศไทยได้แก่ 1) โครงสร้างองค์การ 2) ภาวะผู้นำ 3) กลยุทธ์ทางการบริหาร 4) งบประมาณ และ 5) คุณลักษณะของบุคลากร โดยมีประสิทธิภาพการทำนายร้อยละ 41.50

References

คม สุวรรณพิมล. (2551). การบรรลุเป้าหมาย. กรุงเทพฯ: พิฆเณศ พริ้นท์ติ้ง เซ็นเตอร์.

ชัชฎา เกษมทรัพย์. (2551). กลยุทธ์การปรับตัวทางการจัดการของธุรกิจรับเหมาก่อสร้างในเขต อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาวิชาบริหารธุรกิจ, คณะวิทยาการจัดการ, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ดารุณี ธรรมประวัติ. (2555). ผลกระทบของประสิทธิผลของงบประมาณที่มีต่อการบรรลุเป้าหมายขององค์กรของธุรกิจอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ บัญชีมหาบัณฑิต, คณะการบัญชีและการจัดการ, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ธัญวรัตน์ อรคำแหง. (2556). บริบทของการจัดการคุณภาพ. สืบค้นจากhttps://www.gotoknow.org/ posts/456832

นูรีมัน ดอเลาะ. (2556). ความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. วารสาร มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 3(3), 110-120.

ประยงค์ มีใจซื่อ. (2550). การบริหารเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พงษ์ศักดิ์ คมแก้ว. (2560). การพัฒนาประสิทธิผลการบริหารจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย. วารสารสุทธิปริทัศน, 31(99), 28-40.

เพ็ญนภา วงศ์นิติกร. (2559). ความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรมหาวิทยาลัยสวนดุสิต. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 12(3), 97-112.

รุจิราพรรณ คงช่วย. (2555). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภูมิศาสตร์ภาคใต้. วิทยานิพนธ์ (ศษ.ด.(การบริหารการศึกษา) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

วารุณี บำรุงสวัสดิ์, วาโร เพ็งสวัสดิ์ และ ศิริดา บุรชาติ. (2554). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดนครพนม. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 1(2), 39-46. สืบค้นจาก https://www.npu.ac.th/npujournal /files_research/5/54journal6.pdf

ศราวุธ ชนะบำรุง. (2557). ระบบบริหารทรัพยากรองค์กร ERP. สืบค้นจาก http://www.acn.ac.th/ articles/mod/forum/discuss.php?d=72

ศุภวรรณ หลำผาสุก. (2550). การศึกษาความผูกพันต่อองค์กรของครูโรงเรียนในเครือสารสาสน์เขตพื้นที่การศึกษา 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณะศึกษา ศาสตร์, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สมใจ ลักษณะ. (2552).การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน. กรุงเทพฯ: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2550). กรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2551 - 2565). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

โสมย์สิรี มูลทองทิพย์. (2556). ความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรทีปฏิบัติงานในโรงเรียนมัธยมศึกษา อําเภอท่ามะกา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน, คณะวิทยาการจัดการ, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อัญชนา พานิช. (2550). องค์ประกอบประสิทธิผลองค์การของมหาวิทยาลัยราชภัฏ. ดุษฏีนิพนธ์บริหารการศึกษาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อุทัย นกเผือก.(2554). แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมในการบริหารการศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของกลุ่มโรงเรียน กาญจนาภิเษกวิทยาลัย.วิทยานิพนธ์ปริญญา ค.ม. (การบริหารการศึกษา).กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

Bass, B.M.(1985). Leadership and performance beyond expectations. New York: Basic Books.

Chappin, E., & Van der Lei, T. (2014). Adaptation of infrastructures to climate change: a socio-technical systems perspective. Utilities Policy, 31, 10-17.

Cummings, L. L., & Schwab, D. P. (1973). Performance in organizations: determinants and appraisal. Glenview, IL: Scott, Foresman.

Dale, E. (1969). Audio - Visual Methods in teaching (3rd ed). New York: Holt, Rinehart and Winston.

EnCarta. (1999). Encarta encyclopedia dictionary- encarta -definition & facts. Retrived from https://encata.net/

Galbraith, J. K. (1967). The new industrial state. Boston, MA: Houghton Mifflin.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J. & Anderson, R. E. (2010). Multivariate data analysis: A global perspective (7thed.). New Jersey: Pearson Education.

Kast, F. E., & Rosenzweig, J. E. (1985). Organization and management (4th ed.). New York:McGraw-Hill.

Katz, D., & Kahn, R. L. (1978). The social psychology of organization (2nd ed.). New York: John Wiley & Sons.

Keller, R.(1980).Transformational leadership and the performance of research and development project Groups. Journal of Management, 18(3), 489-502.

Milton, C. R. (1981). Human behavior in organization: Three level of behavior. New Jersey: Prentice-Hall.

Muller, R. (1976). Kulturgeschichte der Anike I: Griechenland. Von einem Autorenkollektiv unter Leitung v. R.M. Berlin: Akademie-Verlag.

Robbins, S. P. (1993). Organization theory: The structure and design of organization. New Jersey: Prentice -Hall.

Weiten, W. (1991). Psychology applied to modern life: Adjustment in the 90s. California: Brooks Cole.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-25

ฉบับ

บท

บทความวิจัย