การพัฒนาแบบวัดสัมพันธภาพศิษย์ที่มีต่ออาจารย์ของนักศึกษาปริญญาตรี

ผู้แต่ง

  • แจ่มจันทร์ ณ กาฬสินธุ์ คณะศึกษาศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

สัมพันธภาพศิษย์ที่มีต่ออาจารย์ , แบบวัดสัมพันธภาพ , นักศึกษาปริญญาตรี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแบบวัดสัมพันธภาพศิษย์ที่มีต่ออาจารย์ของนักศึกษาปริญญาตรี 2) หาคุณภาพแบบวัดสัมพันธภาพศิษย์ที่มีต่ออาจารย์ของนักศึกษาปริญญาตรี และ 3) สร้างเกณฑ์ปกติแบบวัดสัมพันธภาพศิษย์ที่มีต่ออาจารย์ของนักศึกษาปริญญาตรี โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง นักศึกษาภาคปกติที่กำลังศึกษาชั้นปีที่ 2 จากคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 820 คน โดยใช้แบบวัดสัมพันธภาพศิษย์ที่มีต่ออาจารย์ของนักศึกษาปริญญาตรีเป็นเครื่องมือในการวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าอำนาจจำแนกแบบวัดเป็นรายข้อ ค่าสหสัมพันธ์ และค่าความเชื่อมั่นโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค วิเคราะห์หาความตรงตามเนื้อหาของแบบวัด ด้วยการหาค่าดัชนีความสอดคล้องความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ วิเคราะห์วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ตรวจสอบความตรงของโมเดลการวัดจากความสอดคล้องกลมกลืนโมเดล และความตรงเชิงโครงสร้าง และคำนวณค่ามาตรฐานที

          ผลการวิจัยสรุปได้ว่า

  1. แบบวัดสัมพันธภาพศิษย์ที่มีต่ออาจารย์ของนักศึกษาปริญญาตรีจากการศึกษา วิเคราะห์องค์ประกอบจากทฤษฎี แนวคิด และการสนทนากลุ่ม (Focus group) นักศึกษาและอาจารย์ ประกอบด้วยองค์ประกอบ 6 องค์ประกอบ คือ ด้านพฤติกรรมการสอน ด้านการเห็นคุณค่า ด้านคิดเห็นไม่ตรงกัน ด้านความเอื้ออาทร ด้านความใกล้ชิด และด้านอารมณ์ ประกอบด้วยข้อคำถาม 32 ข้อคำถาม
  2. คุณภาพแบบวัดสัมพันธภาพศิษย์ที่มีต่ออาจารย์ของนักศึกษาปริญญาตรี ผลตรวจสอบค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง 0.21 – 0.72 ค่าความเที่ยง (Reliability) อยู่ระหว่าง .90-.91 และค่าความเที่ยง    ทั้งฉบับ 91 และค่าความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่าแบบวัดผ่านเกณฑ์ 32 ข้อ จำนวน 6 องค์ประกอบตรวจสอบความตรงของโมเดลพิจารณาจาก มีความสอดคล้องกลมกลืนโมเดล (Goodness-Of-Fit  : GOF) χ2 =  892.17,  df = 2.916,  p = 0.00,  GFI = 0.95, AGFI = 0.914, SRMR = 0.069  และRMSEA = 0.043 และมีความตรงเชิงโครงสร้าง มีค่าตั้งแต่ 0.793 – 0.926 ทุกองค์ประกอบผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับดี   
  3. สร้างเกณฑ์ปกติแบบวัดสัมพันธภาพศิษย์ที่มีต่ออาจารย์ของนักศึกษาปริญญาตรี มีคะแนนดิบตั้งแต่ 43 ถึง 160 คะแนน และคะแนนทีปกติของแบบวัดตั้งแต่ T6 ถึง T88  

References

ทัศนา ทองภักดี. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์ในมหาวิทยาลัยกับบุคลิกภาพของนิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (รายงานวิจัย). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ.

บุญเชิด ภิญโญอนันตพงษ์. (2545). ประมวลสาระชุดวิชาการพัฒนาเครื่องมือสำหรับการประเมินผลการศึกษา (หน่วยที่ 3). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ยุทธ ไกยวรรณ์. (2551). สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: บริษัทพิมพ์ดีจำกัด.

ล้วน สายยศ, และอังคณา สายยศ. (2543). เทคนิคการวัดผลการเรียนรู้ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สุวีริยสาส์น.

วัชรินทร์ สุทธิศัย, และคณะ. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายมหาวิทยาลัยราชภัฏไปปฏิบัติ : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฏีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

สมนึก ภัททิยธนี. (2541). การวัดผลการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.

สมใจ วินิจกุล. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการเรียนรู้ ความพึงพอใจกับความสุขในการเรียนรู้รายวิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลเกื้อการุณย์. วารสารเกื้อการุณย์.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2560). สารสนเทศอุดมศึกษา. สืบค้น 26 เมษายน 2565, จาก http://www/info.mua.go.th/

สุพัตรา ผลรัตนไพบูลย์. (2550). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุภมาส อังศุโชติ, สมถวิล วิจิตรวรรณา, และรัชนีกูล ภิญโญภานุวัฒน์. (2552). สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์: เทคนิคการใช้โปรแกรม LISREL (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.

สุรีพร อนุศาสนนันท์ม. (2550). การเปรียบเทียบคุณภาพของการกำหนดมาตรฐานระหว่างวิธีแองกอฟที่ได้รับการปรับปรุงกับวิธีบุ๊คมาร์ค (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Field, J. (2004). Psycholinguistics: The Key Concepts. London: Routledge.

Gable, Robert K. (1986). Instrument development in the affective domain. Boston. MA: Kluwer–Nijhoff.

Hair, J.F., Anderson, R.E., Tatham, R.L., & Black, W.C. (1998). Multivariate Data Analysis (5th ed). Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.

Koome, H.Y.M., F.C. (2015). Can closeness, conflict, and dependency be used to characterize students perceptions of the affective relationship with their teacher? Testing a new child measure in middle childhood.

May, T. (1997). Social Research: Issue, Methods and Process. Open University Press, Buckingham.

Nunnally, J. C. (1967). Psychometric Theory. New York: McGraw-Hill.

Schumacker, R.E. & Lomax, R.G. (1996). A beginner’s guide to structural equation Modeling. Mahwah, NJ: Lawrence Erlbaum.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-23