ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การ ของพนักงานบริษัทเอกชนในเขตจังหวัดสมุทรปราการ

ผู้แต่ง

  • วิทยา ธาตุบุรมย์ มณฑิรา ลีลาประชากุล นิพิฐพนธ์ สนิทเหลือ วิวัฒน์ วรวงษ์ และ นันทพงศ์ หมิแหละหมัน คณะบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ

คำสำคัญ:

ความผูกพันต่อองค์การ, พนักงานบริษัทเอกชน, บริษัทในจังหวัดสมุทรปราการ

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาถึงระดับปัจจัยลักษณะส่วนบุคคล ปัจจัยลักษณะงานที่ทำ ปัจจัยลักษณะองค์การ ปัจจัยประสบการณ์การทำงาน และความผูกพันต่อองค์การ ของพนักงานบริษัทเอกชนในเขตจังหวัดสมุทรปราการ 2) เพื่อเปรียบเทียบความผูกพันต่อองค์การ ของพนักงานบริษัทเอกชนในเขตจังหวัดสมุทรปราการ เกี่ยวกับปัจจัยลักษณะส่วนบุคคล โดยจำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ระดับตำแหน่งงาน และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 3) เพื่อศึกษาปัจจัยลักษณะงานที่ทำ ปัจจัยลักษณะองค์การ และปัจจัยประสบการณ์การทำงาน ที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การ ของพนักงานบริษัทเอกชนในเขตจังหวัดสมุทรปราการ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ พนักงานที่ทำงานบริษัทเอกชน ที่มีอายุตั้งแต่  18 ปี ขึ้นไป ในเขตจังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 532,600 คน โดยใช้สูตรของ ทาโร ยามาเน่ ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 750 คน ใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทำการทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย t-test, F-test ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และวิเคราะห์ความแตกต่างค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธี Scheffe และศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การ โดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน ด้วยวิธีนำตัวแปรเข้าทั้งหมด

     ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานบริษัทเอกชนในเขตจังหวัดสมุทรปราการ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยพบว่าปัจจัยลักษณะองค์การ อยู่ในระดับมาก ปัจจัยประสบการณ์การทำงาน อยู่ในระดับมาก และปัจจัยลักษณะงานที่ทำ อยู่ในระดับปานกลาง นอกจากนี้ยังพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยประสบการณ์การทำงาน ปัจจัยลักษณะองค์การ และปัจจัยลักษณะงาน  ที่ทำ กับความผูกพันต่อองค์การ ของพนักงานบริษัทเอกชนในเขตจังหวัดสมุทรปราการ มีความสัมพันธ์กันไปในทิศทางเดียวกัน และมีผลต่อความผูกพันต่อองค์การ ของพนักงานบริษัทเอกชนในเขตจังหวัดสมุทรปราการ เรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ ปัจจัยประสบการณ์การทำงาน (Beta = 0.303) ปัจจัยลักษณะองค์การ (Beta = 0.281) และปัจจัยลักษณะงานที่ทำ  (Beta = 0.228) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

     ข้อเสนอแนะในการวิจัยพบว่า ปัจจัยประสบการณ์การทำงานในด้านการเปิดโอกาสให้พนักงานได้มีส่วนร่วมและแสดงความคิดเห็นและตัดสินใจในการปฏิบัติงาน มอบหมายงานที่มีความท้าทาย และควรปรับปรุงสภาพการทำงานในความรับผิดชอบของพนักงานให้น่าสนใจ และไม่รู้สึกเบื่อหน่าย ปัจจัยลักษณะองค์การในด้านความเชื่อมั่นและการยอมรับเป้าหมายและค่านิยมขององค์การ ควรมีการให้ค่าตอบแทนสูงกว่าองค์การอื่น ๆ สำหรับพนักงานดีเด่นเพื่อป้องกันไม่ให้พนักงานลาออก และปัจจัยลักษณะงานที่ทำในด้านความคาดหวังที่ได้รับการตอบสนองจากองค์การควรให้พนักงานได้มีโอกาสพัฒนาความรู้ความสามารถในอาชีพเป็นอย่างดี เช่น ดูงาน ฝึกอบรม เป็นต้น

References

กองสวัสดิการแรงงาน. (2560). คุณภาพชีวิตการทำงาน. อนุสารแรงงาน, 11(4) .

ชลิตา แค่มจันทึก. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการทำงาน ความผูกพันต่อองค์การ ที่มีผลต่อระดับความคิดเห็นด้านพฤติกรรมการทำงาน : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. การค้นคว้าอิสระ. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

นงค์เยาว์ แสวงผล. (2557). อิทธิพลของแรงจูงใจ ความผูกพันในองค์การ การมีส่วนร่วมและสมรรถนะบุคลากรที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท กาสะลองเซรามิคส์ จำกัด จังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์. ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.

วรางคนา ชูเชิดรัตนา. (2557). แรงจงูใจในการพัฒนาความก้าวหน้าในสายอาชีพ การรับรู้ความยุติธรรมในองค์การ และความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรคที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานบริษัทเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ศิริวรรณ แม้นศิริ. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากร สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดฉะเชิงเทรา. การค้นคว้าอิสระ. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

ศรีสุนันท์ วัฒนา. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันในองค์การของพนักงาน บริษัท เอชจีเอสที (ประเทศไทย) จำกัด. วิทยานิพนธ์. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

อุทัย สีสิม. (2558). ความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน บริษัท อารียา พรอพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน). การค้นคว้าอิสระ. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกริก.

Buchanan. (1994). Building Organization Commitment : The Socialization of Managers in Work Organizations. Administrative Science Quarterly.

Mowday, R.T., Porter, L.W. and Steers, R.M. (1982). Employee-Organization Linkages : The Psychology of Commitment, Absenteesim, and Turnover. New York : Academic Press Inc.

Robert, Marsh and Hiroshi, Mannari. (1977, March). Organizational Commitment and Turnover : A Prediction Study. Administrative Science Quarterly. 22: 57.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-25

ฉบับ

บท

บทความวิจัย