ภาวะผู้นำและวัฒนธรรมองค์การที่มีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคคลากรองค์การคลังสินค้า กระทรวงพาณิชย์
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำและวัฒนธรรมองค์การ, แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน, บุคคลากรองค์การคลังสินค้า, กระทรวงพาณิชย์บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำและวัฒนธรรมองค์การที่มีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคคลากรองค์การคลังสินค้า กระทรวงพาณิชย์ และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ภาวะผู้นำและวัฒนธรรมองค์การที่มีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคคลากรองค์การคลังสินค้า กระทรวงพาณิชย์ ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ มีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 300 คน โดยใช้สูตรของเครจซี่และมอร์แกน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งมีสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที ค่าเอฟ และการวิเคราะห์ผลทางสถิติแบบ Multiple Hierarchy Regression Analysis ในการทดสอบสมมติฐานเพื่อวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตามในการศึกษาครั้งนี้ ผลการวิจัยพบว่า
- การเปรียบเทียบข้อมูลส่วนบุคคลของบุคลากร พบว่า โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน ยกเว้นระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05
- ภาวะผู้นำและวัฒนธรรมองค์การ มีความสัมพันธ์ในระดับสูงต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน พบว่า ภาวะผู้นำด้านการเปลี่ยนแปลง ( r = . 913) วัฒนธรรมองค์การ ด้านวัฒนธรรมส่วนร่วม (r =.833**) มีความสัมพันธ์ต่อแรงจูงในการปฏิบัติงาน
- ผลการศึกษาภาวะผู้นำและวัฒนธรรมองค์การ มีอิทธิพลทางตรงร่วมกันต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรตัวแปรที่เป็นปัจจัยทำนาย ได้แก่ ภาวะผู้นำ R2= 0.840, R2Adjusted=0.83, Sr2=3.34, F=23.52, p<0.001 และวัฒนธรรมองค์การ (R2= 0.807, R2adjusted= 0.651, F=465.3, p< 0.001)
ข้อเสนอแนะการวิจัยครั้งนี้ การส่งเสริมคุณภาพชีวิตในการทำงาน และค่าตอบแทนที่เพียงพอและเป็นธรรมจะเป็นการสร้างแรงจูงใจให้กับพนักงานที่จะปฏิบัติงานอย่างเต็มใจ มีความตั้งใจในการปฏิบัติงานซึ่งจะส่งผลต่อการนำพาองค์การไปสู่ผลสำเร็จและยั่งยืนต่อไป
References
กัลยา สว่างคง, และวิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. (2559). อิทธิพลของการรับรู้การสนับสนุนจากหัวหน้างานและจากองค์กรที่มีผลต่อความตั้งใจในการลาออกจากงานผ่านความผูกพันด้านความรู้สึกต่อองค์กร ของพนักงานบริษัทนําเที่ยวในกรุงเทพมหานคร. วารสารการจัดการสมัยใหม่ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมา ธิราช, 14(1), 91-103.
ข้อมูลจากส่วนงาน ทรัพยากรบุคคล สำนักบริหารกลาง ณ ตุลาคม. (2562). องค์การคลังสินค้ากระทรวงพาณิชย์.
จิรศักดิ์ จิยะจันทน์. (2563). การบริหารองค์การที่มีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานสายงานปฏิบัติการนครหลวง บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(1), 240-253.
ธนวัฒน์ วิเศษสมบัติ, และฐิติมา ไชยะกุล. (2561). ผลกระทบของแรงจูงใจ ความพึงพอใจ และความผูกพันต่อองค์กร ที่มีต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการใอุตสาหกรรมยานยนต์ ของเขตนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด 1 จังหวัดระยอง. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 4(3), 14-26.
ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี.
พภัสสรณ์ วรภัทร์ถิระกุล. (2562). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรที่มีต่อการบริหารสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สาขาเขตพื้นที่ 13 (กรุงเทพมหานคร). วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(1), 486-498.
พิชญา แก้วสระแส, และไพบูลย์ อาชารุ่งโรจน์. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยในการทำงาน ความเครียด และประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ของพนักงานบริษัทอสังหาริมทรัพย์ในกรุงเทพมหานคร. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยศิลปากร, 11(2), 1042-1057.
วรชัย สิงหฤกษ์ และวิโรจน์ เจษฏาลักษณ์.(2560). อิทธิพลของสภาพแวดล้อมในการทำงานที่มีต่อประสิทธิภาพการทำงาน ผ่านความผูกพันต่อองค์การของลูกจ้างสำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 12(2), 203-210.
สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ.(2561). พระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2551 และที่แก้ไข เพิ่มเติม. กรุงเทพฯ : นิวธรรมดาการพิมพ์.
สุพิชฌาย์ ลิ้มตระกูลไทย. (2561). คุณลักษณะงานที่มีผลต่อความผูกพันด้านความรู้สึกต่อองค์กรผ่านผลการปฏิบัติงาน ในบทบาทการรับรู้การสนับสนุนจากหัวหน้างาน และการรับรู้การสนับสนุน จากองค์กรของโรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่ง. (ปริญญานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Agranoff, R., & McGuire, M. (2003). Collaborative public management: New strategies for local governments. Washington, D.C.: Georgetown University Press.
Certo, Samuel C. & Certo, Trevis S. (2009). Modern Management: Concepts and Skills (11th ed). New Jersy: Prentice – Hall.
Jackson, S.E., Schuler, R.S., & Werner, S. (2009). Managing human resources. Mason, OH: South-Western Cengage Learning.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในสถาบันฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว